backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ไข้ทับระดู อาการ และวิธีดูแลตัวเอง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

ไข้ทับระดู อาการ และวิธีดูแลตัวเอง

ไข้ทับระดู อาการ ที่เกิดขึ้นช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือในระหว่างเป็นประจำเดือน และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลตัวเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้ทับระดูและช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามปกติ

ไข้ทับระดู คืออะไร

ไข้ทับระดู คือ การเจ็บป่วยในช่วงก่อนหรือระหว่างเป็นประจำเดือน ที่ส่งผลให้มีไข้หรือความรู้สึกไม่สบายตัว โดยอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายอ่อนแอลงส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง นำไปสู่การเจ็บป่วย มีไข้ และอาจมีอาการดีขึ้นในช่วงประจำเดือนใกล้หมด 

นอกจากนี้ ไข้ทับระดูยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลและมีอาการป่วยในระหว่างที่เป็นประจำเดือนได้เช่นเดียวกัน

อาการ ไข้ทับระดู

อาการของไข้ทับระดูอาจแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกตามประเภท ได้ดังนี้

  • ไข้ทับระดูทั่วไป จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ที่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นด้วยการรับประทานยาลดไข้และยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium) พาราเซตามอล (Paracetamol)
  • ไข้ทับระดูแฝง จะทำให้เกิดอาการรุนแรง ที่ส่งผลให้มีไข้สูง หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ มีตกขาวผิดปกติ ปวดหลัง ประจำเดือนมามาก ช่องคลอดมีกลิ่นและปวดท้องน้อยรุนแรง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง ที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว โดยคุณหมออาจให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น ทินิดาโซล (Tinidazole) เมโทรไนดาโซล (Metronidazole) ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline)

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นไข้ทับระดู

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นไข้ทับระดู

  • รับประทานยาตามอาการที่เป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เพื่อช่วยบรรเทาการปวดและลดไข้
  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องน้อยในระหว่างเป็นประจำเดือน สามารถประคบร้อนได้ด้วยการใช้ถุงน้ำร้อน หรือนำน้ำอุ่นในขวดน้ำและแนบไว้บริเวณท้องน้อย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
  • นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากอาการไข้ในระหว่างที่เป็นประจำเดือน ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนและปวดศีรษะได้
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี ธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เพื่อช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และบรรเทาอาการไข้ทับระดู
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพการทำงานช่วยต้านเชื้อและฟื้นฟูร่างกายลดลง โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นไข้ทับระดูซึ่งมีอาการอ่อนแออยู่เป็นทุนเดิม 
  • ดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศหรือรอบนอกช่องคลอด เช่น การทำความสะอาดอวัยวะเพศให้ถูกวิธีและให้กระดาษทิชชูซับน้ำให้แห้งสนิทจากด้านหน้าไปด้านหลัง การเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ไม่ต่ำกว่า 2 แผ่น/วันหากประจำเดือนมามาก 
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่เป็นประจำเดือน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อสูง และเกิดไข้ทับระดูได้
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหากเป็นไข้ทับระดูในระดับรุนแรง เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา