คำจำกัดความ
เซโรโทนิน ซินโดรม คืออะไร
เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้เซลล์สมองและเซลล์ระบบประสาทอื่นๆ ได้สื่อสารซึ่งกันและกันได้ เชื่อกันว่าเซโรโทนินในปริมาณที่น้อยเกินไปในสมอง จะมีบทบาทให้เกิดโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ดี เซโรโทนินในปริมาณที่มากเกินไปในสมอง สามารถก่อให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาทที่มากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมของอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ที่เรียกว่า เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome)
เซโรโทนิน ซินโดรม พบได้บ่อยเพียงใด
เซโรโทนิน ซินโดรมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะกับยารักษาโรคซึมเศร้า แต่สำหรับความถี่ในการพบโรคนี้นั้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการเซโรโทนิน ซินโดรมมีอะไรบ้าง
อาการทั่วไปของเซโรโทนิน ซินโดรม ได้แก่
- อาการมึนงง
- กระสับกระส่ายหรือกระวนกระวาย
- รูม่านตาขยาย
- ปวดศีรษะ
- ความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดและ/หรืออุณหภูมิร่างกาย
- คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน
- ท้องร่วง
- อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว
- มีอาการสั่น
- สูญเสียการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อกระตุก
- มีอาการสั่นและขนลุก
- มีเหงื่อออกมาก
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากคุณมีอาการใด ๆ เหล่านี้ คุณหรือคนใกล้ตัวควรไปพบหมอโดยทันที
- มีไข้สูง
- มีอาการชัก
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- ไม่รู้สึกตัว
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณสงสัยว่าอาจมีอาการเซเรโทนิน ซินโดรมหลังจากเริ่มใช้ยาตัวใหม่หรือเพิ่มขนาดยาที่คุณใช้อยู่ ให้แจ้งแพทย์ทันที หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล หากคุณมีอาการที่รุนแรงหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว ให้เข้ารับการรักษาฉุกเฉินโดยทันที
สาเหตุ
เซโรโทนิน ซินโดรม เกิดจากอะไร
เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยารักษาโรคซึมเศร้า ที่ส่งผลต่อระดับเซโรโทนินในร่างกาย ความเสี่ยงมากที่สุดของเซโรโทนิน ซินโดรมเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาสองชนิด หรือมากกว่า และ/หรืออาหารเสริมร่วมกัน ที่ส่งผลต่อเซเรโทนิน ภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่า หากคุณเริ่มใช้ยาเป็นครั้งแรกหรือเพิ่มขนาดยา
ประเภทของยารักษาโรคซึมเศร้าที่แพทย์มักสั่งมากที่สุด ซึ่งออกฤทธิ์โดยการเพิ่มปริมาณเซโรโทนิน คือ ยาในกลุ่ม serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยาไซตาโลแพรม (citalopram) อย่างเซเลกซา (Celexa), ยาเอสไซตาโลแพรม (escitalopram) อย่างเลกซาโปร (Lexapro), ยาฟลูออกเซทีน (fluoxetine) อย่างโพรแซค (Prozac), ยาฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) อย่างลูวอกซ์ (Luvox), ยาพารอกเซทีน (paroxetine) อย่างแพคซิล (Paxil) และ ยาเซอร์ทราไลน์ (sertraline) อย่างโซลอฟท์ (Zoloft)
ยาอื่นๆ ที่แพทย์สั่งและที่วางจำหน่ายทั่วไป ที่สามารถเพิ่มระดับเซโรโทนินได้เอง หรือร่วมกับยาอื่นที่ก่อให้เกิดเซเรโทนิน ซินโดรม ได้แก่
- ยากลุ่มเซโรโทนิน และ norepinephrine reuptake inhibitors (SNRI) ซึ่งเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าประเภทหนึ่ง ได้แก่ ยาเดสเวนลาแฟกซีน (desvenlafaxine) อย่างเคเดซล่า (Khedezla), ยาเดสเวนลาแฟกซีน ซัคซิเนส (desvenlafaxine succinate) อย่างพริททีค (Pristiq), ยาดูลอกซีทีน (duloxetine) อย่างซิมบัลตา (Cymbalta), ยาลีโวมิลนาซิพราน (levomilnacipran) อย่างเฟทซิมา (Fetzima) และยาเวนลาแฟกซีน (venlafaxine) อย่างเอฟฟีซอร์ (Effexor)
- ยากลุ่ม Monoamine oxidase inhibitors (MAOI) ซึ่งเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าประเภทหนึ่ง ได้แก่ ยาไอโซคาร์บอกซาอิด (isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (Marplan), ยาฟีเนลซีน (phenelzine) อย่างนาร์ดิล (Nardil), ยาทรานนิลไซโพไมน์ (tranylcypromine) อย่างพาร์เนต (Parnate) และยาทรานสเดอร์มัล เซเลจิลีน (transdermal selegiline) อย่างเอมแซม (EMSAM)
- ยาบูสไพโรน (Buspirone) อย่างบูสพาร์ (BuSpar) เป็นยาที่ใช้รักษาโรควิตกกังวล
- ยาเดซิเรล (Desyrel) อย่างทราโซโดน (Trazodone) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า หรืออาการนอนไม่หลับ
- ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยาอัลมอร์ริปแทน (almotriptan) อย่างแอคเซิร์ท (Axert), ยาอะเมิร์จ (Amerge) อย่างนาราทริปแทน (naratriptan), ยาไรซาทริปแทน (rizatriptan) อย่างแมกซอลท์ (Maxalt), ยาซูมาทริปแทน (sumatriptan) อย่างอิมิเทรกซ์ (Imitrex) และยาโซลไมทริปแทน (zolmitriptan) อย่างโซมิก (Zomig)
- ยารักษาอาการปวดบางชนิด เช่น ยาเฟนทานิล (fentanyl) อย่างซับลิเมซ (Sublimaze), ยาเฟนโทรา (Fentora), ยาเฟนทินิลไซเตรต (fentanyl citrate) อย่างแอคติค (Actiq), ยาเมเพอริดีน (meperidine) อย่างดีเมอรอล (Demerol), ยาเพนตาโซซีน (pentazocine) อย่างทัลวิน (Talwin) และยาทรามาดอล (tramadol) อย่างอัลแทรม (Ultram)
- ตัวยาเดกซ์โทรเมโธรฟาน (Dextromethorphan) เป็นตัวยาแก้ไอที่พบได้ในยาแก้ไอ หรือยาแก้หวัดที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป และที่แพทย์สั่ง
- ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งสำหรับอาการคลื่นไส้ เช่น ยากราไนเซอทรอน (granisetron) อย่างไคทริล (Kytril), ยาเมโทโคลพราไมด์ (metoclopramide) อย่างเรจแลน (Reglan) และยาออนแดนเซอทรอน (ondansetron) อย่างโซฟราน (Zofran)
- ยารักษาโรคซึมเศร้าที่ส่งผลต่อตัวรับเซโรโทนินหลายชนิด เช่น ยาวอร์ทิออกเซอทีน (vortioxetine) อย่างทรินเทลลิกซ์ (Trintellix) หรือก่อนหน้านี้เรียกว่าบรินเทลลิกซ์ ( Brintellix) และยาไวลาโซโดน (vilazodone) อย่างไวเอเบิร์ด (Viibryd)
ยาที่ผิดกฎหมายบางชนิด เช่น ยา LSD และโคเคน และอาหารเสริม ได้แก่เวนต์จอห์นเวิร์ต และโสม ยังสามารถก่อให้เกิดเซโรโทนิน ซินโดรมได้เมื่อใช้ร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้าที่ส่งผลต่อสารเซโรโทนินในร่างกาย
เมื่อไม่นานมานี้ FDA ได้ร้องขอผู้ผลิตยาให้รวมฉลากเตือนการใช้ยาลงบนตัวผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ของเซโรโทนิน ซินโดรม หากคุณไม่มั่นใจเกี่ยวกับยาที่คุณใช้หรือยาที่แพทย์สั่ง ให้ตรวจสอบฉลากยาหรือปรึกษาแพทย์ และห้ามหยุดใช้ยาใดๆ ก่อนปรึกษาแพทย์
ปัจจัยเสี่ยง
อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับเซโรโทนิน ซินโดรม
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับเซโรโทนินซินโดรม ได้แก่
- คุณเพิ่งเริ่มใช้หรือเพิ่มขนาดยาที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย
- คุณใช้ยาหลายประเภทที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย
- คุณใช้อาหารเสริมสมุนไพรที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย
- คุณใช้ยาต้องห้ามที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการเซโรโทนิน ซินโดรม
ไม่มีการทดสอบอย่างเดียวที่ช่วยในการวินิจฉัยเซโรโทนินซินโดรม แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของคุณ ได้แก่ ยาที่ใช้ อาหารเสริม และการใช้สารเสพติด และจะทำการตรวจร่างกาย สภาวะอื่นๆ อาจก่อให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกับเซโรโทนินซินโดรม แพทย์อาจให้มีการตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อคัดแยกสาเหตุของอาการอื่นๆ
การรักษาอากาเรซโรโทนิน ซินโดรม
ผู้ป่วยเซโรโทนินซินโดรมมักเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตและรักษาอาการ ตัวอย่างเช่น มีการให้ยาเบนโซไดอาเซพีน (benzodiazepines) เพื่อรักษาอาการกระสับกระส่ายและ/หรืออาการชัก มีการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกาย การเลิกใช้ยาที่ใช้รักษาเซโรโทนินซินโดรมเป็นสิ่งสำคัญมาก การให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดมักพบได้บ่อยเช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีการใช้ยาที่เรียกว่า ยาไซโปรเฮปตาดีน (cyproheptadine) อย่างเพอริแอคทิน (Periactin) ที่ยับยั้งการสร้างสารเซโรโทนิน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมืออาการเซโรโทนิน ซินโดรม
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับเซโรโทนิน ซินโดรมได้
- ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เป็นไปได้ ห้ามหยุดใช้ยาเอง หากแพทย์สั่งยาชนิดใหม่ ให้มั่นใจว่าแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดอื่นทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณได้รับการสั่งยาจากแพทย์มากกว่าหนึ่งราย
- หากคุณหรือแพทย์ตัดสินใจใช้ยาบางชนิดร่วมกันที่ส่งผลต่อระดับเซโรโทนิน ให้พิจารณาถึงความเสี่ยงและตื่นตัวต่อความเสี่ยงในการเกิดเซโรโทนิน ซินโดรม
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด