backup og meta

ไรขนตา ต้นเหตุการระคายเคืองรอบดวงตา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

    ไรขนตา ต้นเหตุการระคายเคืองรอบดวงตา

    ดวงตาของเรานั้นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่ และเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองจนนำไปสู่อาการตาแดงได้ด้วย ซึ่งทางการแพทย์ได้ให้คำนิยามสิ่งมีชีวิตนี้ว่า ไรขนตา แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถป้องกันไรขนตาไม่ให้ทำร้ายดวงตาของเราจนอักเสบถึงขั้นร้ายแรงได้

    ทำความรู้จักกับ ไรขนตา

    ไรขนตา (Eyelash Mites) มักอาศัยอยู่ตามรูขุมขนของผิวเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักที่รบกวนผิวหนังของมนุษย์ ได้แก่ Demodex folliculorum และ Brevis Demodex ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้อุปกรณ์อย่างกล้องจุลทรรศน์ส่องเท่านั้น และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่ช่วยกินเซลล์ผิวที่ตายแล้ว อย่างเช่น รอบใบหู ขาหนีบ แขน รวมถึงรอบดวงตาของเรา แต่บางครั้งไรขนตาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังด้านอื่นๆ หรืออาจทำให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ได้รับผลกระทบจากไรขนตาที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

    สาเหตุที่พบส่วนมากมักมาจากการแต่งหน้ามากเกินไป ลบเครื่องสำอางไม่หมด โดยเฉพาะผู้หญิงที่ชอบทาอายแชโดว์ และปัดมาสคาร่า  รวมทั้งผู้ที่ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันเยอะจนเกินไป ทำให้ปรสิตเหล่านี้มากัดกินเซลล์ผิวในตอนกลางคืน

    อาการที่พบบ่อยจากปัญหาไรขนตา 

  • คันรอบๆ บริเวณโคนขนตาหรือเปลือกตา
  • รู้สึกถึงสะเก็ดที่หลุดออกรอบผิวหนัง
  • ดวงตาเริ่มมีสีแดงก่ำ
  • รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา
  • มองเห็นไม่ค่อยชัด
  • หากมีอาการนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ตาอักเสบบวม ขนตามีความหนืดเหนียว และคันระคายเคืองอย่างรุนแรง นำไปสู่กระพริบตาถี่ๆ โปรดขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

    วิธีรักษา และป้องกันไรขนตาสร้างความระคายเคือง

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจวินิจฉัยโดยการนำเนื้อเยื่อ หรือขนตาที่ลอกออกจากดวงตาไปตรวจ จากนั้นจะรสั่งยาเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และการวางไข่ของไรขนตา

    นอกจากนั้น ยังมีวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทำเองได้ง่ายๆ ไม่ให้ปรสิตตัวน้อยมาสร้างความระคายเคืองให้ดวงตานั่นก็คือ

    • หลีกเลี่ยงการปัดมาสคาร่า หรือเครื่องสำอางอื่นๆ ที่ใช้กับเปลือกตา
    • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ถูรอบดวงตาเบาๆ ด้วยน้ำเปล่าเท่านั้น
    • ใช้ผ้าสะอาดเช็ดขนตาทุกวัน และรอบดวงตาทุกวัน โดยเฉพาะเมื่อมีเศษฝุ่น หรือความมันส่วนเกิน
    • ขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกด้วยแปรงที่ใช้สำหรับดวงตา และสบู่เด็ก โดยขัดเบาๆ

     

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา