สรรพคุณ
ลาเวนเดอร์ ใช้สำหรับ?
ลาเวนเดอร์ (Lavender) ใช้บรรเทาอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ อาการประหม่า และอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่น อาการท้องอืด (เนื่องจากแก๊สในกระเพาะอาหาร) อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเฟ้อ และอาการท้องเสีย
ลาเวนเดอร์สามารถรักษาอาการผมขาดหลุดร่วงและใช้กำจัดยุงและแมลงอื่นๆ ได้
บางคนใช้ลาเวนเดอร์ผสมน้ำอาบ เพื่อรักษาอาการผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตและฟื้นฟูจิตใจ
ลาเวนเดอร์อาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์
กลไกการออกฤทธิ์
ดอกของลาเวนเดอร์ คือ แหล่งผลิตน้ำมันลาเวนเดอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบหลักในดอกลาเวนเดอร์ คือ สารไลนาลูล (Linalool) 51% และสารไลนาลิล อะซีเตท (Linalyl acetate) 35%
สารไลนาลูล คือสารที่ทำให้ลาเวนเดอร์มีกลิ่นหอม มีฤทธิ์ช่วยทำให้รู้สึกสงบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์
ข้อควรระวังและคำเตือน
ปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้
- หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากเป็นช่วงที่ควรรับยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
- อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
- หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของน้ำมันลาเวนเดอร์หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
- หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
- หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์
ห้ามรับประทานลาเวนเดอร์ชนิดแคปซูล ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้:
- อายุต่ำกว่า 18 ปี
- อยู่ในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- มีอาการแพ้น้ำมันลาเวนเดอร์หรือส่วนผสมอื่นๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์
ความปลอดภัย
สำหรับเด็ก
การใช้ลาเวนเดอร์ทาบริเวณผิวหนังในเด็กชายอาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกายของเด็ก อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการเต้านมผู้ชายใหญ่ผิดปกติ และยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำมันลาเวนเดอร์สำหรับการใช้ในเด็กชาย
หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ยังไม่มีรายงายที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำมันลาเวนเดอร์ หากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่องให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้
การผ่าตัด น้ำมันลาเวนเดอร์ประสิทธิภาพทำให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางลดลง ถ้าใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ร่วมกับยาชาหรือยาอื่นๆ ในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด อาจทำให้ระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางลดลง ควรหยุดใช้น้ำมันลาเวนเดอร์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ลาเวนเดอร์ เช่น
จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ลาเวนเดอร์ มีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
คลอรอลไฮเดรต
คลอรอลไฮเรต (Chloral hydrate) ส่งผลให้มีอาการง่วงซึม น้ำมันเลเวนเดอร์อาจส่งผลกระทบต่อคลอรอลไฮเดรต ถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการง่วงมากเกินไป
ยานอนหลับและยาคลายกังวล (ยาบาร์บิทูเรต)
น้ำมันลาเวนเดอร์ส่งผลให้มีอาการง่วงซึม ยากล่อมประสาทอาจทำให้ง่วงซึมเช่นกัน ถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการง่วงมากเกินไป
ยากล่อมประสาท เช่น อะโมบาร์บิทอล (อะไมทอล) บูตาบาร์บิทอล (บูทีซอล) มีโฟบาร์บิทอล (มีบารอล) เพนโทบาร์บิทอล (เนมบูทอล) ฟีโนบาร์บิทอล (ลูมินอล) ซีโคบาร์บิทอล (ซีโคนอล) และอื่นๆ
ยานอนหลับและยาคลายกังวล (ยากดประสาทส่วนกลาง)
ลาเวนเดอร์ส่งผลให้มีอาการง่วงซึม ยากล่อมประสาทอาจทำให้ง่วงซึมเช่นกัน ถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการง่วงมากเกินไป เช่น โคลนาซีแพม (โคลโนพิน) โลราซีแพม (อะทิแวน) ฟีโนบาร์บิทอล (ดอลนาทาล) โซลพิเดม (แอมเบียน) และอื่นๆ
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดปกติของการใช้น้ำมันลาเวนเดอร์อยู่ที่เท่าไร
ข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์
การใช้ทาบริเวณผิวหนัง:
สำหรับอาการผมร่วงเป็นหย่อม : ในการศึกษาได้ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ 3 หยด (108 มิลลิกรัม) น้ำมันดอกโรสแมรี่ 3 หยด 144 มิลลิกรัม น้ำมันไทม์ 2 หยด (88 มิลลิกรัม) และน้ำมันหอมระเหยซีดาร์วูด 2 หยด (94 มิลลิกรัม) นำทั้งหมดมาผสมกับ น้ำมันโจโจ้บาร์ 3 มิลลิลิตร และน้ำมันเมล็ดองุ่นสกัดเย็น 20 มิลลิลิตร
นำส่วนผสมทั้งหมดนวดลงบนบริเวณศีรษะเป็นเวลา 2 นาทีและนำผ้าอุ่นๆ วางไว้บริเวณรอบๆ ศีรษะเพื่อเพิ่มการดูกซึม ทำเป็นประจำในทุกๆ คืน
สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล :
ปริมาณที่แนะนำคือรับประทาน 1 แคปซูลต่อวัน
รับประทานโดยการกลืนแคปซูล ห้ามเคี้ยว ห้ามรับประทานเกินขนาด และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่แนะนำให้รับประทาน
สำหรับการผ่อนคลาย:
น้ำมันลาเวนเดอร์สามารถใช้นวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียด และสร้างความรู้สึกให้ได้ดีขึ้น
รักษาอาการปวดศีรษะ
การสูดดมน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและลดความเครียดได้
สำหรับการรักษาผื่นและปัญหาบริเวณผิวหนัง:
น้ำมันลาเวนเดอร์มีคุณสมบัติในการบรรเทาและฟื้นฟู มีรายงายว่าผู้ใช้น้ำมันหอมลาเวนเดอร์เพื่อรักษาอาการผิวไหม้ มีอาการดีขึ้นภายใน 2 วันและไม่มีรอยแผลเป็นใดๆ
สำหรับใช้ป้องกันแมลงและยุง
น้ำมันลาเวนเดอร์ สามารถใช้ป้องกันยุงและแมลงชนิดอื่นๆ เนื่องจากพวกแมลงไม่ชอบกลิ่นหอม สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ผ่านทางยุง เช่น ไวรัสเวสต์ไนล์ โรคไข้สมองอักเสบ และโรคอื่นๆ
สำหรับใช้รักษาอาการเคล็ดขัดยอกและปวดข้อ
หลายๆ คนอาจต้องทรมานจากอาการเคล็ดขัดยอกและปวดข้อ จึงสามารถใช้ลาเวนเดอร์นวดบริเวณที่มีอาการ จะสามารถทำให้อาการปวดลดลงและรู้สึกดีขึ้น และยังสามารถลดอาการบวมได้
ลาเวนเดอร์มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง
ลาเวนเดอร์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- แคปซูลลาเวนเดอร์ (ประกอบไปด้วยสารไลนาลูล (Linalool) และสารไลนาลิล อะซีเตท 80 มิลลิกรัม
- น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์วินิจฉัย หรือการรักษา
[embed-health-tool-bmi]