backup og meta

Computer Vision Syndrome สาเหุต อาการ และการรักษา

Computer Vision Syndrome สาเหุต อาการ และการรักษา

Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงหลังจากจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น โทรศัพท์มือถือ หากไม่พักสายตา หรือละลายสายตาออกมาจากหน้าจอบ้าง ก็อาจทำให้ตาพร่า ระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้งได้

คำจำกัดความ

Computer vision syndrome คืออะไร

Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือภาวะเกี่ยวข้องกับดวงตา เกิดจากการใช้สายตาจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ เป็นเวลานาน โดยไม่พักสายตา ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และผู้ใหญ่ หากไม่ปรับปรุงพฤติกรรมเช่นนี้ก็อาจทำให้การโฟกัสในตาเสื่อมสภาพลง มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพเบลอภาพซ้อน มีอาการตาล้า ตาแห้ง  และอาจเสี่ยงเผชิญกับปัญหาทางสายตาต่าง ๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่น สายตายาว

อาการ

อากาของComputer vision syndrome

อาการComputer vision syndrome สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ปวดตา
  • ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา
  • โฟกัสวัตถุยาก มองเห็นเป็นภาพซ้อน ภาพเบลอ
  • ปวดศีรษะจากอาการปวดตา
  • ปวดคอ และปวดไหล่จากการนั่งอยู่ที่เดิมเป็นเวลานาน

สาเหตุ

สาเหตุComputer vision syndrome

สาเหตุComputer vision syndrome นำไปสู่อาการปวดตา ได้แก่

  • แสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัล
  • เนื้อหาบนหน้าจออาจไม่มีความคมชัด ทำให้อาจเพ่งสายตา
  • ระยะการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลไม่เหมาะสม อาจอยู่ไกล หรือใกล้หน้าจอมากเกินไป

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นComputer vision syndrome

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นComputer vision syndrome ได้แก่

  • จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิทัลในที่ที่มีแสงน้อย
  • ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงในการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัล
  • ปัญหาทางสายตาที่ไม่ได้รับการรักษา และไม่สวมใส่แว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ระหว่างมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัล
  • ไม่มีการหยุดพักสายตา

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยComputer vision syndrome

การวินิจฉัยComputer vision syndrome คุณหมออาจเริ่มด้วยการซักถามประวัติทางสุขภาพทั่วไป ยาที่ใช้ปัจจุบัน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สายตาจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานาน  และทดสอบการโฟกัสของดวงตาด้วยเครื่องออพธัลโมสโคป (Ophthalmoscope) เพื่อประเมินความผิดปกติของด้านหลังดวงตา

การรักษาComputer vision syndrome

อาการComputer vision syndrome อาจสามารถหายได้เอง หลังจากพักสายตา อย่างไรก็ตามคุณหมออาจแนะนำการรักษาComputer vision syndrome ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • สวมใส่แว่นตาม หรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมในการใช้งานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัล
  • หากมีอาการตาแห้งจากการที่จ้องมองหน้าจอนาน ๆ อาจใช้น้ำตาเทียม เพื่อความชุ่มชื้นในดวงตา
  • บริหารดวงตา เพื่อปรับปรุงการมองเห็น
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสาย คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดด้วยการเลเซอร์ เพื่อปรับกระจกตาให้มีการโฟกัส และการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันComputer vision syndrome

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อป้องกันComputer vision syndrome มีดังนี้

  • วางตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากดวงตาประมาณ 20 – 28 นิ้ว และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบประมาณ 10 – 20 องศา หรือ 4-5 นิ้ว
  • อยู่ห่างจากหน้าจอประมาณ 20-28 นิ้ว
  • เล่นคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัล รวมถึงการอ่านหนังสือในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • กระพริบตาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันตาแห้ง
  • พักสายตาทุก ๆ 20 นาที และมองไปในทิศทางอื่นประมาณ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น ยาว หรือเอียง ควรใส่แว่นสายตาหรือ คอนแทคเลนส์ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพที่หน้าจอได้ชัดเจน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Computer vision syndrome. https://www.aoa.org/healthy-eyes/eye-and-vision-conditions/computer-vision-syndrome?sso=y.Accessed  Stember 08, 2021

What Is Computer Vision Syndrome?. https://www.webmd.com/eye-health/computer-vision-syndrome.Accessed  Stember 08, 2021

What to know about computer vision syndrome. https://www.medicalnewstoday.com/articles/computer-vision-syndrome.Accessed  Stember 08, 2021

สายตากับโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม. https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/28aug2020-1355.Accessed  Stember 08, 2021

Computer Vision Syndrome. https://www.cedars-sinai.org/health-library/diseases-and-conditions/c/computer-vision-syndrome.html.Accessed  Stember 08, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/09/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีถนอมสายตา เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

ใช้สายตามากเกินจนเกิด อาการตาล้า จัดการอย่างไรดี?



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา