backup og meta

โรคกลัวงู จนเข้าขั้น Phobia มีจริง

โรคกลัวงู จนเข้าขั้น Phobia มีจริง

โรคกลัวงู หมายถึง คนที่แค่เพียงพูดถึงคำว่า งู ก็อาจทำให้รู้สึกขนลุกขนพองกันขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ แม้แต่คนที่ไม่เคยเห็นงูตัวเป็น ๆ มาก่อน ก็อาจจะรู้สึกกลัวทุกครั้งที่เห็นรูปของสัตว์เลื้อยคลานที่เต็มไปด้วยเกล็ดนี้ ลองทำความรู้จักและสำรวจตัวเองว่าเป็น โรคกลัวงู หรือไม่ และรับมืออย่างไร

[embed-health-tool-bmi]

อย่างไรจึงจะเรียกว่า โรคกลัวงู

โรคกลัวงู (Ophidiophobia หรือ ophiophobia) เป็นหนึ่งในโรคกลัว (Phobia) ที่พบได้มากที่สุด นักวิจัยบางรายมีความเชื่อว่าโรคกลัวงูนี้เกิดจากการวิวัฒนาการของมนุษย์ เนื่องจากสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ งูนั้นจะมีภาพลักษณ์ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นอันตราย และสามารถฆ่าเราได้โดยการกัดเพียงแค่ครั้งเดียว จึงไม่แปลกที่เรามักจะรู้สึกหวาดกลัวงู แม้ไม่เคยพบเจองูตัวจริงมาก่อน

การที่เราจะรับรู้ได้ว่าตัวเองนั้นเป็นโรคกลัวงูหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากอาการเมื่อพบเจอกับงู อยู่ใกล้งู พูดหรือคิดอะไรเกี่ยวกับงู หรือเห็นรูปงูในสื่อต่าง ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจมีดังนี้

อาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อยิ่งเข้าไปใกล้กับตัวงูนั้นมากขึ้น หรือเมื่อเวลาที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่องูนั้นใกล้เข้ามาทุกที

ในบางครั้งอาจวินิจฉัยการเป็นโรคกลัวงูได้โดยใช้ข้อบ่งชี้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM–5) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ใช้เพื่อวินิจฉัยความแตกต่างระหว่างปัญหาหรือความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ แต่ก็ใช่ว่าทุกอาการของโรคกลัวงูนั้นจะสามารถบ่งชี้ได้ทั้งหมด ดังนั้นการที่เราจะทำการวินิจฉัยโรคกลัวงู อันดับแรกจึงควรเปิดใจกับจิตแพทย์ อธิบายถึงอาการและความกลัว ให้แพทย์ได้รับรู้ อาจจะเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ ความทรงจำ หรือความคิดที่ พบเจอหรือรู้สึกเกี่ยวกับงู เพื่อให้แพทย์เข้าใจและสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทำไมถึงเป็นโรคกลัวงู

เช่นเดียวกันกับโรคกลัวสิ่งอื่น ๆ โรคกลัวงูนั้นอาจมีสาเหตุได้จากปัจจัยต่าง ๆ หรืออาจเกิดจากการที่ปัจจัยเหล่านี้สะสมทบกันขึ้นมาจนกลายเป็นโรคกลัวงูก็ได้ โดยสาเหตุของโรคกลัวงูที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • ประสบการณ์แย่ ๆ โรคกลัวงูอาจเกิดจากการที่ในอดีต เคยมีความทรงจำหรือประสบการณ์แย่ ๆ เกี่ยวกับงูมาก่อน เช่น ถูกงูกัด หรืองูหล่นจากต้นไม้ตกใส่ตัว ประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีตนี้จะกลายเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวงูทุกครั้งที่เจอ เพราะงูจะทำให้นึกถึงประสบการณ์แย่ ๆ ที่เคยพบมาก่อน
  • พฤติกรรมการเรียนรู้ ในช่วงขณะที่ชีวิตเติบโตขึ้น และได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อาจจะได้รับการสอนให้ระมัดระวังงู และสอนให้ตระหนักถึงอันตรายของงู ว่าอาจเป็นภัยถึงแก่ชีวิต หรือในบางครั้ง อาจจะได้ยินเกี่ยวกับประสบการณ์อันตรายจากงูของผู้อื่น หรือคำบรรยายเกี่ยวกับรูปลักษณ์ที่น่าหวาดกลัว เป็นภาพลักษณ์จำติดหัว และกลายเป็นความกลัวที่มีต่องูขึ้นมา
  • ภาพลักษณ์ของงูในสื่อต่าง ๆ บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่างูนั้นจะถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ชั่วร้าย หรือสิ่งที่เป็นอันตราย ภาพลักษณ์ของงูที่สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข่าว หรือในภาพยนตร์ ก็มักจะแสดงให้เห็นภาพของงูว่าเป็นสิ่งที่อันตรายและน่ากลัว เมื่อเราเสพสื่อเหล่านี้เข้าไปเป็นจำนวนมาก เราก็จะเริ่มรู้สึกหวาดกลัวงูขึ้นมาในที่สุด

รักษาโรคกลัวงู ต้องทำอย่างไร

หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่ชัดจากแพทย์แล้วว่าเป็น โรคกลัวงู อาจรับการรักษาได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าในปัจจุบันนั้นจะยังไม่มีการรักษาโรคกลัวงูโดยเฉพาะ แต่อาจสามารถรับการบำบัดได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

การบำบัดด้วยการเผชิญความกลัว (Exposure therapy)

พูดคุยกับจิตแพทย์ โดยใช้กระบวนการลดความวิตกกังวลอย่างมีระบบ (systematic desensitization) เป็นวิธีการที่จะให้ได้เปิดรับและเผชิญหน้ากับสิ่งที่รู้สึกกลัวในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย

แพทย์อาจจะเริ่มจากการที่ให้มองดูรูปของงู แล้วพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกที่มี รวมถึงตรวจดูปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย ในบางครั้งแพทย์อาจใช้เสียง หรือใช้เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (VR) เพื่อแสดงรูปภาพของงูให้สมจริงที่สุดจนเหมือนกับว่ามีงูอยู่ตรงนั้นจริงๆ โดยไม่ต้องใช้งูตัวจริง และสุดท้ายแพทย์ก็อาจจะให้ได้ลองเจอกับงูตัวเป็น ๆ โดยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น ภายในสวนสัตว์

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy)

วิธีการนี้เป็นการบำบัดโดยการพูดคุยอย่างหนึ่ง แพทย์อาจจะเริ่มจากการที่ให้ตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิดหรือปัญหาเกี่ยวกับความคิดต่อสิ่งที่รู้สึกกลัว โดยอาจจะพูดคุยและลองตีกรอบความคิดที่มีต่องูเสียใหม่ พยายามลบเลือนภาพลักษณ์ที่เป็นอันตรายของงูภายในหัว นอกจากนี้ อาจจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับงูมากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและธรรมชาติของงู เพื่อทำให้ไม่รู้สึกว่างูนั้นเป็นอันตรายอีกต่อไป และเลิกกลัวงูในที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Know About Ophidiophobia (Fear of Snakes). https://www.webmd.com/anxiety-panic/what-to-know-ophidiophobia-fear-of-snakes. Accessed July 25, 2023.

What Is Fear of Snakes (Ophidiophobia)?. https://www.verywellhealth.com/fear-of-snakes-5210753. Accessed July 25, 2023.

Ophidiophobia (Fear of Snakes). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22519-ophidiophobia-fear-of-snakes. Accessed July 25, 2023.

Why We Fear Snakes https://www.livescience.com/2348-fear-snakes.html. Accessed July 25, 2023.

Ophidiophobia and the Fear of Snakes. https://www.verywellmind.com/ophidiophobia-2671873. Accessed July 25, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หนทางไกลแค่ไหนไม่หวั่น ขอแค่ไม่ขึ้นเครื่อง เพราะฉันเป็น โรคกลัวเครื่องบิน

ไม่น่าเชื่อ! โรคกลัวทะเล มีอยู่จริง มารู้จักโรคแปลกใหม่นี้กันเถอะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา