backup og meta

ท้องอืดก่อนเป็นเมน รับมือได้อย่างไร

ท้องอืดก่อนเป็นเมน รับมือได้อย่างไร

ท้องอืดก่อนเป็นเมน เป็นหนึ่งในอาการที่ผู้หญิงหลายคนอาจต้องเผชิญ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และไม่สบายตัว รวมถึงยังอาจทำให้รู้สึกไม่มีความมั่นในตัวเอง ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือกับอาการ ท้องอืดก่อนเป็นเมน เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้รู้สึกสบายตัวมากยิ่งขึ้น

[embed-health-tool-ovulation]

วิธีรับมือกับอาการ ท้องอืดก่อนเป็นเมน

อาการท้องอืดก่อนเป็นเมน อาจรับมือได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ

ช่วงมีประจำเดือน ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอกับที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไปคือ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมน้ำ ที่นำไปสู่อาการท้องอืดตอนมีประจำเดือนได้

ขับปัสสาวะลดอาการ ท้องอืดตอนมีประจำเดือน

ยาขับปัสสาวะหรืออาหารที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะจะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำปัสสาวะได้มากขึ้น ร่างกายจึงสามารถกำจัดของเหลวส่วนเกินออกไปได้ ไม่เกิดอาการบวมน้ำ และอาการท้องอืด แต่หากสาวๆ คนไหนไม่กล้ากินยาขับปัสสาวะ เพราะกลัวเกิดผลข้างเคียง เช่น หน้ามืด อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ อาจลองกินพืชผักผลไม้ที่มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เช่น แอสพารากัส สัปปะรด แตงกวา ขิง กระเทียม ก็ได้

ลดโซเดียม อาหารรสเค็ม

โซเดียม คือเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถพบได้ในอาหาร และเครื่องปรุงต่างๆ มากมาย เช่น ในเกลือ น้ำปลา อาหารกระป๋อง ขนมขบเคี้ยว ทำหน้าที่ควบคุมช่วยของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ หากบริโภคโซเดียมมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ และมีอาการท้องอืด สาวๆ คนไหนที่ไม่อยากท้องอืดช่วงมีประจำเดือนจึงควรลดโซเดียมและอาหารเค็ม ยิ่งถ้าลองทำอาหารกินเองโดยใช้พืชผัก ผลไม้สดๆ ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ลดหรืองดคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี

สาวๆ ที่ไม่อยากท้องอืดช่วงมีประจำเดือนควรหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น แป้งขัดขาว ข้าวขาว น้ำตาล ขนมปังขาว เพราะการกินคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายหลั่งอินซูลินมากขึ้น ส่งผลให้ไตขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ลดลง จนเกิดอาการบวมน้ำ และท้องอืด

เพิ่มโพแทสเซียม

ผลการวิจัยพบว่า โพแทสเซียมช่วยลดระดับโซเดียมในร่างกาย และช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำปัสสาวะได้มากขึ้น การกินอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เช่น มันหวาน กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า อะโวคาโด มะเขือเทศ ผักใบเขียว จึงอาจช่วยลดระดับของเหลวในร่างกาย และอาการท้องอืดตอนมีประจำเดือนได้

ออกกำลังกายเป็นประจำ

สาวๆ หลาวคนอาจคิดว่า ไม่ควรออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือน แต่ความจริงแล้วการออกกำลังกายเป็นประจำ  รวมไปถึงออกกำลังกายช่วงวันนั้นของเดือนมีประโยชน์กับร่างกายหลายด้าน ทั้งช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) บรรเทาอาการปวดประจำเดือน รวมถึงช่วยลดอาการท้องอืดได้ด้วย

งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม กาแฟ ทำให้ท้องอืด แน่นท้อง ฉะนั้นหากไม่อยากมีปัญหาท้องอืดในช่วงวันนั้นของเดือน สาวๆ ก็ควรงดเครื่องดื่มเหล่านี้ซะ หากใครไม่สามารถงดคาเฟอีนได้ หรือต้องดื่มกาแฟทุกวัน อาจหันมาดื่มชาที่มีคาเฟอีนน้อยกว่า หรือทางที่ดีลองเปลี่ยนกาแฟแบบไม่มีคาเฟอีนดูก็ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Water retention: Relieve this premenstrual symptom. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/water-retention/art-20044983. Accessed September 27, 2022.

Understanding and managing chronic abdominal bloating and distension. https://www.mayoclinic.org/medical-professionals/digestive-diseases/news/understanding-and-managing-chronic-abdominal-bloating-and-distension/mac-20511032. Accessed September 27, 2022.

Premenstrual syndrome (PMS). https://www.womenshealth.gov/menstrual-cycle/premenstrual-syndrome. Accessed September 27, 2022.

Gas, Bloating, and Belching: Approach to Evaluation and Management. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2019/0301/p301.html. Accessed September 27, 2022.

PMS (premenstrual syndrome). https://www.nhs.uk/conditions/pre-menstrual-syndrome/. Accessed September 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

อาหารที่ทำให้ท้องอืด และเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหารโดยไม่รู้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 28/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา