- การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy) เพื่อรักษามะเร็ง
- ติดเชื้อแบคทีเรีย จำพวกคลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหนองในเทียมแล้ว ก็ยังมีส่วนทำให้เกิดอาการ น้ำอสุจิมีเลือดปนออกมา ด้วย
- อัณฑะอักเสบ
- การใช้รังสีรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- เริมที่อวัยวะเพศ
- โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
- ภาวะปวดอัณฑะแบบเฉียบพลัน (Orchitis)
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคต่อมลูกหมากอักเสบ
- การทำหมัน
- การที่ไม่มีเพศสัมพันธ์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
หรืออาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นไปได้น้อย แต่ก็มีผลให้เกิดปัญหา น้ำอสุจิมีเลือดปนออกมาด้วย เช่น
- มะเร็งอัณฑะ
- มีสารแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ มากจนเกินไป
- โรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis)
- วัณโรค
- ผลข้างเคียงจากยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
อสุจิเป็นเลือด อันตรายหรือไม่
อสุจิเป็นเลือดอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อัณฑะอักเสบ การอักเสบ หรือการติดเชื้อต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ความอันตรายขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เลือดไหลปนออกมากับอสุจิ
หากเกิดจากการรักษาโรค การผ่าตัด หรืออาจเกิดขึ้นจากความบาดเจ็บที่อวัยวะเพศชายหรือบริเวณอัณฑะ หากเกิดจากสาเหตุเหล่านี้เพียงไม่นานก็หายเป็นปกติ แต่หากเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ หรือเลือดยังคงปนออกมากับน้ำอสุจิอย่างต่อเนื่อง ก็อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่จำเป็นจะต้องพบคุณหมอ
เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ
คุณหมออาจรักษาอาการอสุจิเป็นเลือดจากสาเหตุที่ทำให้น้ำอสุจิมีเลือดปนออกมา โดยคุณหมออาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ หรืออาจมีการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความดันโลหิตสูง เมื่อต้นตอของปัญหาถูกรักษาแล้ว อาการอสุจิเป็นเลือดก็จะหายไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม
- หากผู้ชายมีอายุที่น้อยกว่า 40 ปี อาการอสุจิเป็นเลือดอาจมีโอกาสที่จะหายไปเองได้โดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ถ้าหากผ่านไปหลายวันแล้วยังคงมีเลือดออกมาอยู่ ควรหาเวลาไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุ
- หากผู้ชายมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และมีเลือดไหลปนออกมาในน้ำอสุจิ นับว่าเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพบ มะเร็งต่อมลูกหมาก หากคุณผู้ชายท่านใดอยู่ในช่วงวัยนี้และมีเลือดปนออกมากับน้ำอสุจิ ควรที่จะไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย