- โรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลที่แย่ลง
- ความเสี่ยงเป็นโรคทางจิตเวชที่มากขึ้น
- การใช้สารเสพติด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- การใช้ความรุนแรง
- ความสัมพันธ์กับคนรักหรือคนรอบข้างไม่ราบรื่น
- โรคเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน
- รู้สึกแปลกแยกและต้องการแยกตัวออกจากสังคม
- มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย
สำหรับในประเทศไทย รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย (อัตราต่อแสนประชากร) ปี พ.ศ. 2540-2563 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าเพศหญิง ยกตัวอย่างในปี พ.ศ. 2563
- อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในเพศชายเฉลี่ยอยู่ที่ 12.27 ราย
- อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในเพศหญิงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.68 ราย
การเหมารวม เกี่ยวกับเพศชายที่ส่งผลเสียต่อคนรอบข้าง
หนึ่งในการเหมารวมเกี่ยวกับเพศชายที่ส่งผลเสียต่อตนเองและรอบข้างคือ แนวคิดผู้ชายเป็นใหญ่ หากผู้ชายยึดถือแนวคิดชายเป็นใหญ่อย่างสุดโต่ง อาจทำให้มีภาวะความเป็นชายเป็นพิษ หรือ Toxic Masculinity เนื่องจากผู้ที่มีภาวะนี้มักเป็นคนก้าวร้าว ชอบควบคุมผู้อื่น รักการแข่งขัน ไม่ชอบแสดงอารมณ์ ไม่เห็นใจผู้อื่น เหยียดเพศ และมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรง
สำหรับพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ได้แก่
- การทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้ชายที่ประพฤติตัวไม่สมชาย
- การสอนลูกหลานผู้ชายให้อดทนหรือห้ามร้องไห้
- การดูถูกหรือเรียกผู้หญิงที่ไม่ประพฤติตนตาม Stereotype ด้วยถ้อยคำหยาบคายหรือไม่เหมาะสม
- การบังคับคู่นอนหรือคนรักให้มีพฤติกรรมหรือแต่งตัวตามที่ตัวเองต้องการ
- การใช้ความรุนแรงกับบุคคลข้ามเพศหรือทรานส์เจนเดอร์
- การไม่กล้าแสดงความอ่อนแอต่อหน้าผู้อื่น
- การมีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อสนับสนุนความเป็นชาย เช่น สูบบุหรี่จัด เสพยาเสพติด ขับรถเร็วเกินกำหนด เล่นการพนัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
จะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้ชายก้าวข้าม Stereotype เกี่ยวกับเพศชายและหญิงในสังคม
การเหมารวมในสังคมเกี่ยวกับผู้ชายและผู้หญิง อาจรับมือหรือก้าวข้ามได้ ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา โดยไม่คิดว่าทำให้ตัวเองอ่อนแอ
- ช่วยทำงานบ้าน โดยไม่มองว่าเป็นงานของผู้หญิงเท่านั้น
- เล่าความไม่สบายใจหรือปัญหาสุขภาพจิตให้คนรอบข้างหรือจิตแพทย์ฟัง
- แสดงตัวว่าไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมเหยียดเพศ
- ลองทำสิ่งที่อยากทำ โดยไม่สนว่าเหมาะกับผู้ชายหรือไม่
- กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้คนรอบข้างปฏิบัติตาม เพื่อลดแรงกดดันจากการถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามการเหมารวมในหมู่คนใกล้ตัว
สำหรับผู้ปกครอง อาจเลี้ยงลูกเพื่อให้ก้าวข้ามกรอบของการเหมารวมเกี่ยวกับเรื่องเพศชายและหญิง โดยอาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ให้ลูกเล่นของเล่นที่ลูกชอบ หรือให้เลือกสีเสื้อผ้าโดยไม่จำกัดว่าเป็นของเด็กผู้ชายหรือผู้หญิง
- ให้ลูกทุกคนช่วยทำงานบ้านอย่างเท่าเทียมและหลากหลาย
- ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาหลาย ๆ อย่างร่วมกับลูก โดยไม่จำกัดกรอบความคิดว่าเป็นกิจกรรมของเพศใดเพศหนึ่ง
- พูดคุยถึงความชอบของลูกแต่ละคนอย่างอิสระ ไม่แบ่งแยกโดยใช้เพศเป็นตัวกำหนด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย