backup og meta

8 สิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

8 สิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

สิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากมีเซ็กส์เสร็จแล้วไม่ทำความสะอาดร่างกายและบริเวณอวัยวะเพศ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อหรืออาจเกิดปัญหาสุภาพ เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

[embed-health-tool-ovulation]

8 สิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์

สำหรับสิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์อาจมีดังนี้

1. ทำความสะอาดร่างกาย

การล้างมือและทำความสะอาดร่างกายเป็นสิ่งที่ควรทำทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย ทั้งยังอาจมีช่วยล้างสารหล่อลื่นหรือ น้ำอสุจิ ที่อาจตกค้างอยู่บริเวณอวัยวะเพศ

นอกจากนี้ ผู้ชายควรทำความสะอาดอวัยวะเพศให้ดี โดยเฉพาะบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ส่วนผู้หญิงควรทำความบริเวณอวัยวะเพศภายนอกด้วยสะอาดด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายสมดุลค่ากรดด่าง และแบคทีเรียจำเป็นในช่องคลอด อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่มดลูกและอวัยะสืบพันธ์ุได้

2. เข้าห้องน้ำ

การปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์ อาจช่วยปกป้องการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ เพราะการปัสสาวะอาจช่วยกำจัดของเหลวที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด รวมถึงเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องรีบไปปัสสาวะทันทีหลังเสร็จภารกิจ แต่ควรรอจนกระทั่งปวดปัสสาวะ

3. อย่าใช้น้ำหอมหรือทาโลชั่นบริเวณอวัยวพเพศ

หลังการทำความสะอาดร่างกาย บางคนอาจอยากเพิ่มความสดชื่นด้วยการทาโลชั่นหรือใช้น้ำหอม แต่ไม่ควรทาโลชั่นที่มีกลิ่นหอมหรือใช้น้ำหอมบริเวณอวัยะเพศ เพราะอาจทำให้ผิวบริเวณอวัยวะเพศระคายเคือง และอาจเกิดการติดเชื้อ

4. บ้วนปาก

ควรบ้วนปากหลังจากทำออรัลเซ็กส์ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของแบคทีเรีย เช่น เชื้อโกโนเรีย (Gonorrhea) คลามีเดีย (Chlamydia) นอกจากนี้สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่ง คือ หากมีแผลในปากไม่ควรทำออรัลเซ็กส์ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อเอชไอวี

5. ทำความสะอาดเซ็กส์ทอย

หากมีการใช้สารหล่อลื่นหรือเซ็กซ์ทอยขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรทำความสะอาดเซ็กส์ทอยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคสะสมอยู่บนเซ็กซ์ทอย เพราะอาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้หากเอามาใช้ในครั้งต่อไป

6. เปลี่ยนกางเกงชั้นใน

ไม่ควรใส่กางเกงในตัวเดิม เพราะกางเกงชั้นในอาจเปื้อนเหงื่อไคล หรือของเหลวจากร่างกายของทั้งตัวเองและคู่รัก ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น ควรสวมกางเกงในตัวใหม่ทุกครั้งหลังจากมีเพศสัมพันธ์

7. เปลี่ยนผ้าปูที่นอน

ควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากผ้าปูที่นอนมักเปื้อนเหงื่อไคล น้ำหล่อลื่น ทั้งยังอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย

8. ดื่มน้ำเปล่า

การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ร่างกายเสียน้ำ ดังนั้น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์จึงควรดื่มน้ำ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หากสังเกตที่ผ้าปูที่นอนแล้วพบว่าเต็มไปด้วยเหงื่ออาจต้องดื่มน้ำทันที เนื่องจาก ภาวะขาดน้ำอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกจากนี้ การดื่มน้ำยังช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะ และเมื่อปัสสาวะก็อาจช่วยกำจัดแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ที่เป็นสาเหตุต้นเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Things You Should (and Shouldn’t) Do After Sex. https://www.webmd.com/sex-relationships/ss/slideshow-sexual-hygiene. Accessed October 21, 2018.

9 After-Sex Hygiene Habits You Should Never Skip. https://www.livestrong.com/slideshow/13707981-9-after-sex-hygiene-habits-you-should-never-skip/?slide=6 Accessed October 21, 2018.

Vagina: What’s normal, what’s not. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/vagina/art-20046562  Accessed October 21, 2018.

Keeping your vagina clean and healthy. https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/keeping-your-vagina-clean-and-healthy/ Accessed October 21, 2018.

Beisel B, et al. (2002). Does postcoital voiding prevent urinary tract infections in young women?
researchgate.net/publication/10987138_Clinical_inquiries_Does_postcoital_voiding_prevent_urinary_tract_infections_in_young_women. Accessed March 9, 2022

UNPROTECTED SEX. https://www.familyplanning.org.nz/advice/contraception/unprotected-sex. Accessed March 9, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2023

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ

7 สิ่งที่ควรรู้ เพื่อช่วยให้มี เซ็กส์ดี และปลอดภัย


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 24/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา