backup og meta

กระจกตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กระจกตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับกระจกตาชั้นนอกที่มีลักษณะโปร่งใส่ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของตา กระจกตานั้นมีหน้าที่ในการช่วยให้มองเห็นวัตถุได้ชัดเจน เมื่อเกิดอาการกระจกตาอักเสบ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ส่งผลต่อการมองเห็น และทำให้ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น ซึ่งการที่กระจกตาอักเสบนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุด้วยกัน

สาเหตุของกระจกตาอักเสบ

กระจกตาอักเสบนั้นสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ มีดังนี้

  • ความเสียหายของกระจกตา : หากกระจกตามีรอยขีดข่วน จนเกิดการบาดเจ็บ อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถเข้าสู่กระจกตาที่เสียหาย จนเกิดอาการติดเชื้อและกลายเป็นกระจกตาอักเสบได้
  • คอนแทคเลนส์สกปรก : บนผิวของคอนแทคเลนส์อาจจะมีแบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิตอาศัยอยู่ นอกจากนั้นในที่เก็บคอนแทคเลนส์ก็อาจจะมีสิ่งเหล่านี้อาศัยอยู่เช่นกัน เมื่อใส่คอนแทคเลนส์เข้าไปในดวงตา จึงทำให้แบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อปรสิตที่ปนเปื้อนอยู่สัมผัสกับกระจกตา จนทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ นอกจากนั้นแล้วพฤติกรรมการใส่คอนแทคเลนส์ก็มีผลเช่นกัน อาทิ การใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป การใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระจกตาอักเสบ
  • ไวรัส : ไวรัสเริมอาจทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ
  • แบคทีเรีย : แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในก็สามารถทำให้กระจกตาอักเสบได้เช่นกัน
  • น้ำที่ปนเปื้อน : แบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิต ที่อยู่ในมหาสมุทร ทะเลสาบ รวมถึงอ่างน้ำร้อน สามารถเข้าสู่ตาได้เมื่อว่ายน้ำและอาจทำให้กระจกตาอักเสบ อย่างไรก็ตามหากกระจกตามีสุขภาพที่ดี ก็อาจจะไม่ติดเชื้อ แต่เมื่อใดที่กระจกตาเกิดความเสียหาย อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อจนส่งผลให้กระจกตาอักเสบ
  • ภูมิคุ้มกันลดลง : หากระบบภูมิคุ้มกันถูกบุกรุกด้วยโรคหรือยา ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระจกตาอักเสบ
  • การใช้ยาหยอดตา : ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ในการรักษาโรคตา สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาอาการกระจกตาอักเสบ ติดเชื้อ หรือทำให้โรคกระจกตาอักเสบที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง

อาการของกระจกตากำลังอักเสบ

โดยปกติแล้วอาการปวดตา ถือเป็นอาการสำคัญของโรคกระจกตาอักเสบ เนื่องจากกระจกตาเป็นส่วนหนึ่งของดวงตาที่ช่วยในเรื่องของการมองเห็น เมื่อกระจกตาอักเสบก็อาจทำให้การมองเห็นเบลอ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เป็นโรคกระจกตาอักเสบ ดวงตาจะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อแสง ซึ่งปฏิกิริยานี้รู้จักกันในชื่อ อาการตากลัวแสง (Photophobia) ทำให้รู้สึกไม่อยากออกไปข้างนอกที่มีแสงแดดจ้า หรือไม่ชอบมองไปที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไป นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบด้วย ดังนี้

  • ตาแดง
  • เจ็บปวดและระคายเคืองในดวงตา
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีความพร่ามัว หรือไม่สามารถมองเห็นได้
  • มีปฏิกิริยาไวต่อแสง
  • ไม่สามารถลืมตาได้

วิธีรักษากระจกตาอักเสบ

สำหรับวิธีการรักษากระจกตาอักเสบนั้นมักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นจะต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ โดยแพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาหยอดหรือยารับประทาน หรืออาจจะสั่งจ่ายยาทั้ง 2 อย่างคู่กัน รวมถึงยาต่างๆ เหล่านี้ด้วย

  • ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ไบโอไซด์ (biocides) สำหรับการติดเชื้อปรสิต
  • ยาต้านเชื้อราสำหรับการติดเชื้อรา
  • ยาต้านเชื้อไวรัสสำหรับการติดเชื้อไวรัส

โรคกระจกตาอักเสบนั้นอาจร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดหากไม่ถูกรักษา โดยปกติอาการจะรักษาได้หากวินิจฉัยได้เร็วพอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Keratitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/keratitis/symptoms-causes/syc-20374110. Accessed December 6, 2019

What Is Keratitis?. https://www.webmd.com/eye-health/keratitis-facts. Accessed December 8, 2021.

Keratitis (Corneal Ulcers). https://www.hopkinsmedicine.org/wilmer/services/cornea/conditions_we_treat/keratitis.html. Accessed December 8, 2021.

Keratitis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559014/. Accessed December 8, 2021.

Basics of Fungal Keratitis. https://www.cdc.gov/contactlenses/fungal-keratitis.html. Accessed December 8, 2021.

Basics of Bacterial Keratitis. https://www.cdc.gov/contactlenses/bacterial-keratitis.html. Accessed December 8, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/12/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คอนแทคเลนส์ และสิ่งที่ไม่ควรทำ หากไม่อยากให้ดวงตามีปัญหา

อาการผิดปกติของดวงตา ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย..แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา