backup og meta

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

บางครั้งการที่ต้องการอยู่คนเดียว เงียบๆ อาจหมายถึงคุณมีโลกส่วนตัวสูง แต่ในทางกลับกัน หากคุณเกิดความประหม่า หรือวิตกกังวลที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม ก็เป็นได้ หากยังไม่แน่ใจกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลองอ่านบทความของ Hello คุณหไมอ และสังเกตตัวเองกันดีกว่า

โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (social anxiety disorder) คืออะไร?

คนที่มีความวิตกกังวลทางสังคน อาจจะเกิดจากการกลัวความอับอายอย่างมากในสถานการณ์ทางสังคม ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและอาชีพที่ทำอยู่ โดยความวิตกกังวลทางสังคมนั้นมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ซึ่งในช่วงวัยเด็กถือเป็นช่วงหนึ่งของการพัมนาการเข้าสังคม แต่ความวิตกกังวลนี้อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั้งอายุมากขึ้น อาการกังวลต่อการเข้าสังคมและความถี่ของอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

โรคกังวลต่อการเข้าสังคม จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา เนื่องจากอาจมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน เพราะทำให้เกิดความประหม่า ความละอายใจ จนทำให้เกิดอาการเครียดเมื่อต้องอยู่ร่วมกับเพื่อน หรืออยู่ในที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่นๆ

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมมีอะไรบ้าง

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมนั้น อาจมีอาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่องานประจำวัน ชีวิตในโรงเรียน และกิจกรรมอื่นๆ

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่ากำลังเป็นศูนย์กลางหรือจุดสนใจ
  • กลัวการอยู่ในสถานการ์ที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า
  • กลัวเมื่อต้องออกไปนำเสนอวิธีการต่างๆ ต่อผู้อื่น
  • กลัวหรือละอายที่ต้องถูกล้อเลียนหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์
  • กลัวการพบปะผู้คนที่มีอำนาจ
  • วิตกกังวลอย่างรุงแรงจนถึงขั้นเสียขวัญ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว
  • ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่าง หรือผู้คุยกับผู้คน เพราะกลัวการอับอายขายหน้า
  • รู้สึกว่างเปล่าเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
  • รู้สึกกลัวที่จะต้องวิตกกังวล ซึ่งส่งผลทำให้ความวิตกกังวลแย่ลง

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางร่างกาย

  • ใจสั่น
  • ปวดท้อง
  • หลีกเลี่ยงการสบตา
  • หน้าแดง
  • ร้องไห้
  • โกรธ เกรี้ยวกราด
  • ยึดติดกับพ่อแม่ หรือเกิดความเหงาขึ้นในเด็ก
  • มือเย็นและชื้น
  • สับสน
  • มีเสียงก้องอยู่ในหัว
  • ท้องร่วง
  • พูดคุยได้ยาก
  • เสียงสั่น
  • ปากและลำคอแห้ง
  • เหงื่อออกมากเกินไป
  • ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • ความเกลียดชัง
  • ตัวสั่น
  • เสียสมดุลในการเดิน
  • เดินสะดุด

สำหรับผู้ที่เป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคม มักเกิดความวิตกกังวลจนทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ตามมา

  • มีความรู้สึกไวต่อการวิจารณ์มากเกินไป
  • มีความนับถือตนเองต่ำ
  • มีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี
  • ไม่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
  • พูดในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองด้วยความคิดที่ไม่ถูกต้องและเอาชนะตนเอง

เมื่อเป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคมต้องรักษา

อันดับแรกคือการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เมื่เกิดอาการกลัวและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมที่ปกติ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความลำบากใจ กังวล หรือตื่นตระหนก การรักษาด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยาถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จิตบำบัด

เป็นการรักษาทางจิตวิทยาที่ใช้หลากหลายเทคนิค เพื่อช่วยให้มองเห็นตัวเองและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้น รวมถึงหาวิธีการเอาชนะและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตบำบัดมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การบำบัดองค์ความรู้ การบำบัดระหว่างบุคคล การบำบัดทางจิตวิทยาและครอบครัวบำบัด

การรักษาด้วยยา

ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs) เป็นยาที่พบมากที่สุดที่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีความวิตกกังวลทางสังคม ซึ่งถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนั้นยังอาจมีการจ่ายยาต่างๆ เหล่านี้ร่วมด้วย

  • พาร็อกซีทีน (Paroxetine)
  • เซอร์ทราลีน (Sertraline)
  • ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine)
  • ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)

แต่ยาเหล่านี้ก็อ่าจมีผลข้างเคียง ได้แก่

สำหรับการสั่งจ่ายยานั้นแพทย์จะเริ่มจากการสั่งยาในปริมาณที่น้อยก่อน จากนั้นก็อาจจะมีการเพิ่มยาขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าอาการจะดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Social Anxiety Disorder?. https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-social-anxiety-disorder#1. Accessed December 25, 2019

Social anxiety disorder (social phobia). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/social-anxiety-disorder/symptoms-causes/syc-20353561. Accessed December 25, 2019

What’s to know about social anxiety disorder?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/176891.php#treatment. Accessed December 25, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา