backup og meta

ตกขาวก่อนประจําเดือน เกิดจากอะไร และอาการแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ตกขาวก่อนประจําเดือน เกิดจากอะไร และอาการแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ตกขาวก่อนประจําเดือน อาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น เพราะตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอดซึ่งเป็นระบวนการทำความสะอาดของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจริงๆแล้วตกขาวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งเดือนไม่ใช่เฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกภายในช่องคลอดและป้องกันช่องคลอดแห้ง แต่อาจจะทำให้มีปริมาณมากเมื่อประจำเดือนใกล้มาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม หากตกขาวสีขาวใสเปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลือง น้ำตาล หรือปนเลือด หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นมีอาการคันหรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

[embed-health-tool-ovulation]

ตกขาวก่อนประจําเดือน เกิดจากอะไร

ตกขาวก่อนประจําเดือน อาจเกิดจากการระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงตกไข่ ที่อาจทำให้มีตกขาวไหลอกจากช่องคลอด ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำใส แต่ถ้าตกขาวมีลักษณะหนาและเหนียว อาจเป็นสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกได้ว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมา อย่างไรก็ตาม ตกขาวอาจไหลออกมาหากช่องคลอดแห้งและมีสิ่งสกปรกสะสม เพราะตกขาวจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกออกและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการประจำเดือนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องเกร็ง เจ็บนม อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายและอยากอาหารมากขึ้น

อาการตกขาวก่อนประจําเดือนแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

อาการตกขาวก่อนเป็นประจำเดือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ อาจสังเกตได้ดังนี้

  • ตกขาวเปลี่ยนสี เช่น ตกขาวสีเขียว เหลือง เทา ฟ้า ชมพู น้ำตาล ดำ และอาจปนเลือด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา ปรสิต จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเชื้อเจริญเติบโตมากเกินไป รวมถึงแพ้สบู่ ผงซักฟอก และอุปกรณ์คุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอดติดค้างในช่องคลอด
  • ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนหนาหรือเป็นฟอง
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • มีอาการคันช่องคลอด หรือบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ช่องคลอด
  • ผื่นขึ้นบริเวณรอบช่องคลอด
  • ช่องคลอดบวมแดง
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือปวดบริเวณท้องน้อย

การดูแลช่องคลอดในช่วงที่มีตกขาวก่อนประจำเดือนมา

การดูแลช่องคลอดในช่วงที่เป็นตกขาวก่อนประจำเดือนมา อาจทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนประกอบของน้ำหอม และการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำที่มีฟองสบู่ เนื่องจากอาจทำให้ช่องคลอดระคายเคือง ก่อให้เกิดอาการแพ้และตกขาวไหลออกจากช่องคลอดมาก
  • เปลี่ยนผงซักฟอกซักผ้าหรือทำความสะอาดล้างผงซักฟอกให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้าง ป้องกันอาการแพ้ที่นำไปสู่ตกขาว
  • เลือกกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย และหลีกเลี่ยงการสวมกางเกงที่รัดรูปจนเกินไป เพื่อให้ระบายอากาศและความชื้นได้ดี เพราะจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ส่งผลให้ช่องคลอดติดเชื้อและมีตกขาวปริมาณมากไหลออกมา
  • ไม่ควรสวนล้างภายในช่องคลอด เพราะอาจทำให้แบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุล โดยควรล้างอวัยวะเพศหรือผิวหนังรอบช่องคลอดด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนและน้ำอุ่น จากนั้นซับน้ำด้วยกระดาษชำระซับให้แห้งสนิทและเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนัก
  • จำกัดคู่นอนหรือสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องคลอดนำไปสู่การเกิดตกขาวมาก
  • เปลี่ยนห่วงคุมกำเนิดตามที่คุณหมอกำหนด เปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดบ่อยครั้งเมื่อประจำเดือนมามากและถอดถุงยางอนามัยผู้หญิงออกทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จอีกทั้งควรศึกษาวิธีการใส่ให้ถูกต้อง
  • ควรตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพภายใน เพื่อช่วยคัดกรองโรคและรักษาอย่างรวดเร็ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaginal Discharge: What’s Abnormal?. https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-discharge-whats-abnormal.Accessed January 25, 2023 

Vaginal discharge. https://www.nhs.uk/conditions/vaginal-discharge/.Accessed January 25, 2023 

Vaginal discharge. https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/causes/sym-20050825.Accessed January 25, 2023 

Vaginal itching and discharge – adult and adolescent. https://medlineplus.gov/ency/article/003158.htm.Accessed January 25, 2023 

Vaginal discharge. https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/when-to-see-doctor/sym-20050825.Accessed January 25, 2023 

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตกขาวในคนท้อง เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

รู้ไว้! หูดหงอนไก่ ตกขาว ควรสังเกตอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา