ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) หรือโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อตัวสะสมบนฟันและเหงือก เชื้อแบคทีเรียจะทำให้บริเวณเหงือกเกิดการระคายเคือง จนเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้
ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) หรือ โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อตัวสะสมบนฟันและเหงือก เชื้อแบคทีเรียจะทำให้บริเวณเหงือกเกิดการระคายเคือง จนเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบส่วนใหญ่จะมีกลิ่นปาก มีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกมีอาการบวมแดง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่อฟัน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย เป็นต้น
ปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเหงือกอักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่รักษาสุขอนามัยทางช่องปาก
ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
โรคปริทันต์อักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยช่องปาก คราบจุลินทรีย์ (เชื้อแบคทีเรีย) จะเกาะบริเวณเหงือกและฟัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะเกิดเป็นคราบหินปูน เมื่อเหงื่อและฟันเกิดการอักเสบเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเหงือกและฟันที่เต็มไปด้วยคราบจุลินทรีย์หินปูนและเชื้อแบคทีเรียเมื่อเชื้อมีการฝังลึกมากขึ้นอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้คุณสูญเสียฟันได้
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติผู้ป่วย และอาการ หลังจากนั้นจะทำการตรวจฟัน โดยใช้เครื่องมือตรวจปริทันต์ที่เรียกว่า “โพรบ” (Periodontal Probe) ตรวจตามซี่ฟัน วัดร่องเหงือก ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการเอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อให้ทราบรายละเอียดความผิดปกติมากยิ่งขึ้น
โรคปริทันต์อักเสบ มีวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นการขจัดคราบจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียคราบหินปูนบนฟันและเหงือก โดยการขูดหินปูน ขัดฟัน และเคลือบด้วยฟลูออไรด์ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจสั่งปฏิชีวนะในรูปแบบยารับประทานและน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบ มีดังนี้
การรักษาสุขอนามัยช่องปากเป็นประจำอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพฟัน ดังต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย