backup og meta

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อโปรตัวซัวซึ่งเป็นปรสิตขนาดเล็ก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตกขาวเยอะกว่าผิดปกติ  ช่องคลอดมีกลิ่น รู้สึกคันที่อวัยวะเพศ และรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

[embed-health-tool-ovulation]

คำจำกัดความ

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)  คืออะไร

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวซึ่งเป็นปรสิตขนาดเล็ก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตกขาวเยอะกว่าผิดปกติ ช่องคลอดมีกลิ่น รู้สึกคันที่อวัยวะเพศ และรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม โรคพยาธิในช่องคลอด มักพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะคลอดลูกก่อนกำหนด

โรคพยาธิในช่องคลอด พบได้บ่อยเพียงใด

โรคพยาธิในช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการ

อาการของ โรคพยาธิในช่องคลอด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็น โรคพยาธิในช่องคลอด จะมีอาการดังต่อไปนี้

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคพยาธิในช่องคลอด

สาเหตุของ โรคพยาธิในช่องคลอด เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวซึ่งเป็นปรสิตขนาดเล็ก แพร่เชื้อติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ (ไม่ทราบระยะฟักตัวระหว่างการติดเชื้อ แต่คาดว่าเชื้อจะฟักตัวตั้งแต่ 4-28 วัน) โดยส่วนใหญ่ มักพบในเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 14-49 ปี ติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูกหรือท่อปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของพยาธิในช่องคลอด

  • มีคู่นอนหลายคน
  • มีประวัติติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคพยาธิในช่องคลอด

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย อาจนำปัสสาวะไปตรวจ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจหาปรสิต รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อตรวจหาเชื้อที่ติดจากโรคทางเพศสัมพันธ์

การรักษาพยาธิในช่องคลอด

สำหรับวิธีการรักษา โรคพยาธิในช่องคลอด ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ การกลืนเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) หรือทินิดาโซล (Tinidazole) 1 เมกะโดส (Megadose) ในบางกรณี แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณลดขนาดยาเมโทรนิดาโซลเป็น 2 ครั้งต่อวัน และกินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 วัน

คุณและคู่ของคุณควรเข้ากับการรักษาพร้อม ๆ กัน รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการติดเชื้อจะหายขาด ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากกินยาเมโทรนิดาโซล หรืองดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากกินยาทินิดาโซล เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง หลังจากนั้น ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน แพทย์ของคุณอาจจะขอทำการตรวจวินิจฉัยอาการโรคพยาธิในช่องคลอดอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ติดเชื้อซ้ำอีก โรคพยาธิในช่องคลอดที่ไม่ได้รับการรักษา อาการอาจจะอยู่ได้นานหลายเดือนถึงหลายปี

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาพยาธิในช่องคลอด

  • สมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
  • สอบถามประวัติทางเพศกับผู้ที่เรามีเพศสัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมา จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Trichomoniasis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichomoniasis/symptoms-causes/syc-20378609. Accessed July 30, 2020

Your Sex Life and Psoriasis. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/psoriasis/psoriasis-sex-tips. Accessed July 30, 2020

Psoriasis and sexual dysfunction: links, risks, and management challenges. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6292237/. Accessed July 30, 2020

What to know about psoriasis and intimacy. https://www.medicalnewstoday.com/articles/psoriasis-and-intimacy. Accessed July 30, 2020

Trichomoniasis (Trich) . https://www.webmd.com/sexual-conditions/guide/trichomoniasis#1. Accessed July 30, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/01/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

STD (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ไม่ต้องมีเซ็กส์ก็เสี่ยงติดได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง และวิธีป้องกันโรค


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา