อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ ฉีดวัคซีนตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ลดความเครียด
การมีเซ็กส์อาจทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) และออกซิโตซิน (Oxytocin) ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยลดความเครียด และทำให้นอนหลับสนิทเนื่องจากรู้สึกผ่อนคลาย
4. บำรุงสุขภาพหัวใจ
ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูง ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ การมีเซ็กส์จึงอาจช่วยรักษาความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ลดความดันโลหิต และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
5. เผาผลาญแคลอรี่
เซ็กส์เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่ง ที่มีการเคลื่อนไหวและใช้พลังงานมาก จึงอาจช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้ การมีเพศสัมพันธ์อย่างเร่าร้อนอาจทำให้เผาผลาญมากถึง 300 แคลอรี่
6. บรรเทาอาการปวด
เซ็กส์อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยลดความเครียด และอาจช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน รวมถึงปวดขา และปวดข้อ
7. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
เนื่องจากมะเร็งเกิดจากเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ การมีเซ็กส์ทุกวันอาจทำให้ผู้ชายหลั่งอสุจิเป็นประจำ นำไปสู่การลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ การช่วยตัวเองก็สามารถลดช่วยความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบผลลัพธ์ในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่แน่ชัด
วิธีการมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย
การมีเซ็กส์อาจทำให้มีโอกาสสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น อสุจิ เลือด น้ำลาย และสารหล่อลื่นในช่องคลอด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่น โรคเริม หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส (Syphilis) โรคเอดส์ เพื่อความปลอดภัยจึงควรศึกษาวิธีการมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือการมีเซ็กส์หลายคน เพราะการเปลี่ยนคู่นอนอาจเพิ่มโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ใช้ถุงนางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรเลือกถุงยางอนามัยที่ทำจากลาเท็กซ์หรือโพลียูรีเทน (Polyurethane) แทนน้ำยางจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้น้ำยางจากธรรมชาติ ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองอวัยวะเพศ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เนื่องจากอาจทำให้ควบคุมร่างกายได้ยาก และไม่มีสติจนหลงลืมการป้องกัน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสที่อาจนำไปสู่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น วัคซีป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเอชพีวี (HPV)
- เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย