backup og meta

4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ สกินแคร์

4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ สกินแคร์

สกินแคร์ (Skin care) หมายถึง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ ทั้งครีมทาผิว มอยเจอร์ไรส์เซอร์ โลชั่น เซรั่ม ครีมกันแดด รวมไปถึงครีมลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อบำรุงสุขภาพผิวให้แข็งแรง ลดเลือนริ้วรอยก่อนวัยอันควร ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว อย่างไรก็ตาม การใช้สกินแคร์อย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้สกินแคร์อย่างถูกต้อง และแก้ไขความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับสกินแคร์

4 ความเชื่อ เกี่ยวกับ สกินแคร์

ความเชื่อที่ 1 สกินแคร์ ยิ่งแพง ก็ยิ่งดี

เวลาเลือกซื้อสกินแคร์ใหม่ ๆ หลายคนอาจจะมองหาสกินแคร์ที่มีราคาแพงที่สุด เท่าที่ตัวเองจะซื้อไหว เพราะคิดว่ายิ่งใช้สกินแคร์ราคาแพงเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อผิวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเยอะ เพื่อให้ได้สกินแคร์ดี ๆ เพราะผลิตภัณฑ์ดูแลผิวบางอย่างที่มีราคาจับต้องได้ ก็อาจมีส่วนผสมที่ดีต่อผิวไม่แพ้กับ สกินแคร์ ราคาแพง ๆ เลย

ถ้าลองอ่านฉลากส่วนผสมของสกินแคร์ จะพบว่าส่วนผสมสำคัญที่พบในสกินแคร์ที่มีราคาแพงกับสกินแคร์ที่มีราคาถูกนั้น มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เช่น ในมอยส์เจอไรเซอร์ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ที่มีคุณสมบัติในการช่วยกักเก็บน้ำไว้ในผิว สิ่งที่แตกต่างในสกินแคร์ที่มีราคาแพงนั้นมักจะเป็นราคาของส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น น้ำหอม บรรจุภัณฑ์ ชื่อแบรนด์ ที่แทบจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อผิวของเรา

ความเชื่อที่ 2 ครีมลดริ้วรอยทุกชนิดสามารถทำให้ริ้วรอยหายไปได้

ครีมลดเลือนริ้วรอย เป็นสกินแคร์ยอดฮิตอีกหนึ่งประเภทที่หลายคนนิยมซื้้อมาใช้ ครีมลดเลือนริ้วรอยส่วนใหญ่ที่เห็นในท้องตลาด มักจะโฆษณาว่าสามารถทำให้ริ้วรอยหายไป และทำให้ผิวกลับมาดูเป็นอ่อนเยาว์ได้อีกครั้ง แต่ความจริงแล้ว ครีมลดริ้วรอยเหล่านี้ไม่ได้กำจัดริ้วรอยที่มีอยู่ให้หายไป แต่จะช่วยทำให้ผิวดูอวบอิ่มเต่งตึง และทำให้ริ้วรอยเหล่านี้ดูจางลง หรือหายไปได้ชั่วคราว เมื่อเวลาผ่านไป ริ้วรอยต่าง ๆ ก็จะกลับคืนมาดังเดิม

หากอยากให้ริ้วรอยลดเลือนไปได้ ควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเรตินอยด์ (Retinol) เนื่องจากสารนี้สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนัง และช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ทำให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหา เช่น รอยตีนกา จุดด่างดำ รอยสิว ได้

ความเชื่อที่ 3 เวลาทาสกินแคร์ใช้แค่นิดเดียวก็พอ

หนึ่งในภาพจำเวลาทาสกินแคร์ ที่หลายคนคุ้นเคย คือการใช้แค่ปริมาณเท่าเม็ดถั่วหรือเท่าปลายนิ้วเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนั้นต่างก็มีปริมาณการใช้ที่เหมาะสมแตกต่างกันไป บางผลิตภัณฑ์อาจจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เรายังจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละคนอีกด้วย เช่น หากเป็นคนที่มีใบหน้าใหญ่ ก็อาจจำเป็นต้องใช้สกินแคร์ในปริมาณที่มากกว่าคนอื่นเล็กน้อย

ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ควรอ่านคำแนะนำการใช้ให้ดีก่อน เพื่อให้สามารถใช้สกินแคร์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามความต้องการของตัวเอง

ความเชื่อที่ 4 สกินแคร์ตัวนี้มีคนบอกว่าดี แสดงว่าดีจริง

บางคนเวลาที่เลือกใช้สกินแคร์ อาจจะเลือกจากการรีวิวว่าสกินแคร์ยี่ห้อนี้ใช้แล้วดี มีคนบอกต่อ แล้วก็ไปซื้อมาใช้เองบ้าง โดยหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกับที่รีวิวมา แต่จริง ๆ แล้ว สกินแคร์บางชนิดอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับสภาพผิวเสมอไป หากเป็นคนที่มีผิวมัน แต่เลือกใช้สกินแคร์สำหรับคนมีผิวแห้ง ก็จะส่งผลต่อผิวและอาจทำให้ประสิทธิภาพของสกินแคร์นั้นไม่ดีเท่าที่ควร ก่อนเลือกใช้จึงควรศึกษาให้ดีก่อนว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเหมาะสมกับสภาพผิวหรือไม่

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Don’t fall for these skin myths. https://www.health.harvard.edu/womens-health/dont-fall-for-these-skin-myths. Accessed February 2, 20201.

9 Skin Care Myths Debunked. https://www.webmd.com/beauty/features/9-skin-care-myths#1. Accessed February 2, 20201.

Skin care: 5 tips for healthy skin. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/skin-care/art-20048237. Accessed 30 May, 2022

10 SKIN CARE SECRETS FOR HEALTHIER-LOOKING SKIN. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-secrets/routine/healthier-looking-skin. Accessed 30 May, 2022

Skin Care Basics. https://www.webmd.com/beauty/skin-care-basics. Accessed 30 May, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

4 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับวิธี ดูแลผิว

3 สูตรมาสก์หน้าสำหรับ ผิวหน้าแห้ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา