- สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หากมีสิ่งสกปรกเข้าดวงตา อาจทำให้ดวงตาระคายเคือง เสี่ยงต่อการเกิดรอยบนกระจกตาได้
- เยื่อบุตาอักเสบ จากอาการแพ้ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่งผลให้เส้นเลือดเยื่อบุตาบวม สังเกตได้จากบริเวณตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง
- การติดเชื้อในกระจกตา อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ที่ส่งผลให้กระจกตาอักเสบ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ถอดคอนแทคเลนส์ อาจเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้มากขึ้น
- เส้นประสาทตาอักเสบ การอักเสบของเส้นประสาทตา อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นได้
- โรคต้อหิน อาจเกิดจากภายในดวงตามีระดับความดันสูง หรือของเหลวสะสมที่กระทบต่อเส้นประสาทตา หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดตา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดตา ได้แก่
- อ่านหนังสือโดยไม่หยุดพักสายตา
- พื้นที่ที่มีแสงจ้ามากเกินไป
- ภาวะเครียด เหนื่อยล้า
- การขับรถเดินทางไกล เพราะอาจต้องใช้สายตาในการมองทางเป็นเวลานาน
- ดวงตาสัมผัสกับอากาศแห้งจากพัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน
- โรคตาอื่น ๆ เช่น ตาแห้ง ต้อหิน ปลอกประสาทตาอักเสบ การติดเชื้อที่รุนแรง
การวินิจฉัย และการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการปวดตา
คุณหมออาจสอบถามปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดตา เช่น อาการปวดตาเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ เกิดขึ้นกะทันหันหรือไม่ เคยใส่คอนแทคเลนส์หรือเปล่า และอาจตรวจสุขภาพตาโดยรวม พร้อมทดสอบการมองเห็นเบื้องต้น
การรักษาอาการปวดตา
การรักษาอาการปวดตาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ผู้ป่วยเป็น หรือปัจจัยสภาวะแวดล้อม แต่สำหรับพฤติกรรมการใช้สายตามากเกินไปจนเกิดอาการปวดตา อาจบริหารดวงตาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การกระพริบตาถี่ ๆ อาจช่วยกระตุ้นให้ดวงตาผลิตน้ำตาเพิ่มความชุ่มชื้น และบรรเทาอาการแสบร้อนในตา หรือเจ็บตาจากอาการตาแห้ง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย