ความแตกต่างของการทำ เลสิก และ พีอาร์เค
ไม่ว่าคุณต้องการการผ่าตัดด้วยเทคนิคสิก (Lasik) หรือ พีอาร์เค (PRK) ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่การพิจารณา และการวินิจฉัยร่วมจากจักษุแพทย์ เนื่องจากปัญหาทางสายตาของผู้ป่วยนั้นมีอาการที่ต่างออกไป อาจทำให้ไม่เหมาะสมในเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง
ซึ่งการผ่าตัดรักษาสายตาทั้ง 2 เทคนิคนั้น แตกต่างกันตรงที่การผ่าตัดด้วยเลสิก ใช้กรรมวิธีตัดแผ่นกระจกบาง ๆ ด้วยเครื่องไมโครเคอราโตม (Microkeratome) หรือการเลเซอร์ เฟมโตเซเคิน (Laser femtosecond) เพื่อแยกชั้นกระจกตา และทำการยิงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา เมื่อเสร็จสิ้นแพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิว พร้อมกระจกตากลับใส่เข้าที่เดิม เพื่อให้เนื้อเยื่อเดิมนั้นคงอยู่ไม่ระเหยหายไปในขณะยิงเลเซอร์ ซึ่งโดยรวมแล้วการทำเลสิกอาจใช้เวลาถึง 30 นาทีในการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก
แต่ในส่วนของการทำพีอาร์เค แพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิวบนกระจกตาชั้นบนสุดออกหมด และยิงเลเซอร์แก้ไขเนื้อเยื่อกระจกตาผิดปกติที่อยู่ลึกลงไป และปรับความโค้งของกระจกตาให้ได้รูป เมื่อเสร็จขั้นตอนการผ่าตัด แพทย์จะทำการนำผ้าปิดแผลมาพันรอบ พร้อมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเพิ่มไว้เพื่อป้องกันเชื้อโรค โดยใช้เวลาผ่าตัดเพียงแค่ 15 นาที
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การผ่าตัดทั้ง 2 เทคนิคนี้มักมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่อาจแตกต่างตรงที่พีอาร์เคจำเป็นต้องทำการตัดกระจกตาชั้นนอก และนำเยื่อบุผิวออกให้หมด พร้อมทั้งใช้ระยะเวลาการผ่าตัดที่สั้น แต่เลสิกนั้น มีระยะเวลาการผ่าตัดที่ยาวนานกว่า และเป็นการผ่าตัดที่เพียงแค่เปิดกระจกตาออกมิได้ตัดทิ้งทั้งหมด และยังมีการแยกเนื้อเยื่อเก็บเอาไว้แล้วจึงนำใส่กลับเข้าที่เดิม เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด หรือก่อนการปิดกระจกตาลง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย