backup og meta

สภาพเส้นผม สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพได้จริงหรือ

สภาพเส้นผม สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพได้จริงหรือ

สภาพเส้นผม อาจบ่งบอกได้ว่าร่างกายกำลังเกิดความผิดปกติ หรือกำลังมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยสภาพเส้นผมแต่ละชนิดก็อาจบ่งบอกปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น ผมร่วงอาจบ่งบอกว่าร่างกายกำลังขาดสารอาหาร ผมแห้งอาจหมายถึงร่างกายกำลังมีปัญหากับไขมันดีในร่างกาย ดังนั้น การสังเกตสภาพของเส้นผม อาจช่วยให้เห็นความผิดปกติของร่างกายได้

[embed-health-tool-bmi]

สภาพเส้นผม กับปัญหาสุขภาพ

สภาพเส้นผมในลักษณะต่าง ๆ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ดังนี้

ผมร่วง

โดยปกติแล้ว ผมของคนเราจะร่วงวันละประมาณ 100 เส้น/วัน แต่หากผมร่วงที่มากเกินไปอาจกำลังบ่งบอกว่า ร่างกายกำลังขาดสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามินดี โปรตีน ซึ่งโปรตีนถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพผมและการเจริญเติบโต

หากสังเกตเห็นว่าผมร่วงมากผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาโรคต่อมไทรอยด์ด้วย เนื่องจาก การเกิดจากปัญหาต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาผมร่วง

นอกจากนี้ อาจต้องไปตรวจเพื่อหาโรคโลหิตจาง เพราะอาการผมร่วงอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายของมีธาตุเหล็กต่ำ เนื่องจาก ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

ผมแห้ง

ผมแห้งอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไขมันดีในร่างกาย ดังนั้น ควรการควบคุมน้ำหนักอาจช่วยทำให้ผิวหนังและหนังศีรษะแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ ผมแห้งอาจเกิดจากการที่เส้นผมโดนแสงแดดมากเกินไป เพราะฉะนั้น หากจำเป็นจะต้องออกไปเจอกับแสงแดดควรสวมหมวกหรือหาผ้ามาคลุมผมไว้ให้มิดชิด สำหรับ ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดก็อาจส่งผลทำให้ผมแห้งขึ้นและเงางามน้อยลงได้ โดยสิ่งนี้อาจสังเกตได้จากตอนที่ย้อมผม เพราะผมแห้งจะดูดซับสีได้เร็ว

ผมเปราะ

สภาพเส้นผมที่เปราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายกำลังขาดสังกะสีและธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตเคราติน (Keratin) นอกจากนี้ ยังเป็นอาการหนึ่งของโรคคุชชิ่ง (Cushing’s Syndrome) ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายหลั่งคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดมากผิดปกติ หรือใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไป ซึ่งโรคนี้อาจเป็นโรคที่พบได้ยาก

เมื่อเคราตินน้อยลง ก็อาจทำให้ผมหลุดได้ง่าย นอกจากนี้ ผมเปราะยังอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ฟันอาจจะผุได้ด้วย เพราะเคราตินเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารเคลือบฟันด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อผมเปราะจนหลุดร่วงง่าย ก็อาจต้องระวังสุขภาพฟันด้วย

หนังศีรษะแห้ง

เมื่อเกิดอาการคันศีรษะเนื่องจากหนังศีรษะแห้ง อาจแปลว่าร่างกายกำลังต้องการโอเมก้า 3 และโอเมก้า พราะกรดไขมันเหล่านี้มีความสำคัญต่อสุขภาพของรูขุมขน ทำให้ผมและหนังศีรษะชุ่มชื้น โดยปกติแล้ว หนังศีรษะแห้ง อาจทำให้มีรังแค ซึ่งเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) ส่งผลทำให้เกิดผื่นสีแดงบนหนังศีรษะ และถูกปกคลุมด้วยเกล็ดสีขาวหรือสีเหลือง ซึ่งทำให้หนังศีรษะระคายเคือง

ผมบางมาก และเจริญเติบโตช้า

สภาพเส้นผมที่บางลงอาจหมายความว่าร่างกายกำลังต้องการโปรตีนเพิ่ม นอกจากนี้ การกินอาหารแปรรูป เช่น อาหารขยะ ก็อาจส่งผลทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนต่ำ เส้นผมเติบโตช้า ดังนั้น การกินอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น ปลา ไข่ สัตว์ปีก เนื้อวัว นม ถั่ว ธัญพืช อาจช่วยบำรุงเส้นผมได้

ผมหงอกก่อนกำหนด

ผมหงอกอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรัง ซึ่งความเครียดอาจทำให้ดีเอ็นเอเสียหาย ทั้งยังทำให้เซลล์ที่ผลิตเม็ดสีในรูขุมขนเกิดความเสียหาย และผลิตเม็ดสีได้น้อยลง

สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะเป็นสิ่งไม่ควรมองข้าม จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะอยู่เป็นประจำ เนื่องจาก สภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่เปลี่ยนไปอาจทำให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

8 Things Your Hair Is Desperately Trying to Tell You About Your Health. https://www.thehealthy.com/beauty/hair/hair-health-clues/. Accessed November, 2019

What Your Hair & Scalp Say About Your Health. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-hair-conditions. Accessed April 13, 2022

What Your Hair Says About Your Health. https://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-2017/your-hair-your-health-fd.html. Accessed April 13, 2022

The Connection Between Your Hair and Your Health. https://www.uhhospitals.org/Healthy-at-UH/articles/2018/04/your-hair-and-your-health. Accessed April 13, 2022

Hair loss. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hair-loss/symptoms-causes/syc-20372926. Accessed April 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคราตินกับเส้นผม เคราตินช่วยบำรุงผมให้สวยได้จริงหรือ?

ลดน้ำหนักแล้วผมร่วง? สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา