backup og meta

เชื้อราที่เล็บ วิธีรักษา และวิธีดูแลตนเอง

เชื้อราที่เล็บ วิธีรักษา และวิธีดูแลตนเอง

เชื้อราที่เล็บ คือ อาการที่เล็บเกิดการติดเชื้อรา ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า โดยเล็บจะเริ่มมีจุดสีขาวหรือเหลืองใต้ปลายเล็บมือหรือเล็บเท้า หากการติดเชื้อราลึกลงไปใต้เล็บจะทำให้เล็บเปลี่ยนสี หนาขึ้น และอาจทำให้ขอบเล็บแตกได้ด้วย หากอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงและไม่รบกวนชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเชื้อราที่เล็บทำให้เกิดอการเจ็บปวดและทำให้เล็บหนาขึ้น ขั้นตอนการดูแลตนเองและการใช้ยาอาจช่วยได้

[embed-health-tool-bmi]

ทำความรู้จักเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บ คือ อาการที่เล็บเกิดการติดเชื้อรา ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า โดยเล็บจะเริ่มมีจุดสีขาวหรือเหลืองใต้ปลายเล็บมือหรือเล็บเท้า หากการติดเชื้อราลึกลงไปใต้เล็บจะทำให้เล็บเปลี่ยนสี หนาขึ้น และอาจทำให้ขอบเล็บแตกได้ด้วย หากอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงและไม่รบกวนชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเชื้อราที่เล็บทำให้เกิดอการเจ็บปวดและทำให้เล็บหนาขึ้น ควรเข้ารักษาเพื่อป้องกันก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บเบื้องต้น

สำหรับการรักษาอาการเชื้อราที่เล็บเบื้องต้น อาจทำได้ด้วยการซื้อครีม โลชั่น หรือแม้แต่ยาทาเล็บจากร้านขายยามาทาเอง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาอาการเชื้อราที่เล็บ หรืออาจเลือกใช้น้ำมันชาสกัด ยาหม่อง หรือน้ำยาบ้วนปากด้วยก็ได้ หากมีข้อสงสัย ลองใช้หนึ่งในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นดูก่อน

  • ยาทา เชื้อราที่เล็บ

คุณหมออาจจ่ายยาทาเชื้อราที่เล็บ ที่เรียกว่า เพนเลค (Penlac) โดยใช้ทาบริเวณรอบนิ้วเท้าและรอบบริเวณที่ติดเชื้อ 1 ครั้ง/วัน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดยาทาเชื้อราที่เล็บออก การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บด้วยวิธีนี้อาจใช้เวลาถึง 1 ปี

  • ครีมทาเล็บ

ยาต้านเชื้อราชนิดครีมใช้ทาหลังล้างเท้าให้เปียก แล้วทาลงบนเล็บ ควรขูดเล็บให้บางลงก่อนเพื่อให้เนื้อครีมซึมลงไปได้ดีขึ้น ควรเลือกครีมทาเล็บที่มีส่วนผสมของยูเรีย (Urea) ซึ่งทำให้เนื้อเล็บบางลง หรือไม่อย่างนั้นคุณหมออาจทำการขูดเล็บให้บางลงด้วยเครื่องมือพิเศษทางการแพทย์ก่อน แล้วจึงรักษาด้วยยา

  • ยารับประทานต้านเชื้อรา

คุณหมออาจจ่ายยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน เช่น ยาเทอบินาฟีน (Terbinafine) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ลามิซิล (Lamisil) และ ยาไอทราโคนาโซล (Itraconazole) หรือรู้จักกันในชื่อ สปอรานอกซ์ (Sporanox) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเร่งให้เล็บเท้างอกใหม่ และแข็งแรง แต่การรับประทานยาต้านเชื้อราอาจต้องรับประทานยาติดต่อกันนานถึง 12 สัปดาห์ แต่อาจจะเห็นผลลัพธ์หลังจากนั้น 4 เดือนเมื่อเล็บงอกขึ้นมาใหม่ การใช้ทั้งยารับประทานและยาทาภายนอกควบคู่กันไปจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม การใช้ยารักษาอาการเชื้อราที่เล็บนั้นมีผลข้างเคียง เช่น ผื่นขึ้นบนผิวหนัง คลื่นไส้ ปวดหัว หรือตับเกิดความเสียหาย ในระหว่างการรักษาแพทย์อาจะแนะนำให้ตรวจเลือด เพื่อให้มั่นใจว่ายาทำงานได้เป็นอย่างดี หากคุณเป็นโรคตับและโรคหัวใจ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

  • การถอดเล็บ 

ในกรณีที่มี อาการเชื้อราที่เล็บขั้นรุนแรง คุณหมออาจแนะนำให้ถอดเล็บ โดยอาจทำการถอดเล็บเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ โดยปกติเล็บสามารถงอกออกมาใหม่ในบริเวณที่เป็นเชื้อรา แต่อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี คุณหมออาจจ่ายยาชนิดครีมให้ทาบริเวณเนื้อใต้เล็บ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยระหว่างทำการรักษาจะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่

  • รักษาด้วยเลเซอร์ 

การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บด้วยเลเซอร์อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียว หรือผสมผสานกับการใช้ยาชนิดต่าง ๆ ได้ด้วย เลเซอร์ที่นำมาใช้ในการรักษามีด้วยกันหลายประเภท การรักษาด้วยวิธีนี้ สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพเล็บได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยเลเซอร์มีราคาแพง และเป็นเทคนิคเฉพาะที่ไม่แพร่หลายทั่วไป

การปล่อยเล็บที่ติดเชื้อราไว้โดยไม่รักษาอาจทำลายเล็บทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาในข้างต้น การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บนั้นมีความสำคัญมาก ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด และควรทำตามขั้นตอนดังกล่าวเพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากอาการเชื้อราที่เล็บจะเป็นการดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nail fungus – Treatments and drugs. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nail-fungus/basics/treatment/con-20019319. Accessed January 31, 2023.

Treatments for Toenail Fungus. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/treat-toenail-fungus#1. Accessed January 31, 2023.

Fungal nail infection. http://www.nhs.uk/Conditions/Fungal-nail-infection/Pages/Introduction.aspx. Accessed January 31, 2023.

Fungal nail infection. https://medlineplus.gov/ency/article/001330.htm. Accessed January 31, 2023.

Fungal Nail Infections. https://www.cdc.gov/fungal/nail-infections.html. Accessed January 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดอกเล็บ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

ผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา