backup og meta

โรคเหงือกกับโรคหัวใจ ส่งผลต่อกันได้อย่างไร

โรคเหงือกกับโรคหัวใจ ส่งผลต่อกันได้อย่างไร

โรคเหงือกและโรคหัวใจ แม้ดูจะเป็นสองโรคที่มองยังไงก็แทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่จากการวิจัยหลาย ๆ ชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเหงือกมักจะมีปัญหาโรคหัวใจร่วมด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนมาอ่านข้อมูลที่น่าสนใจกันค่ะว่า โรคเหงือกกับโรคหัวใจ มีความเกี่ยวข้องและส่งผลต่อวันได้อย่างไร

มารู้จัก โรคเหงือก กันเถอะ

โรคเหงือกหรือที่เรียกว่าโรคปริทันต์ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเหงือก ซึ่งสามารถพบได้โดยทั่วไป แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ โรคเหงือกเป็นโรคที่อาจทำให้สูญเสียเนื้อเยื่อที่เป็นตัวยึดติดอยู่กับฟัน ปัญหาโรคเหงือกนอกจากจะทำให้เหงือกบวมและอักเสบแล้ว ยังส่งผลทำให้ฟันโยกง่ายหรืออาจทำให้ฟันหลุดออกไปเลยก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกนั้นมาจากการที่มีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ซึ่งอาการและสัญญาณของโรคเหงือกนั้นมีหลายอย่าง เช่น

โรคเหงือกกับโรคหัวใจ ส่งผลต่อกันอย่างไร

มีงานวิจัยพบว่าโรคเหงือกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 ที่ได้ศึกษาผู้ที่มีปัญหาทั้งโรคเหงือกและโรคหัวใจพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคเหงือกอย่างเพียงพอนั้นมีค่าใช้จ่ายจากโรคหัวใจลดลงร้อยละ 10-40 นักวิจัยจึงค้นพบว่าสุขภาพเหงือกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ

สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกนั้นจะมีปัญหาแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งแบคทีเรียในช่องปากอาจทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดตีบตัน จนอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจได้ นอกจากนี้จากการวิจัยหลาย ๆ ชิ้นพบว่าผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกนั้น สามารถทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจได้มากถึงร้อยละ 20 แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ที่จะสรุปได้อย่างแน่ชัดว่า ปัญหาโรคเหงือกและโรคหัวใจมีความสัมพันธ์กัน

ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร ให้ห่างไกลโรคเหงือก

การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดี เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพื่อสุขอนามัยช่องปากที่ดีและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาโรคเหงือก ควรมีวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนี้

  • แปรงฟันและลิ้นให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟัน ระหว่างฟันและเหงือกอย่างน้อยวันละครั้ง
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ
  • งดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ
  • เข้ารับการปรึกษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

การเข้ารับการตรวจรักษาสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ ตามที่ทันตแพทย์นัดหมายสามารถช่วยให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีและยังช่วยให้คุณรู้ได้เร็วเมื่อเหงือกมีความผิดปกติและสามารถรักษาได้ทันเวลา หรือหากคุณสังเกต แล้วอาการดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นควรรีบเข้าปรึกษาทันตแพทย์ในทันที ยิ่งฟันของคุณได้รับการดูแลเร็วเท่าไรก็จะยิ่งลดความเสียหายต่อช่องปากได้มากเท่านั้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

The Link Between Gum Disease and Heart Disease

https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/heart-and-vascular-blog/2019/march/gum-disease-and-heart-disease

Will taking care of my teeth help prevent heart disease?

https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/heart-disease-prevention/faq-20057986

Does Gum Disease Increase Risk of Heart Disease?

https://www.healthline.com/health/gum-disease-and-heart-disease

Gum disease and heart disease: The common thread

https://www.health.harvard.edu/heart-health/gum-disease-and-heart-disease-the-common-thread

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

บอกลาเหงือกอักเสบด้วย วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

เหงือกร่น สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา