โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งองคชาต มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก ยาบางประเภท เช่น อัลโลพูรินอล (Allopurinol) อะทีโนลอล (Atenolol) ไฮดราลาซีน (Hydralazine) โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง หรือโรคพุ่มพวง (SLE) การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไข่ดัน
สำหรับการวินิจฉัยผู้เป็นไข่ดัน คุณหมอจะซักถามเกี่ยวกับอาการป่วยและตรวจร่างกาย โดยคุณหมอจะตรวจสอบบริเวณขาหนีบและต่อมน้ำเหลืองเพื่อดูขนาด อาการกดเจ็บ หรือผิวสัมผัส
ในบางกรณี คุณหมออาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น
- ตรวจเลือด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการป่วย อาจรวมถึงการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ตรวจเอกซเรย์ ซีทีสแกน หรืออัลตร้าซาวด์ เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ รวมถึงหาเนื้องอก
- ตรวจชิ้นเนื้อ หากคุณหมอสงสัยว่าอาการต่อมน้ำเหลืองบวมเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง คุณหมออาจนำชิ้นเนื้อบางส่วนของต่อมน้ำเหลืองที่บวมไปตรวจ
การรักษาไข่ดัน
ในการรักษาต่อมน้ำเหลืองที่บวมบริเวณขาหนีบ คุณหมอจะรักษาตามสาเหตุของการป่วย ดังนี้
- หากเป็นการติดเชื้อบริเวณเท้า ขาหนีบ และอวัยวะเพศ คุณหมอจะจ่ายยาต้านไวรัสหรือยาปฏิชีวนะให้
- หากเป็นเพราะยา เช่น อัลโลพูรินอล (Allopurinol) อะทีโนลอล (Atenolol) ไฮดราลาซีน (Hydralazine) คุณหมอจะปรับปริมาณของยาดังกล่าวหรือเปลี่ยนยาให้
- หากเป็นมะเร็ง คุณหมอจะรักษาด้วยการผ่าตัด ฉายรังสี หรือการบำบัดด้วยรังสี
- หากเป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง คุณหมอจะรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันเพื่อปรับระบบภูมิคุ้มกัน
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือโรคไข่ดัน
ผู้ป่วยไข่ดันสามารถดูแลตัวเองได้ ดังนี้
- อาจบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยการประคบร้อน โดยใช้ผ้าชุบน้ำร้อนบิดหมาดประคบบริเวณขาหนีบ
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบรูโพเฟน พาราเซตามอล
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หากมีเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย