backup og meta

สิวกับความเครียด เกี่ยวข้องกันอย่างไร เครียดแล้วสิวขึ้นจริงหรือ?

สิวกับความเครียด เกี่ยวข้องกันอย่างไร เครียดแล้วสิวขึ้นจริงหรือ?

ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตภายใต้ความเครียด เนื่องจากมีทั้งสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ความต้องการส่วนตัวทางด้านการงาน ครอบครัว และด้านอื่นๆ ล้วนทำให้การดำเนินชีวิตชีวิตเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง สิวกับความเครียด พฤติกรรมที่คุณมักคิดว่าสามารถจัดการกับความเครียดได้ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการบริโภคอาหารบางชนิดที่มากเกินไป ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสิ้น มิหนำซ้ำ ยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียดมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเกิดสิวโดยที่คุณไม่รู้ตัวอีกด้วย

ความเครียดคืออะไร 

คำว่า ‘ความเครียด’ ครอบคลุมประสบการณ์ที่เกิดจากความวิตกกังวลและปฏิกิริยาต่อประสบการณ์เหล่านั้น โดยทั่วไป ความเครียดหมายถึงความกดดันทางจิตวิทยาและอารมณ์

ความหมายของความเครียดนั้นต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ในระหว่างการเดินทาง คุณอาจพบว่าการขับรถช่วยให้ผ่อนคลายและสามารถฟังเพลงในขณะขับรถได้ แต่สำหรับอีกคนหนึ่ง ความเครียดอาจเกิดขึ้นจากความหงุดหงิดจากการจราจร การสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง ตกงาน และปัญหาทางการเงิน เป็นสาเหตุทั่วไปที่พบบ่อยของความเครียด หรือแม้แต่เหตุการณ์ต่างๆ ที่เราคิดว่าเป็นความสุขก็ยังสามารถทำให้เกิดความเครียดในบางคนได้ เช่น การคลอดบุตร หรือการแต่งงาน เป็นต้น

ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

เมื่อคุณรู้สึกเครียด อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น กล้ามเนื้อบีบตัวมากขึ้น และเริ่มหายใจเร็วขึ้น เนื่องมาจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา เช่น คอร์ติซอล (cortisol) เอพิเนฟรีน (epineprine) และ อะดรีนาลีน (adrenaline)

ความเครียดระยะสั้น

ความเครียดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวส่งผลต่อร่างกาย ในระยะสั้น การหายใจที่เร็วขึ้นอาจทำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นอาจทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ปฏิกิริยาของความเครียดต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้รู้สึกปวดท้อง โรคกระเพาะกำเริบ คลื่นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงได้ นอกจากนี้ ความเครียดและความวิตกกังวลเองก็สามารถทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการแพนิค (panic attack) ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

ความเครียดระยะยาว

ความเครียดในระยะยาวสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อทุกระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบการย่อยอาหารล้วนได้รับผลกระทบจากความเครียดเรื้อรัง นอกจากนี้ มีการศึกษามากมายยืนยันว่า สิวกับความเครียด มีความสัมพันธ์กัน โดยความเครียดมีผลกระทบต่อผิวหนัง สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการและความผิดปกติทางผิวหนังต่างๆ ได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) โรคต่อมไขมันอักเสบเรื้อรัง (seborrheic dermatitis) และโรคสิว (acne vulgaris) นอกจากนี้ ยังพบว่าความเครียดที่มากขึ้นสัมพันธ์กับการเป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการเป็นสิวนั้นยังกลับมาทำให้ความเครียดเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

วิธีการจัดการสิวให้หายเครียด

หากอาการสิวทำให้คุณเครียด มีการรักษาหลายวิธีที่คุณสามารถลองทำได้ สิวเกิดจากการอักเสบของผิวหนัง น้ำมันในผิวหนัง และแบคทีเรียที่อุดตันในรูขุมขน หลักการดูแลตนเองเมื่อเป็นสิวที่สำคัญมี 6 ประการ

  1. ล้างหน้าให้สะอาดทุกวันตอนเช้าและก่อนนอน
  2. ไม่แกะเกาหรือบีบสิว
  3. ดูแลเสื้อผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนให้สะอาด
  4. หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ยา สารเคมี เครื่องสำอางซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดสิว
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ปกติแล้วสิวสามารถหายได้เอง ในกรณีที่เป็นสิวอุดตัน การรักษาที่เหมาะสมคือการใช้ยาทาที่ช่วยลดการอุดตัน เช่น ยาทา เบนโซอิล เพอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide) หรือยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ (retinoic acid) จะช่วยทำให้สิวหลุดออกได้ง่ายขึ้นโดยอาจทาร่วมกับการกดสิว อย่างไรก็ตามเนื่องจากยาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองถ้าใช้ไม่ถูกต้อง จึงแนะนำว่าควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังก่อนเริ่มทำการรักษา ในกรณีที่สิวอักเสบมากขึ้นหลังทายา หรือใช้ยาทาต่อเนื่องหลายสัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะหรือกรดวิตามินเอ ควบคู่กับการทายาด้วยหรือไม่

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Do positive or negative stressful events predict the development of new brain lesions in people with multiple sclerosis? http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23680407. Accessed September 20, 2016.

Psychosocial Aspects of Acne Vulgaris: A Community-based Study with Korean Adolescents. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20523769. Accessed September 20, 2016.

Emotional factors. http://www.ccfa.org/assets/pdfs/emotional.pdf. Accessed September 20, 2016.

Quality of Life in Mild to Moderate Acne: Relationship to Clinical Severity and Factors Influencing Change with Treatment. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17243958. Accessed September 20, 2016.

Beliefs, Perceptions and Psychosocial Impact of Acne amongst Singaporean Students in Tertiary Institutions. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25721632. Accessed September 20, 2016.

The Holmes-Rahe life stress inventory. http://socialwork.buffalo.edu/content/dam/socialwork/home/self-care-kit/holmes-rahe-life-stress-inventory.pdf. . Accessed September 20, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/07/2020

เขียนโดย ดร.พญ. ชนิศา เกียรติสุระยานนท์

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

สภาพอากาศและมลภาวะ ส่งผลต่อการเกิดสิวอย่างไร

สิวหาย เพียงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้


เขียนโดย

ดร.พญ. ชนิศา เกียรติสุระยานนท์

โรคผิวหนัง · สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา