backup og meta

Pearly Penile Papule คือ อะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

Pearly Penile Papule คืออะไรอาการของ Pearly Penile Papule สาเหตุของ Pearly Penile Papule การรับมือ Pearly Penile Papule 

Pearly Penile Papule คืออะไร

Pearly Penile Papule คือ ผื่นเล็ก ๆ ที่ขึ้นบริเวณรอบหัวอวัยวะเพศชาย คล้ายกับเม็ดสิว แต่ไม่มีหัวเป็นหนอง โดยส่วนใหญ่อาการผื่นนูนพีพีพีจะพบมากในเพศชายช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยเฉพาะในเพศชายที่ไม่ผ่านการขลิบอวัยวะเพศ

โดยส่วนใหญ่ อาการของผื่นนูนพีพีพีจะพบได้บ่อยในเพศชายช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ช่วงอายุกลางคน โดยเฉพาะในเพศชายที่ไม่ผ่านการขลิบอวัยวะเพศ

อาการของ Pearly Penile Papule 

ผื่นนูนพีพีพี อาจไม่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกาย แต่หากผื่นนูนพีพีพีมีการขยายตัว ผื่นนั้นก็จะไม่มีการลามไปบนผิวส่วนอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนรูปทรงและขนาด อีกทั้งผื่นนูนพีพีพีไม่ใช่กลุ่มอาการที่แพร่กระจายหรือติดต่อกันได้ รวมไปถึงไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดทางร่างกายอีกด้วย

ลักษณะของผื่นพีพีพีโดยทั่วไป มีดังนี้

  •  มีลักษณะเรียบ หรือเป็นตุ่มเล็ก ๆ เหมือนต่อมไขมัน
  • วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1-4 มิลลิเมตร
  •  มักจะขึ้นเป็น 1 แถว หรือ 2 แถว ที่รอบส่วนหัวของอวัยวะเพศชายหรือองคชาต

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ควรไปพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

สาเหตุของ Pearly Penile Papule 

ผื่นนูนพีพีพีเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างภายในร่างกาย ไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการติดเชื้อจากโรคร้ายแรง สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกา (American Urological Association) ได้ระบุไว้ว่า ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนี้ แต่อาจมาจากเซลล์ที่หลงเหลืออยู่ระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงของอาการผื่นนูนพีพีพี

สำหรับผู้ที่มีอาการผื่นนูนพีพีพีส่วนใหญ่จะเกิดในเพศชายที่ไม่ผ่านการขลิบอวัยวะเพศชาย รวมถึงเพศชายในวัยรุ่นและในวัยกลางคน

การรับมือ Pearly Penile Papule 

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการ Pearly Penile Papule 

การวินิจฉัยอาการผื่นนูนพีพีพี แพทย์จะใช้วิธีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์แยกความแตกต่างระหว่างอาการผื่นนูนพีพีพี กับโรคหูดข้าวสุก นอกจากนี้ คุณหมออาจนำเนื้อเยื่อบางชิ้นมาตรวจสอบ เพื่อช่วยให้ยืนยันผลการตรวจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การรักษา Pearly Penile Papule

อาการผื่นนูนพีพีพี ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากคุณรู้สึกกังวลใจ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา โดยมีวิธีการรักษาหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon-dioxide Laser) วิธีนี้อาจช่วยให้ผื่นนูนพีพีพีจางลง
  • การฉายรังสี (Radiosurgery) วิธีนี้อาจจะรักษาเห็นผลน้อยกว่าวิธีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็ช่วยให้ผื่นดูจางลงเช่นกัน
  • การจี้เย็น (Cryosurgery) วิธีนี้จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเย็นจนเป็นน้ำแข็ง เพื่อให้ผื่นนั้นหายไป
  • การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อทั้งก้อนไปตรวจ (Excisional Biopsy) เพื่อกำจัดผื่นนูนในแต่ละจุดออก ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้

การดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับ Pearly Penile Papule 

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การขลิบอวัยวะเพศชายนั้นจะสามารถป้องกันการเกิดผื่นนูนพีพีพีได้ อย่างไรก็ตาม ควรรักษาสุขภาพและมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคและอาการต่าง ๆ ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What are pearly penile papules (PPP)?. https://www.medscape.com/answers/1058826-32229/what-are-pearly-penile-papules-ppp. Accessed 25 May 2020.

Diagnosis and Management of Pearly Penile Papules. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5987947/. Accessed September 24, 2022

Pearly penile papules. https://dermnetnz.org/topics/pearly-penile-papules. Accessed September 24, 2022

What You Need to Know About Penile Papules. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-you-need-to-know-about-penile-papules. Accessed September 24, 2022

Pearly Penile Papules. https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmicm060634. Accessed September 24, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/01/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

อวัยวะเพศล็อก สาเหตุ และการรับมืออย่างเหมาะสม


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไข 30/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา