backup og meta

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง เกิดขึ้นจากอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อของต่อมไขมันในบริเวณเปลือกตา ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายสิวในบริเวณรอบดวงตา โดยปกติอาจสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเปลือกตาครั้งละ 5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง

คำจำกัดความ

ตากุ้งยิง คืออะไร

ตากุ้งยิง คือ การอักเสบของเปลือกตาที่ก่อให้เกิดตุ่มนูนคล้ายสิว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบริเวณปลือกตาทั้งภายนอกและภายใน หากเกิดตากุ้งยิงในบริเวณเปลือกตาภายนอกอาจส่งผลให้เกิดหนอง และอาการปวดเมื่อสัมผัส รวมถึงอาจส่งผลให้ติดเชื้อได้

ตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายในเปลือกตาอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากกว่าตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายนอก อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเมื่อกระพริบตา เหมือนมีบางอย่างติดอยู่ในดวงตาตลอดเวลา

อาการ

อาการของตากุ้งยิง

อาการตากุ้งยิง สังเกตได้จากปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังนี้

  • ตุ่มนูนสีแดงคล้ายสิวอยู่บนเปลือกตา บางตุ่มอาจมีหนองสีเหลืองปรากฏ
  • เปลือกตาบวม
  • รู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา คันตา
  • น้ำตาไหล ตาแฉะ
  • เปลือกตาหย่อนคล้อย
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ตาไวต่อแสง

สาเหตุ

สาเหตุที่ส่งผลให้เป็นตากุ้งยิง

ตากุ้งยิงมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ที่ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา แต่บางครั้งก็อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันของต่อมไขมันเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา หรือจากแผลเป็นที่เนื้อเยื่อในบริเวณเปลือกตา หรืออาจเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โรคเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด อาการตากุ้งยิง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตากุ้งยิง มีดังต่อไปนี้

  • การใช้มือสัมผัสกับดวงตา
  • ใส่คอนแทคเลนส์ที่สกปรกไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ
  • ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ
  • ล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าไม่สะอาด หรือทิ้งไว้ข้ามคืน
  • สภาวะต่าง ๆ เช่น เปลือกตาอักเสบ โรคโรซาเซีย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการตากุ้งยิง

คุณหมออาจวินิจฉัยโดยการตรวจดูบริเวณเปลือกตาด้วยการส่องไฟ และใช้แว่นขยาย เพื่อตรวจดูลักษณะของตุ่มตากุ้งยิง นอกจากนี้คุณหมอก็อาจจะตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในบริเวณดวงตา หรือสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น น้ำหนอง อาการบวม เพื่อดูว่าเกิดขึ้นจากการติดเชื้อในต่อมไขมันที่เปลือกตาหรือไม่

การรักษา อาการตากุ้งยิง

โดยปกติตากุ้งยิงมักสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่คุณหมอก็อาจสั่งให้ใช้ยาปฏิชีวนะแบบหยอดตาหรือแบบครีม เพื่อช่วยรักษาการติดเชื้อ และช่วยป้องกันการลุกลาม สำหรับกรณีที่ อาการตากุ้งยิง ยังไม่หายไป คุณหมอก็อาจจำเป็นต้องเจาะตุ่มตากุ้งยิงเพื่อช่วยระบายหนองออก

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตัวเองเพื่อป้องกันตากุ้งยิง

การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดตากุ้งยิง อาจเริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ดังต่อไปนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stye. https://www.nhs.uk/conditions/stye/ . Accessed September 06, 2021

Everything you need to know about styes. https://www.medicalnewstoday.com/articles/220551. Accessed September 06, 2021

Sty. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sty/symptoms-causes/syc-20378017. Accessed September 06, 2021

How to Get Rid of a Stye. https://www.webmd.com/eye-health/get-rid-of-stye. Accessed September 06, 2021

Sty. https://www.medicinenet.com/sty_stye/article.htm. Accessed September 06, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เปลือกตาเป็นตุ่ม มี ก้อนที่เปลือกตา เกิดจากอะไร ปล่อยไว้จะอันตรายหรือเปล่า

6 โรคตา ที่ควรระวัง หากยับยั้งไม่ทัน อาจเสี่ยงต่อการตาบอด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา