โรคหอบหืด
หอบหืดนั้นเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นำไปสู่อาการทางเดินหายใจอุดกั้น การอักเสบนั้นทำให้หลอดลมบวมหรือคัดแน่น และผลิตสารคัดหลั่งปริมาณมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหายใจลำบาก
ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการภูมิแพ้หลายอย่างร่วมด้วย ปัจจัยที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดอาการ ได้แก่ การระคายเคืองที่ระบบหายใจ สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ การออกกำลังกาย อากาศเปลี่ยน หรือทางเดินหายใจติดเชื้อ เป็นต้น โรคหอบหืดนั้นถือเป็นโรคเรื้อรัง แต่อาจเกิดอาการขึ้นแบบฉับพลันรุนแรง หากมีปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้นจนอาการกำเริบ ในการณีเช่นนี้ อาการหอบหืดจะแย่ลงอย่างทันที ทำให้ทางเดินของอากาศบวม และเยื่อมูกข้นหนากว่าปกติ
ปอดบวม
ปอดบวม (Pneumonia ) คืออาการอักเสบด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้างของปอด เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา การอักเสบเกิดขึ้นในถุงลมในปอด ซึ่งจะอัดแน่นไปด้วยของเหลวหรือหนอง เป็นสาเหตุทำให้หายใจลำบาก คุณอาจพบอาการเจ็บปวด เป็นไข้ ไอ จากปอดบวม รวมถึงภาวะหายใจไม่อิ่มก็เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดบวม โดยสามารถให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มแบบฉับพลันทันทีหรือเรื้อรัง
โรคเนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอดอักเสบ
โรคเนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอดอักเสบ (Interstitial lung diseases) เป็นโรคที่เกิดกับกลุ่มเนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่ออาการบาดเจ็บของปอด กระตุ้นให้เกิดการเยียวยาตัวเองแบบผิดปกติ เมื่อมีอาการบาดเจ็บในปอดเกิดขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอดเกิดแผลเป็นและมีความหนาขึ้น จึงทำให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปในกระแสเลือดได้ยากขึ้น
ผู้ป่วยโรคเนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอดอักเสบนั้นมักมีอาการหายใจไม่อิ่มแบบเรื้อรัง และไอแห้งๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่จัด
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism ) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในปอดโดยลิ่มเลือดนั้นเคลื่อนตัวมาจากส่วนอื่นในร่างกายผ่านทางระบบไหลเวียเลือด และเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดตามมา โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดแบบเฉียบพลันนั้น บ่อยครั้งมักแสดงอาการหายใจไม่อิ่ม และผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอก และบางครั้งไอเป็นเลือด
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ลิ่มเลือดจากต้นขานั้นไหลเข้ามาที่ระบบไหลวเวียนเลือดของปอด ลิ่มเลือนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เกิดจากโรคอ้วน มะเร็ง หรือสาเหตุอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดในร่างกาย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย