backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจคอร์ติซอลในเลือด (Cortisol Blood Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีบทบาทสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบเผาผลาญ โรคบางชนิด เช่น โรคคุชชิ่ง อาจส่งผลต่อระดับคอร์ติซอลในร่างกาย และทำให้ระบบต่างๆผิดปกติได้ การ ตรวจคอร์ติซอลในเลือด จึงอาจช่วยให้เราสามารถค้นหาความผิดปกติของร่างกายได้

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจคอร์ติซอลในเลือดคืออะไร

คอร์ติซอลเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมน ที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต (adrenal gland) จะหลั่งออกมาเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิก (adrenocorticotropic หรือ ACTH) ซึ่งถูกผลิตจากต่อมพิทูอิทารีใกล้สมอง ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิกจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดยต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex)

คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนหลัก ที่ถูกหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียดและเพื่อตอบสนองความรู้สึก “สู้หรือถอย” ซึ่งเป็นสัญชาตญาณหรือปฏิกิริยาทางธรรมชาติของมนุษย์เราในการป้องกันตัวจากอันตรายหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น กลุ่มปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย ทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนอลเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดพลังงานและพละกำลังอย่างฉับพลัน

ในการตอบสนองความรู้สึก “สู้หรือถอย” คอร์ติซอลจะทำหน้าที่กดการทำงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็น หรือเป็นอันตรายต่อการตอบสนอง ส่งผลให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ท้องปั่นป่วน ท้องร่วง และตื่นตระหนก

การหลั่งคอร์ติซอลยังไปกดกระบวนการเจริญเติบโต การทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบสืบพันธุ์ และกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้วย

การตรวจคอร์ติซอลในเลือด เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับของคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตที่อยู่ด้านบนของไต การตรวจนี้อาจเรียกว่า การตรวจคอร์ติซอล ซีรั่ม (serum cortisol test)

ความจำเป็นในการ ตรวจคอร์ติซอลในเลือด

การวัดระดับคอร์ติซอลเป็นการตรวจดูว่า การผลิตฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ในระดับที่มากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ โรคบางโรค เช่น โรคแอดดิสัน โรคคุชชิ่ง ส่งผลต่อระดับคอร์ติซอลที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต การตรวจประเภทนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยการทำงานของต่อมหมวกไตและต่อมพิทูอิทารี

ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีบทบาทสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • การตอบสนองความเครียด
  • ระบบภูมิคุ้มกัน
  • ระบบประสาท
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
  • กระดูก
  • การเผาผลาญโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจคอร์ติซอลในเลือด

การตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง มักใช้ในการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) มากกว่าการเจาะเลือดตรวจ

การตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ยังสามารถช่วยระบุว่า ต่อมพิทูอิทารีและต่อมหมวกไตยังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ รวมถึงการตรวจการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิก

การตรวจการระงับการหลั่งเดกซาเมธาโซน แพทย์มักตรวจการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิก เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคแอดดิสัน

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคอร์ติซอลในเลือด

แพทย์จะสั่งให้เจาะตรวจเลือดในช่วงเช้า เนื่องจากระดับคอร์ติซอลจะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน

แพทย์อาจให้คุณงดออกกำลังกายหนักก่อนการตรวจ และอาจสั่งให้หยุดยาที่ส่งผลต่อผลเลือดชั่วคราว เช่น

  • ยากันชัก
  • เอสโตรเจน
  • กลูโคคอร์ติคอยด์สังเคราะห์ เช่น ไฮโดรตอร์ติโซน (hydrocortisone) เพรดนิโซน (prednisone) เพรดนิโซโลน (prednisolone)
  • แอนโดรเจน

ขั้นตอนการตรวจคอร์ติซอลในเลือด

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้

  • รัดยางรอบต้นแขน เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือด หลอดเลือดด้านล่างยางรัดจะขยายตัวขึ้น ทำให้เจาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
  • ทำความสำอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
  • เจาะเข็มเข้าไปในหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องเจาะมากกว่าหนึ่งครั้ง
  • ติดหลอดบรรจุเลือดเข้ากับเข็มเจาะเลือด
  • นำยางรัดออกจากแขน เมื่อเก็บเลือดเพียงพอแล้ว
  • วางผ้าก๊อซหรือก้อนสำลีไว้บนบริเวณที่เจาะเลือดในขณะที่ดึงเข็มออก
  • กดบริเวณที่เจาะเลือดแล้วปิดด้วยผ้าพันแผล

หลังการตรวจคอร์ติซอลในเลือด

การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรือคุณอาจรู้สึกได้ถึงการเจาะหรือการบิดอย่างรวดเร็ว

หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจคอร์ติซอลในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น

ผลการตรวจ

ผลการตรวจคอร์ติซอลในเลือด

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา