สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

ปัญหาตาแบบอื่น

ลูทีนและซีแซนทีน สองคู่หูช่วยบำรุงสายตา ที่คุณควรหามาบริโภคให้ไว

ดวงตาและสายตาของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ยิ่งหากมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น การใช้สายตามาก จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์และหน้าจอมือถือนานๆ ชอบเดินกลางแจ้งโดยไม่สวมหมวกหรือแว่นกันแดด ก็จะยิ่งทำให้สุขภาพตาของเราเสื่อมถอยได้เร็วยิ่งขึ้น หากใครไม่อยากให้สุขภาพตามีปัญหา เราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นให้ดี และหันมาบริโภค ลูทีนและซีแซนทีน มากขึ้น เพราะสองคู่หูที่ชื่ออาจไม่คุ้นหูนี้ ช่วยบำรุงสายตาและสุขภาพตาของเราได้เป็นอย่างดีเลย ทำความรู้จักกับ ลูทีนและซีแซนทีน ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารพฤกษเคมีทรงพลังที่พบมากในผักและผลไม้สีส้ม เหลือง แดง เขียว โดยปกติแล้ว ลูทีนและซีแซนทีนในพืชจะช่วยดูดซับพลังงานแสงส่วนเกิน ทำให้พืชไม่ถูกแสงแดดทำลายมากเกินไป แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะลูทีนและซีแซนทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม แถมยังขึ้นชื่อเรื่องช่วยบำรุงสุขภาพตาด้วย และนอกจากจะพบมากในพืชแล้ว เรายังพบลูทีนและซีแซนทีนได้ในจอประสาทตา (Retina) จุดศูนย์กลางหรือจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา (Macula) และเลนส์ตาของเราด้วย อาหารอะไรบ้างที่มีลูทีนและซีแซนทีน อาหารที่อุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีน ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเขียว เหลือง ส้ม แดง อื่นๆ เช่น ผักคะน้า ผักเคล (Kale) หรือคะน้าใบหยัก ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักสวิสชาร์ด (Swiss chard) ผักกาดเขียวปลี (Mustard […]


การดูแลสุขภาพตา

วิธีหยอดตา ที่ถูกต้องปลอดภัย

การหยอดตา อาจช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแห้ง คันตา ตาแดง ต้อหิน การติดเชื้อ และหลังการผ่าตัดต้อกระจก วิธีหยอดตา ที่ปลอดภัยอันดับแรกคือการล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตา ไม่เช่นนั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อเพิ่มเติมได้ วิธีหยอดตา ที่ถูกต้องปลอดภัย วิธีหยอดตาที่ปลอดภัย อาจแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมตัวก่อนหยอดตา ก่อนหยอดตาควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง และเขย่าขวดแรง ๆ ก่อนใช้งาน สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรถอดออกก่อนหยอดตา เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอให้ใส่คอนแทคเลนส์ไว้ หยอดตา หลังจากล้างมือเสร็จ ควรเช็ดมือให้แห้ง และนั่งในท่าที่สบายพร้อมกับเอียงศีรษะไปข้างหลัง หรือเงยหน้ามองเพดานประมาณ 45 องศา จากนั้นเปิดฝาขวดยา และใช้ปลายนิ้วดึงเปลือกตาด้านล่างออกให้เป็นกระพุ้งตา หรือมีช่องรอบรับยาหยอดตา ก่อนหยอดตาลงไปตามจำนวนที่คุณหมอกำหนด โดยขณะที่หยอดตาไม่ควรให้ปลายขวดสัมผัสกับเปลือกตา เพราะอาจทำให้แบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโตในขวดยา หลับตาหลังหยอดตา หลังหยอดตาควรหลับตาค้างเอาไว้ประมาณ 1-2 นาที เพื่อปิดท่อน้ำตา ให้ยาดูดซึมเข้าสู่ดวงตาไปบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เป็น และล้างมืออีกครั้งหลังหยอดตาเสร็จ การใช้ยาหยอดตาสำหรับเด็ก ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอถึงการใช้ยาหยอดตาในเด็ก ก่อนการใช้ทุกครั้ง ควรเข้ารับขอคำปรึกษาจากคุณหมอ การใช้ยาหยอดตาสำหรับเด็ก อาจเหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ โรคภูมิแพ้ หากมีอาการไม่รุนแรงอาจสามารถใช้น้ำตาเทียม โดยอาจสามารถใช้ได้กับเด็กทุกช่วงวัย หรืออาจใช้ยาหยอดตาที่มีสารต้านฮิสตามีน […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ไรขนตา ต้นเหตุการระคายเคืองรอบดวงตา

ดวงตาของเรานั้นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่ และเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองจนนำไปสู่อาการตาแดงได้ด้วย ซึ่งทางการแพทย์ได้ให้คำนิยามสิ่งมีชีวิตนี้ว่า ไรขนตา แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถป้องกันไรขนตาไม่ให้ทำร้ายดวงตาของเราจนอักเสบถึงขั้นร้ายแรงได้ ทำความรู้จักกับ ไรขนตา ไรขนตา (Eyelash Mites) มักอาศัยอยู่ตามรูขุมขนของผิวเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักที่รบกวนผิวหนังของมนุษย์ ได้แก่ Demodex folliculorum และ Brevis Demodex ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้อุปกรณ์อย่างกล้องจุลทรรศน์ส่องเท่านั้น และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่ช่วยกินเซลล์ผิวที่ตายแล้ว อย่างเช่น รอบใบหู ขาหนีบ แขน รวมถึงรอบดวงตาของเรา แต่บางครั้งไรขนตาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังด้านอื่นๆ หรืออาจทำให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ได้รับผลกระทบจากไรขนตาที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม สาเหตุที่พบส่วนมากมักมาจากการแต่งหน้ามากเกินไป ลบเครื่องสำอางไม่หมด โดยเฉพาะผู้หญิงที่ชอบทาอายแชโดว์ และปัดมาสคาร่า  รวมทั้งผู้ที่ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันเยอะจนเกินไป ทำให้ปรสิตเหล่านี้มากัดกินเซลล์ผิวในตอนกลางคืน อาการที่พบบ่อยจากปัญหาไรขนตา  คันรอบๆ บริเวณโคนขนตาหรือเปลือกตา รู้สึกถึงสะเก็ดที่หลุดออกรอบผิวหนัง ดวงตาเริ่มมีสีแดงก่ำ รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา มองเห็นไม่ค่อยชัด หากมีอาการนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ตาอักเสบบวม ขนตามีความหนืดเหนียว และคันระคายเคืองอย่างรุนแรง นำไปสู่กระพริบตาถี่ๆ โปรดขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที วิธีรักษา และป้องกันไรขนตาสร้างความระคายเคือง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจวินิจฉัยโดยการนำเนื้อเยื่อ หรือขนตาที่ลอกออกจากดวงตาไปตรวจ จากนั้นจะรสั่งยาเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และการวางไข่ของไรขนตา นอกจากนั้น ยังมีวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทำเองได้ง่ายๆ ไม่ให้ปรสิตตัวน้อยมาสร้างความระคายเคืองให้ดวงตานั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการปัดมาสคาร่า หรือเครื่องสำอางอื่นๆ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาแห้งหลังทำเลสิก เป็นเพราะอะไร รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่มีสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง และเบื่อการใส่แว่นสายตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ตลอดเวลา ก็อาจต้องมองหาวิธีแก้ไขให้สายตากลับมาเป็นปกติ หรือใกล้เคียงปกติที่สุด และหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่หลายๆ คนนึกถึงและสนใจ ก็น่าจะเป็นการทำเลสิก (Lasik) ซึ่งเป็นการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยการใช้เลเซอร์ชนิดหนึ่ง วิธีนี้ถือเป็นวิธีรักษาภาวะสายตาผิดปกติที่แน่นอนและแม่นยำที่สุด แต่การทำเลสิกก็เหมือนการผ่าตัดอื่นๆ นั่นคือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น ตาแห้งหลังทำเลสิก ซึ่งถือเป็นผลข้างเคียงจากการทำเลสิกที่พบได้มากที่สุด ทำไมทำเลสิกแล้วถึงตาแห้ง ภาวะตาแห้งหลังทำเลสิก สามารถสังเกตได้จากอาการตาแห้ง ระคายเคืองตา ตาล้า และตาแดง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ภาวะตาแห้งหลังทำเลสิกอาจเป็นผลมาจากเส้นประสาทกระจกตาได้รับความเสียหายจากการผ่าตัด เนื่องจากระหว่างผ่าตัด แพทย์ต้องตัดเนื้อเยื่อและเส้นประสาทในกระจกตาบางส่วนออก เพื่อปรับแก้รูปทรงของกระจกตา ซึ่งโดยปกติแล้ว กระบวนการนี้จะไม่กระทบกับการมองเห็น แต่อาจทำให้การส่งสัญญาณระหว่างกระจกตาและต่อมน้ำตาเกิดปัญหาได้ชั่วคราว แต่ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดปัญหาตาแห้งหลังทำเลสิกได้ ก็คือ การอักเสบเนื่องจากผ่าตัด หรือในบางกรณี กระจกตารูปทรงใหม่ที่ได้หลังทำเลสิก อาจทำให้หนังตาเสียดสีกับกระจกตาบ่อยขึ้น จนส่งผลให้น้ำตาไหลง่าย หรือต้องกระพริบตาบ่อยๆ เลยทำให้คุณรู้สึกตาแห้งได้ ส่วนใหญ่แล้วอาการตาแห้งมักปรากฏให้เห็นภายในหนึ่งเดือนหลังทำเลสิก และมักจะหายดีได้ภายใน 6-12 เดือน แต่หากคุณตาแห้งจนกระทบกับการมองเห็น ทำให้มีอาการปวดรุนแรง หรือมีปัญหาตาอื่นๆ ตามมา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ใครบ้างที่เสี่ยงตาแห้งหลังทำเลสิก แม้ภาวะตาแห้งหลังทำเลสิกจะเป็นผลข้างเคียงจากการทำเลสิกที่พบได้บ่อย แต่ผู้ที่มีภาวะเหล่านี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตาแห้งหลังทำเลสิกมากขึ้น มีอาการตาแห้งตั้งแต่ก่อนทำเลสิก ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นโรคเบาหวาน สายตาสั้นมากก่อนทำเลสิก มีเชื้อสายเอเชีย เป็นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune diseases) […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

บางคนอาจคิดว่า เปลือกตาบวม คือเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นที่จะต้องรับการรักษาก็ได้ แต่เมื่อใดที่ปล่อยให้เปลือกตาบวมเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลต่อดวงตาของคุณได้ นอกจากนั้นแล้วเปลือกตาบวมยังอาจมีอีกหลายสาเหตุด้วยกัน ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มานำแชร์กัน เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) เกิดจากอะไร? เปลือกตาบวมถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้เกิดเปลือกตาบวมอาจมีสาเหตุตั้งแต่การกักเก็บของเหลว ไปจนถึงขั้นติดเชื้อรุนแรง ในกรณีส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการเปลือกตาบวม มันจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยสามารถลดอาการบวมได้ด้วยการประคบตรงเปลือกตาที่บวม แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการเปลือกตาบวมด้วย สำหรับเปลือกตาบวมก็สามารถเกิดจาหลายสาเหตุด้วยกัน บางครั้งเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง ก็อาจทำให้เกิดอาการเปลือกตาบวมได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงโรคคอพอกตาโปน (Graves) และมะเร็งตา ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่หาได้ยากก็ตาม ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา หากอาการบวมเกิดขึ้นนานกว่า 24-48 ชั่วโมง สาเหตุที่ทำให้เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) สาเหตุส่วนใหญ่ของเปลือกตาบวมนั้นมักจะไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเล็กน้อยนี้อาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ สำหรับสาเหตุของเปลือกตาบวม มีดังนี้ กุ้งยิง กุ้งยิงเกิดขึ้นจากการติดเชื้อของต่อมเปลือกตา ซึ่งกุ้งยิงชนิดที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อของต่อมน้ำตาที่อยู่ที่ฐานของขนตา บางครั้งกุ้งยิงก็เกิดขึ้นภายในเปลือกตา เนื่องจากต่อมน้ำมันที่ติดเชื้อ กุ้งยิงมีชักเริ่มเป็นจากสีแดง คัน เจ็บปวด บวมเป็นก้อน ในชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือต้องใช้เวลา 2-3 วัน มันจะเริ่มมีลักษณะคล้ายกับสิว และบางคนก็มีหัวสีขาวด้วย โรคภูมิแพ้ดวงตา สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเปลือกตาบวม คือ โรคภูมิแพ้ที่ตา ซึ่งโรคภูมิแพ้ดวงตานั้นมักจะขัดจังหวะกิจวัตรประจำวัน […]


การดูแลสุขภาพตา

5 อันตรายต่อสุขภาพดวงตา เมื่อคุณ ทำความสะอาดเครื่องสำอางรอบดวงตา ออกไม่หมด

การแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง เป็นการเสริมเสน่ห์และสร้างความมั่นใจให้สาว ๆ ทุกคนได้ แต่บางครั้ง หากทำความสะอาดเครื่องสำอางเหล่านี้ออกไม่หมด อาจก่อให้เกิดผลเสียกับสุขภาพของดวงตาได้ มาดูกันว่าถ้าเรา ล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด หรือล้างไม่สะอาด จะส่งผลเสียต่อดวงตาของเราอย่างไรได้บ้าง 5 อันตรายสุขภาพดวงตา เพราะ ล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด 1.อันตรายที่มากับคอนแทคเลนส์ แม้คอนแทคเลนส์จะไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของเครื่องสำอาง แต่ว่าเครื่องสำอางที่ใช้แต่งหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตาของเรานั้น สามารถที่จะติดไปกับคอนแทคเลนส์ได้ เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคือง และอาการติดเชื้อที่ดวงตา ดังนั้น โปรดแน่ใจว่าใส่คอนแทคเลนส์ก่อนการแต่งหน้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เศษเครื่องสำอางติดไปกับคอนแทคเลนส์ 2.เกิดรอยขีด ข่วน บริเวณกระจกตา สำหรับมาสคาร่า ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ขนตาเป็นลอน งอนเด้ง แผ่เรียงหนา สร้างความมั่นใจให้เรานั้น หากใช้อย่างไม่ระวัง หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้มาสคาร่าไปสัมผัสกับกระจกตา ก็จะทำให้บริเวณกระจกตามีรอยขีดหรือรอยข่วน 3.อาการแพ้ หลายคนอาจมีอาการแพ้ต่อสารบางอย่างที่อยู่ในเครื่องสำอาง ควรตรวจสอบตัวเองว่ามีอาการแพ้สารใดหรือไม่ และตรวจสอบฉลากของบรรจุภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมใดที่ไม่ปลอดภัยกับอาการแพ้ของตนบ้าง โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่ต้องใช้ในบริเวณดวงตาและรอบดวงตา เช่น มาสคาร่า อายไลเนอร์ หรืออายชาโดว์ 4.อาการตาชมพู อาการตาชมพู มีสาเหตุมาจากการไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับแต่งหน้า รวมถึงการใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เยื่อบุตาอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า ตาชมพู นั่นเอง 5.อาการตาแห้ง อาการตาแห้ง คือ อาการที่ดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำตาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตาได้ หรือน้ำตาในดวงตาระเหยออกเร็วเกินไป หรือการที่น้ำในดวงตาไม่สมดุลกัน เหล่านี้คืออาการตาแห้ง เมื่อมีอาการตาแห้งแล้วยังมีการแต่งหน้าทับเข้าไปอีก ก็จะยิ่งเป็นการทำให้อาการตาแห้งนั้นแย่ลง ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ถึงสารที่อาจเป็นอันตรายกับดวงตาก่อนการใช้งาน รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าบริเวณดวงตาในระยะนี้ด้วย ป้องกันอันตรายต่อดวงตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาเหลือง หม่นหมองแบบนี้ เกิดจากอะไรกันนะ?

ดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของดวงใจ การมีแววตาที่สดใส เป็นการสร้างเสน่ห์ให้แก่ผู้ที่พบเห็น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ตาของคุณเป็นสีเหลือง ดูหม่นหมอง นั่นอาจไม่ใช่เพียงแค่การทำให้คุณหมดความมั่นใจ แต่อาจหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคร้ายอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว มาทำความรู้จักกับอาการ ตาเหลือง ให้มากขึ้น กับบทความนี้ โดย Hello คุณหมอ อาการ ตาเหลือง คืออะไร ตาเหลือง หรือ อาการตาเหลือง มักเกิดขึ้นในกรณีที่มีภาวะของโรคดีซ่าน ที่เกิดจากการมีสารบิลิรูบิน (Bilirubin) สะสมอยู่ในกระแสเลือดมากจนเกินไป และเข้าไปจับกับเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีสีเหลือง ทั้งบริเวณผิวหนัง และดวงตา ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าดีซ่านนั้นเป็นเฉพาะในวัยเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใหญ่ในช่วงวัยอื่น ๆ ก็สามารถเผชิญกับโรคนี้ได้เช่นกัน ตาเหลืองเกิดจากอะไร การมีดวงตาที่สดใส เนื้อตาขาวมีสีขาว สะอาด ไม่ขุ่นมัว เป็นการบ่งบอกถึงการมีสุขภาพที่ดี แต่เมื่อใดก็ตามที่บริเวณเนื้อตาสีขาวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของสี อาจจะถึงเวลาที่คุณควรจะไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย เพราะคุณอาจจะกำลังมีอาการตาเหลือง สาเหตุของอาการ ตาเหลือง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยมีปัญหาหลักคือ การที่ร่างกายมีสารบิลิรูบินสะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จนทำให้เกิดโรคดีซ่าน ที่แสดงอาการในลักษณะของตัวเหลือง และตาเหลือง ซึ่งอาการที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนั้น จะเห็นได้ชัดมากที่ดวงตา เนื่องจากสีขาวของดวงตาจะไม่มีเม็ดสีเหมือนกับที่พบในผิวหนัง อย่างไรก็ตาม […]


ปัญหาตาแบบอื่น

สีดวงตา สามารถบอกถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพได้

โดยปกติแล้ว สีดวงตา ของแต่ละคนมักจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติของบุคคลนั้นๆ เป็นหลัก แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วสีของดวงตา ก็สามารถบอกถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพได้เช่นกัน เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ลองอ่านบทความนี้ของ Hello คุณหมอ แล้วมาสังเกตสีดวงตากันดีกว่า สีดวงตา แต่ละสี บอกความเสี่ยงอะไรต่อสุขภาพบ้าง หลายคนอาจเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” ความจริงแล้วดวงตายังสามารถเป็นหน้าต่างของสุขภาพได้อีกด้วย โดย สีดวงตา แต่ละสี สามารถบอกความเสี่ยงต่างๆ ได้ดังนี้ ดวงสีอ่อน โดยปกติแล้ว ทางการแพทย์ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ที่มีม่านตาสีอ่อน มีแนวโน้มว่าจะมีความไวต่อแสงมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจากดวงตาที่มีสีอ่อนมีเม็ดสีที่น้อยกว่าในการปกป้องพวกเขาจากรังสีอัลต้าไวโอเลตที่เป็นอันตราย นั่นหมายความว่านอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของการมากเห็นจากดวงอาทิตย์มากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนัง รวมไปถึงจอประสาทตาเสื่อมสภาพ ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้นการสวมแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวี จึงเป็นเรื่องที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดโอกาสความเสียหายของดวงตา แต่ในทางกลับกันการวิจัยก็ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนก็สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแพทย์พิตต์สเบิร์ก ได้ศึกษาหญิงตั้งครรภ์ 58 คน พบว่า ผู้ที่มีตาสีอ่อนมักมีอาการเจ็บปวดระหว่างคลอดน้อย ทั้งยังเกิดภาวะความวิตกกังวลต่ำ และมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม แต่ผู้ที่มีดวงตาสีฟ้าและผิวขาว มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นคนติดสุรา ดวงตาสีเข้ม การศึกษาที่มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีดวงตาสีเข้ม มักจะมีการตอบสนองที่ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเข้าร่วมในกิจกรรมกีฬาบางอย่างมากกว่าคนที่มีตาสีอ่อน ผู้ที่มีดวงตาสีเข้มอาจมีความอดทนต่อความเจ็บปวดน้อยกว่า ทั้งยังมีโอกาสเกิดภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้ที่มีดวงตาสีอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการคลอดบุตร ผู้ที่มีดวงตาสีเข้มอาจบ่งบอกได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังลดลง ทั้งยังมีแนวโน้มจะทำให้คนรู้สึกไว้วางใจได้มากกว่าคนอื่นๆ […]


โรคตา

ตาแพ้แสง อาการ และวิธีป้องกัน

ตาแพ้แสง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากดวงตามีความไวต่อแสงต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลในเรื่องของการมองเห็น นอกจากนั้นมันยังสามารถส่งผลไปยังสมอง จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้นำบทความเรื่องอาการตากลัวแสงมากฝากกัน ตาแพ้แสง คืออะไร ตาแพ้แสง (Photophobia) คือ อาการที่ตามีความไวต่อแสงมาก ๆ ไม่สามารถทนต่อแสงทุกประเภทได้ ไม่ว่าจะเป็น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงสว่างภายในอาคาร ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บปวดขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วแสงยังทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ หรืออาการอื่นๆ ที่เกิดจากแสงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่มีดวงตาสีอ่อนมักจะมีความไวต่อแสงมากกว่าคนที่มีดวงตาสีเข้ม ความจริงแล้วอาการปวดไมเกรนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการตากลัวแสง ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่จึงมีอาการตากลัวแสงประกอบด้วย อาการตาแพ้แสง โดยปกติแล้วอาการแพ้อาจเชื่อมโยงกับการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ในดวงตาที่ทำหน้าที่ตรวจจับแสงและเส้นประสาทไปที่ศีรษะ ไมเกรนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความไวแสงถึง 80% ซึ่งไมเกรนอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหาร ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว อาการไมเกรนยังอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย อาการตาแพ้แสงยังอาจส่งผลต่อสมองและต่อตาได้อีกด้วย อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อสมอง สมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองเกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือสาเหตุอื่น ๆ ความรุนแรงของโรคไข้สมองอักเสบ อาจคุกคามชีวิตได้ อาการไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง การติดเชื้อแบคทีเรียลักษณะนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น สมองถูกทำลาย สูญเสียการได้ยิน เกิดอาการชัก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid Hemorrhage) อาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เกิดขึ้นจากการมีเลือดออกระหว่างสมองและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของสมอง โรคหลอดเลือดสมอง […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ACHOO Syndrome : มองแสงแล้วจาม ทุกที เกิดจากอะไรกันแน่!

อาการจามถือเป็นเรื่องที่ปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน เพราะจมูกมีความระคายเคือง จึงส่งผลให้จาม แต่จะมีบางคนที่เมื่อ มองแสงแล้วจาม เจอแดดจ้าๆ แล้วจาม แถมจามต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง อาการนี้เรียกว่า ACHOO Syndrome หากใครกำลังสงสัยวันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาให้อ่านกันค่ะ เมื่อ มองแสงแล้วจาม เกิดขึ้นจากอะไร การจาม เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยขจัดสิ่งระคายเคืองออกจากจมูก ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่เป็นหวัดธรรมดาหรือเป็นภูมิแพ้ แต่บางคนก็จะจามเมื่อมองแสงจ้าๆ และสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ เมื่อมองแสงสะท้อนแล้วจามเป็นโรคที่เรารู้จักกันในชื่อ Autosomal dominant Compelling Helio-Ophthalmic Outburst (ACHOO) มันเป็นอาการที่เกิดจากการจามอย่างต่อเนื่องเมื่อเจอแสงจ้าๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากการจามปกติ ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการระคายเคือง ซึ่ง ACHOO syndrome จะส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณร้อยละ 11 ถึง 35 แต่ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด จากการศึกษาของปี 1995 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในวารสาร American Optometric Association กล่าวว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการมองแสงแล้วจาม จะเป็นผู้หญิงมากกว่าและชาวคอเคเชี่ยนมีโอกาสเป็นมากกว่า พันธุ์กรรมเกี่ยวข้องอย่างไรกับการ มองแสงแล้วจาม ACHOO Syndrome เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สืบทอดและส่งต่อกันมา แต่เนื่องจากการจามถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการจามเพราะการติดเชื้อหรือว่าภูมิแพ้ จึงอาจทำให้หลายๆ คนไม่ทันได้สังเกตว่า การจาม ของตัวเองมีสาเหตุมาจากอะไร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน