backup og meta

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

เรียกได้ว่าเป็นอาการยอดฮิตของผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ สำหรับ อาการติดเตียง หรือนอนกินบ้านกินเมือง ที่ผู้ใหญ่มักนิยมพูดให้เราได้ยินกันบ่อยๆ บางคนแทบใช้เวลา 24 ชม. ไปกับการนอนกลิ้งไปกลิ้งมาไม่ยอมลุกไปไหนมีความสุขกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจ แต่คุณรู้ไหมการกระทำเหล่านี้ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตได้นะ มารู้จักกับอาการติดเตียงให้มากขึ้นพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ

ติดเตียงนุ่มๆ ทั้งวันทั้งคืน รู้ไหมเรียกว่าโรคอะไร…

อาการติดเตียง หรือ โรคติดที่นอน (Dysania) ส่วนมากมักเป็นกันในช่วงเวลาที่คุณตื่นนอนในตอนเช้า มีความรู้สึกไม่อยากลุกห่างจากเตียงไปไหน อยากซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มอุ่นๆ อาจเป็นเพราะการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจนเกิดความเครียด หดหู่ใจ หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง สะสมให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจนต้องการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารสรีรวิทยาในปี 2008 นักวิจัยได้ทำการทดลองด้วยหนูทดลองอยู่ที่จัดช่วงเวลาการหลับพักผ่อนที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองเริ่มมีพฤติกรรมถึงความเครียด และแสดงอาการซึมเศร้า มึนงง

นอกจากนี้การนอนมากเกินไป หรือการใช้ชีวิตติดเตียงอาจเพิ่มความเสี่ยงการทำงานของเส้นเลือดที่อยู่ในบริเวณกระดูกเชิงกราน และขาเนื่องจากถูกกดทับเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดอุดตันนำไปสู่อาการร้ายแรง

สัญญาณเหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับ อาการติดเตียง ของคุณ

  • อาการซึมเศร้า

เป็นโรคทางอารมณ์ที่ทำให้อยากอยู่คนเดียวแบบเงียบๆ ไม่มีแรงกระตุ้นที่จะทำกิจวัตรอย่างอื่น รู้สึกไม่มีความสุข โศกเศร้าตลอดเวลา

  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS)

เกิดจากการพลังงานมากเกินขีดจำกัดของร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เร่งผลให้ต่อการเข้าสู่อาการติดเตียงได้

มักมีอาการเจ็บปวดตามลำตัวร่วมกับอาการอ่อนล้า มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ รวมทั้งยังสามารถขัดขวางในระบบความจำทำให้ ความคิด ความอ่านมีปัญหาได้

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สังเกตตัวคุณเอง หรือคนรอบข้างที่คุณรักให้ดีเพราะภาวะนี้มีความอันตรายสูงเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างขวางระบบหายใจของคุณ ทำให้เวลาที่คุณสะดุ้งตื่นขึ้นมามักจะเกิดอาการงัวเงีย รู้สึกอ่อนเพลีย และนอนหลับไม่เต็มอิ่ม จึงเป็นผลเกิดอาการติดเตียง เพราะต้องการเวลาพักผ่อนเพิ่ม

  • โรคลมหลับ (Narcolepsy)

คือ ความผิดปกติเรื่องของการนอนหลับ เกี่ยวกับการที่คุณรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา สามารถทำให้ตื่นในช่วงวลาที่เช้าตรู่ได้ยาก รวมทั้งอาจมี อาการสัปหงก ระหว่างที่คุณทำกิจกรรมต่างๆ หรือชอบงีบในช่วงกลางวันบ่อยๆ

รักษาอาการนี้ก่อนเกิด โรคทางจิต

การฝึกฝนการนอนหลับพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีต่อการควบคุมอาการติดเตียง โดยสามารถแก้ไขได้ ดังนี้

  • จัดตารางการนอน และตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • ตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อแจ้งเตือนเวลาที่คุณต้องตื่น และเตรียมตัวเข้านอน
  • งดนอนพักช่วงเวลากลางวัน หรืองีบไม่ควรเกิน 30 นาที
  • ออกกำลังกายก่อนนอน
  • จัดห้องนอนไม่ให้มีแสงส่องผ่าน หรือเสียงรบกวนที่ดังมากเกินไป
  • ปรับอุณภูมิห้องให้เหมาะสมต่อร่างกายคุณ
  • เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ให้ไกลจากตัวของคุณก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30นาที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can’t get out of bed? You might have dysania https://www.bbc.co.uk/bbcthree/article/622c8a79-23cf-4887-a5d1-6ed4a81192bf . Accessed December 27, 2019

How to Recognize and Manage Dysania https://www.webmd.com/mental-health/what-is-dysania#1 . Accessed December 27, 2019

Why Is It A Bad Idea To Stay In Bed For Too Long? https://www.scienceabc.com/humans/why-is-it-a-bad-idea-to-stay-in-bed-for-too-long.html . Accessed December 27, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารที่ช่วยต่อสู้อาการ อ่อนเพลีย ได้แบบเร่งด่วน

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา