backup og meta

รู้ไหม? แตกในปาก ก็อาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพได้

รู้ไหม? แตกในปาก ก็อาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพได้

แตกในปาก หรือการหลั่งน้ำอสุจิในปากของคู่นอนเมื่อถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) ซึ่งมักเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ หนองใน และเริม นอกจากนี้ การกลืนน้ำอสุจิหลังแตกในปาก อาจเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อและอาจนำไปสู่อาการแพ้น้ำอสุจิด้วย ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควรเลือกมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงเลือกมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว หรือคู่นอนที่ผ่านการตรวจโรคมาแล้วเท่านั้น

[embed-health-tool-bmi]

แตกในปากมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร

แตกในปาก หรือการหลั่งน้ำอสุจิในปากคู่นอน อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะเชื้อโรคมักแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อสู่คู่นอนผ่านสารคัดหลั่งอย่างเลือด น้ำอสุจิ รวมถึงน้ำหล่อลื่น โดยเฉพาะหากคู่นอนมีแผลในปาก ก็อาจทำให้ติดโรคต่าง ๆ ได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคอื่น ๆ ที่อาจติดต่อกันได้จากการแตกในปาก มีดังนี้

  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ การติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ อาจติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โดยปกติ ถือว่าโอกาสในการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ แต่ฝ่ายที่ใช้ปากมักมีความเสี่ยงสูงกว่าโดยเฉพาะหากมีแผลบริเวณปากหรือในปาก
  • โรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria Gonorrhoeae) หากเกิดการติดเชื้อในเพศชาย จะรู้สึกแสบขณะปัสสาวะและมักมีหนองไหลออกจากองคชาต หากติดเชื้อบริเวณปาก ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนในลำคอ รวมทั้งอาจมีจุดขาวภายในปากด้วย
  • โรคหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) และมีอาการคล้ายโรคหนองในเมื่อติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม หากติดเชื้อในลำคอ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือการแตกในปาก ผู้ป่วยจะมีแผลพุพองบริเวณปากหรือริมฝีปาก และรู้สึกเจ็บในปากหรือลำคอร่วมด้วย
  • เริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) ซึ่งติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ เช่น การจูบ การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทางทวารหนัก โดยทั่วไป เมื่อติดเชื้อเอชเอสวี ผู้ป่วยจะมีตุ่มใสขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหรือปาก และรู้สึกแสบร้อนร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม เริมอาจหายเองแต่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
  • แพ้น้ำอสุจิ นอกจากแตกในปากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของการแพ้น้ำอสุจิซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยาต่อโปรตีนในน้ำอสุจิ โดยหลังกลืนน้ำอสุจิไปแล้ว 20-30 นาที อาจมีอาการคันตามลำตัว ผื่นลมพิษขึ้น หายใจไม่ออก ผิวบวมแดง อย่างไรก็ตาม การแพ้น้ำอสุจิพบได้ไม่บ่อย แต่หากมีอาการควรไปพบคุณหมอ

แตกในปาก อย่างไรให้ปลอดภัย

หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและแตกในปากอย่างปลอดภัย ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • มีเพศสัมพันธ์โดยสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหากมีแผลบริเวณปากหรือในช่องปาก
  • เลือกมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว หรือผู้ที่ผ่านการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว
  • เลือกบ้วนน้ำอสุจิทิ้ง แทนการกลืนลงคอหลังแตกในปาก
  • หากมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าอาจกำลังติดเชื้อดังกล่าว ให้รับประทานยาเพ็พ (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can HIV be transmitted through oral sex (fellatio and cunnilingus)?. https://www.nhs.uk/common-health-questions/sexual-health/can-hiv-be-transmitted-through-oral-sex-fellatio-and-cunnilingus/. Accessed August 11, 2022

What infections can I catch through oral sex?. https://www.nhs.uk/common-health-questions/sexual-health/what-infections-can-i-catch-through-oral-sex/. Accessed August 11, 2022

STD Risk and Oral Sex – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/healthcomm/stdfact-stdriskandoralsex.htm#:~:text=the%20opposite%20sex.-,Can%20STDs%20Spread%20During%20Oral%20Sex%3F,throat%2C%20genitals%2C%20or%20rectum. Accessed August 11, 2022

Is it okay to swallow semen?. https://www.plannedparenthood.org/learn/ask-experts/is-it-okay-to-swallow-semen#:~:text=There’s%20nothing%20unhealthy%2C%20wrong%2C%20or,connected%20to%20your%20reproductive%20organs. Accessed August 11, 2022

PrEP กับ PEP คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนใช้. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/prep-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-pep-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83/. Accessed August 11, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2024

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การร่วมเพศ วิธีทำให้คู่รักที่พาไปถึงจุดสุดยอด อย่างปลอดภัย

Orgasm จุดสุดยอด เป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/07/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา