ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล
ตาเหล่ ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัย 6 เดือนแรกหลังคลอด และจะมีอาการที่ชัดเจนเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต โดยสังเกตได้จากลูกตาที่ไม่สามารถมองตรงไปข้างหน้าพร้อมกันได้
ตาเหล่ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น เนื่องจากลูกตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองไปที่จุดใดจุดหนึ่งในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งปกติดวงตาจะมีกล้ามเนื้อยึดติดเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวให้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากกล้ามเนื้อนั้นทำงานผิดปกติ ก็จะเกิดเป็นอาการตาเหล่ขึ้น
ตาเหล่สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งของลูกตา ดังนี้
ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดที่ส่งผลให้เกิดอาการตาเหล่ แต่อาจมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือผลข้างเคียงจากปัญหาทางสายตา เช่น สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง รวมถึงโรคตาเรื้อรัง และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ที่เข้าไปสร้างความเสียหายแก่หลอดเลือด เส้นประสาท
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตาเหล่ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ได้แก่
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณหมออาจวินิจฉัยหาสาเหตุของ ภาวะตาเหล่ และความผิดปกติของลูกตาด้วยการทดสอบต่าง ๆ ดังนี้
ควรเร่งรักษาอาการตาเหล่ทันที เมื่อเริ่มสังเกตเห็นว่าลูกตาเคลื่อนที่อย่างผิดปกติด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
ภาวะตาเหล่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทารก ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพตาตั้งแต่ช่วงก่อนอายุ 6 เดือน และ 3-5 ปี หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะหากตรวจพบความผิดปกติของดวงตาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจสามารถเข้ารับการรักษาภาวะตาเหล่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงด้านการมองเห็นให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจต้องบำบัดการทำงานของดวงตา โดยฝึกการเคลื่อนไหวดวงตาด้วยตัวเอง ตามคำแนะนำของคุณหมอ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
พลอย วงษ์วิไล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย