ทั้งนี้ ผู้หญิงซึ่งทำหมันแล้วบางราย อาจพบเลือดไหลจากช่องคลอด จึงจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัย จนกว่าเลือดจะหยุดไหล
อัตราสำเร็จของ การทำหมันหญิง
อัตราการทำหมันหญิงสำเร็จอยู่ที่ 99 เปอร์เซ็นต์ และการทำหมันมักเห็นผลทันที หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น
อย่างไรก็ตาม คุณหมอมักแนะนำให้คนไข้มีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันจนกว่าจะถึงรอบเดือนครั้งถัดไป เพราะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไปโดยไม่ป้องกันอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้
นอกจากนี้ ท่อนำไข่ของผู้หญิงบางคนอาจเชื่อมต่อกันเองได้หลังทำหมันแล้ว ทำให้กลับไปตั้งครรภ์ได้ตามปกติ โดยกรณีแบบนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก หรือคิดเป็นผู้หญิงจำนวน 1-7 คน ต่อจำนวนผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว 1,000 คน ตามข้อมูลของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ความเสี่ยงของการทำหมันหญิงต่อภาวะสุขภาพ
โดยทั่วไป การทำหมันหญิงจะดำเนินการโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ จึงมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนต่ำมาก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจพบได้จากการผ่าตัด มีดังนี้
- เกิดแผลบริเวณลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หรือเส้นเลือดใหญ่
- ผลข้างเคียงจากยาสลบ เช่น อาการแพ้อย่างรุนแรง
- โอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกที่สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการทำหมัน
- การปิดหรือผูกท่อรังไข่ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเสี่ยงให้ตั้งครรภ์ได้
- อาการเลือดไหลที่แผลผ่าตัด หรือเลือดไหลภายในช่องท้อง
- การติดเชื้อ
ทั้งนี้ ผู้หญิงซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อาจพบความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจากการทำหมันมากกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป
- เป็นโรคเบาหวาน
- เคยผ่าตัดบริเวณหน้าท้องมาก่อน
- มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ
- เป็นโรคเกี่ยวกับปอด
- น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย