backup og meta

การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/04/2022

    การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

    ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) ส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวน อันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า การถูกตีตราทางสังคมจนทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางด้านจิตใจ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเรียนรู้วิธีการทำใจยอมรับเมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV

    ปฏิกิริยาของผู้ป่วย ติดเชื้อ HIV

    แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อเอชไอวี และเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อทราบข่าวจะมีปฏิกิริยาปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ เช่น ไม่ยอมรับความจริง โกรธคนที่ทำให้ติดเชื้อ (อาการแสดงออกมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลมีอาการตอบสนองแตกต่างกัน) ดังนั้นแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษา รวมถึงผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องเข้าใจโดยปฏิกิริยาเหล่านี้  คุณหมอเรียกว่า “ปฏิกิริยาของความโศกเศร้า” หรือ “Stage of grief” แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

    1. ระยะปฏิเสธ (Denial) เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่สามารถรับความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
    2. ระยะโกรธ (Anger) ความผิดหวังที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกโกรธ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้ติดเชื้อ รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษา
    3. ระยะต่อรอง (Bargaining) การร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อยากให้หายจากโรคนี้
    4. ระยะซึมเศร้า (Depression) ระยะนี้ผู้ติดเชื้อเริ่มยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่ง  ต้องคอยระวังอารมณ์เพราะอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า โดยอาการความเสียใจมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลด้วย
    5. ระยะยอมรับ (Acceptance) เมื่อผู้ติดเชื้อสามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จะมีการปรับความคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางบวกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่กับเชื้อเอชไอวีไปได้อย่างไม่มีความวิตกกังวล และมองถึงอนาคตได้มากขึ้น

    วิธีเยียวยาจิตใจ สำหรับคนที่ ติดเชื้อ HIV

    แพทย์เป็นคนแรกที่จะทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีคนแรก ดังนั้นในขั้นตอนแรกแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาจะต้องประเมินในเรื่องของพื้นฐานชีวิตผู้ป่วย เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ พื้นฐานครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย สถานที่จะต้องมีความเป็นส่วนตัว สงบ หลังจากที่ชี้แจงผู้ป่วยว่าติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อค รับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

    แพทย์จึงต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เอาใจเขามาใส่ใจ เช่น การให้กำลังใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี แนวทางในการรักษา พยายามทำให้ผู้ติดเชื้อมองภาพรวมในอนาคตว่าจริง ๆ แล้วเอชไอวี เป็นแค่การติดเชื้อ ไม่ใช่เป็นโรค หากผู้ป่วยเข้ากระบวนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่เข้าสู่ภาวะโรคเอดส์

    ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตประจำวัน อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติทั่วไป นอกจากนี้ยาที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย เปรียบเสมือนการทานยาวิตามิน หรือยารักษาโรคเบาหวาน ความดัน

    หากสมาชิกครอบครัว หรือบุคคลใกล้ตัวติดเชื้อเอชไอวี สิ่งสำคัญในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยในอันดับแรก คือ การให้กำลังใจ พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย ใช้คำพูดที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย อาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น รวมถึงสนับสนุนและดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อลดการแพร่เชื้อเอชไอวีและดูแลสุขภาพให้เขามีกำลังใจ และใช้ชีวิตต่อได้อย่างมีความสุข

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา