backup og meta

8 อาหารต้านข้ออักเสบ ที่อาจช่วยคุณป้องกันโรคนี้ได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    8 อาหารต้านข้ออักเสบ ที่อาจช่วยคุณป้องกันโรคนี้ได้

    คุณเคยต้องต่อสู้กับข้ออักเสบ (arthritis) หรือไม่ คุณทราบหรือไม่ว่า คุณสามารถต่อสู้ข้ออักเสบได้ โดยการเลือกอาหารที่เหมาะสม อาหารไม่เพียงแต่รสชาติดีเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยต้านการอักเสบ ทำให้กระดูกแข็งแรง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย เราจะอธิบายว่าข้ออักเสบคืออะไร และ อาหารต้านข้ออักเสบ ได้อย่างไร

    ข้ออักเสบคืออะไร

    ข้ออักเสบหมายความว่า มีการอักเสบเกิดขึ้นในข้อต่อหนึ่งข้อหรือมากกว่า การอักเสบจัดเป็นส่วนของกระบวนการหนึ่งในการเยียวยาตัวของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งปกป้องไวรัสและแบคทีเรีย หรือเป็นปฏิกิริยาต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดการอักเสบขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และส่งผลระบบภูมิคุ้มกันของข้อต่อ แทนการช่วยซ่อมแซมร่างกาย ร่างกายจึงได้รับผลกระทบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อได้

    อาหารต้านข้ออักเสบ

    ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า อาหารสามารถรักษาข้ออักเสบได้ แต่การเพิ่มอาหารเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สามารถต้านการอักเสบและป้องกันข้ออักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ปลา

    การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจจำกัดการอักเสบในร่างกาย และลดอาการต่างๆ ของข้ออักเสบได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมากพบในปลาบางประเภท เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู และปลาแฮร์ริ่ง แนะนำให้กินอาหารจำพวกปลาอย่างน้อย 85 กรัม สองครั้งต่อสัปดาห์

    ถั่วเหลือง

    หากคุณไม่สามารถทนกับกลิ่นคาวปลาได้ ทำไมไม่ลองถั่วเหลืองล่ะ? ถั่วเหลืองมีประโยชน์ในการต้านการอักเสบ เช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ถั่วเหลืองยังมีประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ อีกทั้งมีไขมันต่ำแต่มีโปรตีนและใยอาหารสูง

    น้ำมันมะกอก

    เชื่อกันว่าน้ำมันมะกอกในอาหารช่วยลดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อ ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คุณสมบัติในการต้านอักเสบของน้ำมันมะกอกมาจากกรดโอเลอิก (oleic acid) ซึ่งเป็นกรดประเภทเดียวกับที่พบในยาสเตียรอยด์ต้านการอักเสบ น้ำมันมะกอกยังประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น สารโพลีฟีนอลและกรดไขมันโอเมก้า 3

    นอกเหนือจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษแล้ว ยังแนะนำให้รับประทานอะโวคาโดและน้ำมันดอกคำฝอยอีกด้วย

    บร็อคโคลี่

    บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ และผักตระกูลกะหล่ำ (cruciferous vegetables) อื่นๆ สามารถป้องการการเกิดข้ออักเสบได้ บร็อคโคลี่ประกอบด้วยวิตามินเคและวิตามินซีเป็นจำนวนมาก และประกอบด้วยสารประกอบชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าสารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ที่ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดข้อเสื่อม (osteoarthritis) ได้ บร็อคโคลี่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งเป็นที่ทราบว่าสามารถช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้

    ชาเขียว

    ชาเขียวอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) และสารต้านอนุมูลอิสระ สารเคมีเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับการลดการอักเสบและชะลอการเสื่อมของกระดูกอ่อน (cartilage deterioration) ได้ สารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในชาเขียวเรียกว่าสาร Epigallocatechin-3-gallate ซึ่งเชื่อว่า มีประโยชน์สำหรับหยุดยั้งการสร้างโมเลกุลต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายที่ข้อต่อ ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อีกด้วย

    ถั่วฝัก

    ถั่วฝัก (Bean)ให้เส้นใยอาหารแก่ร่างกาย และเป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาไม่แพง ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อ ถั่วหลายชนิดประกอบด้วยกรดโฟลิก แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และโพแทสเซียมในปริมาณมาก สารอาหารเหล่านี้เป็นที่ทราบว่ามีประโยชน์ต่อหัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน คุณสามารถลองรับประทานถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวงได้

    ผลไม้ตระกูลส้ม

    ผลไม้ตะกูลส้ม เช่น ส้ม เกรปฟรุต และมะนาวเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซี การได้รับวิตามินที่เพียงพอสามารถป้องกันข้ออักเสบ และรักษาความแข็งแรงของข้อต่อที่มีอาการข้อเสื่อมได้ คุณสามารถเสริมวิตามินซีได้โดยการรับประทานพริกไทย ส้ม มะม่วง สตรอเบอร์รี่ และสับปะรด

    กระเทียม

    มีข่าวดีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานกระเทียม กระเทียมและอาหารชนิดอื่นในตระกูลหัวหอม เช่น หัวหอมและต้นหอม อาจลดสัญญาณต่างๆ ของข้อเสื่อมในระยะเริ่มแรกได้ สารประกอบชนิดหนึ่งที่เรียกว่าสาร diallyl disulphine ที่พบในกระเทียมอาจจำกัดเอนไซม์ที่ทำลายกระดูกอ่อนในเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้

    คุณสามารถป้องกันอาการต่างๆ ของข้ออักเสบได้โดยการเพิ่มอาหาร 8 ชนิดเหล่านี้ในอาหารประจำวันของคุณ ให้ลองประกอบอาหารบางชนิดโดยเปลี่ยนแปลงรสชาติ แล้วสุขภาพที่ดีกว่าก็อยู่ภายในครัวของคุณนั่นเอง กินให้อร่อยนะ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา