backup og meta

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยอาหารที่หาได้ง่ายใกล้ ๆ ตัว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยอาหารที่หาได้ง่ายใกล้ ๆ ตัว

    ระบบภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็ไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ทำให้ป่วยได้ง่าย ซึ่งการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงขึ้นอาจทำได้ด้วยหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายแข็งแรง

    ระบบภูมิคุ้มกันสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

    ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์พิเศษ โปรตีน เนื้อเยื่อ และอวัยวะ มีหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและจุลินทรีย์ และมีบทบาทสำคัญในการทำให้ร่างมีสุขภาพดีและป้องกันการติดเชื้อ แต่บางครั้งปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยและการติดเชื้อได้

    อาหารบางประเภทสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ดังนั้น หากต้องการหากวิธีป้องกันไข้หวัด หรือป้องกันการไม่สบายในเวลาที่อากาศเปลี่ยน อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ด้วยการรับประทานอาหารบางอย่าง เพื่อให้ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้

    อาหารที่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

    1. ผลไม้รสเปรี้ยว

    คนส่วนใหญ่กินวิตามินซีหลังจากที่เป็นไข้หวัด เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้วิตามินซียังอาจเพิ่มการผลิต เม็ดเลือดขาว ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับการติดเชื้อ และผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นที่นิยม ได้แก่

    • ส้ม
    • เลมอน
    • มะนาว

    เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตหรือเก็บวิตามินซีได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากมื้ออาหารเพื่อรักษาสุขภาพ และผลไม้รสเปรี้ยวส่วนใหญ่อุดมไปด้วยวิตามินซี ดังนั้น จึงอาจเพิ่มผลไม้รสเปรี้ยวในมื้ออาหาร

    2. บร็อคโคลี่

    บร็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและไฟเบอร์ จึงถือว่าเป็นหนึ่งในผักที่มีประโยชน์ และดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คำแนะนำคือเวลาปรุงอาหาร เช่น ผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด ควรลดปริมาณน้ำมันและน้ำตาลเพื่อสุขภาพ

    3. กระเทียม

    ข้อมูลจากสถาบัน the National Center for Complementary and Integrative Health พบว่า กระเทียม สามารถช่วยลดความดันโลหิต และชะลอการแข็งตัวของหลอดเลือด นอกจากนี้ คุณสมบัติในการกระตุ้มระบบภูมิคุ้มกันของกระเทียม ดูเหมือนว่าจะมาจากการมีสารประกอบที่มีซัลเฟอร์มีความเข้มข้นสูง เช่น อะลินซิน

    4. ขิง

    ขิงจัดเป็นอาหารที่แนะนำให้หลังป่วย เนื่องจากขิงอาจช่วยลดการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดอาการเจ็บคอ และโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการอักเสบอื่น ๆ นอกจากนี้ ขิงยังอาจช่วยลดอาการวิงเวียนได้ ถ้าต้องการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงฟื้นฟูร่างกายหลังจากที่ไม่สบาย อาจดื่มน้ำขิงร้อน ๆ หรือจะกินสารสกัดจากขิงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

    5. ผักโขม

    ผักโขมอุดมไปด้วยวิตามินซี นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและเบต้าแคโรทีน ที่อาจช่วยเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับการติดเชื้อ มากไปกว่านั้นผักโขมก็เหมือนกับบร็อคโคลี่ควรปรุงสุกให้น้อยที่สุด เพื่อรักษาสารอาหารในผักโขมไว้

    6. โยเกิร์ต

    โยเกิร์ต โดยเฉพาะกรีกโยเกิร์ต มีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อทำให้ร่างกายต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ เนื่องจากโยเกิร์ตอุดมไปด้วยวิตามินดี โดยควรกินโยเกิร์ตรสธรรมชาติที่ไม่เพิ่มน้ำตาล แต่หากชอบรสหวาน อาจกินคู่กับผลไม้สดเพื่อให้มีรสชาติมากขึ้น

    7. หอยนางรม

    หอยนางรมมีซิงก์หรือสังกะสี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อไวรัสบางชนิด เนื่องจากซิงก์อาจมีส่วนช่วยในการสร้างและกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การรักษาบาดแผล

    8. มิโซะ

    มิโซะ คือ เครื่องปรุงรสแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่ทำมาจากถั่วเหลืองหมัก มิโซะอุดมไปด้วยโพรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในลำไส้และในอาหาร เช่น โยเกิร์ต อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งการรับประทานมิโซะอาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีส่วนช่วยในการต่อสู้กับอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อได้

    9. ซุปไก่

    ซุปไก่อาจช่วยบรรเทาอาการป่วย นอกจากนี้สารคาร์โนซีน (Carnosine) ในซุปไก่ยังอาจช่วยป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเวลาที่จะทำซุปไก่ด้วยตนเอง นักวิจัยแนะนำว่าซุปไก่ที่ขายตามท้องตลาดหลายผลิตภัณฑ์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกับซุปไก่ที่ทำเอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา