โรคซาร์คอยด์ (Sarcoidosis)
โรคซาร์คอยด์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานผิดปกติ ส่งผลให้อวัยวะภายใน่ร่างกายเกิดการอักเสบได้ เมื่อร่างกายได้รับการสักลงบนผิวหนัง โรคซาร์คอยด์จะยิ่งทำให้เกิดอาการคันที่รอยสัก รวมทั้งอาจยิ่งทำให้รอยสักเก่าอักเสบขึ้นได้ด้วย
ปฏิกิริยากับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI)
บางครั้งเมื่อคุณหมอต้องทำการวินิจฉัยโรคบางอย่าง คุณหมออาจจะสั่งให้ทำการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) ซึ่งทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration หรือ FDA) มีรายงานระบุเอาไว้ว่า การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีผลต่อรอยสักที่สักมานานแล้ว อาการต่าง ๆ อาจรวมถึงอาการคันและบวม มักหายไปเองในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
วิธีรักษาอาการ คันที่รอยสัก
วิธีรักษาอาการคันที่รอยสักให้ถูกต้องและได้ผลมักขึ้นอยู่กับสาเหตุ รอยสักที่เพิ่งสักมาใหม่มีแนวโน้วที่จะเกิดความเสียหายได้ง่าย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นพิเศษ จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพื่อไม่ให้หมึกหรือผิวโดยรอบเสียหาย ส่วนรอยสักที่สักมานานแล้ว อาจเกิดความเสียหายได้เช่นกันขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพผิวและระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน โดยปกติหากมีอาการคันที่รอยสัก สามารถรักษาได้ดังนี้
ไฮโดรคอร์ติโซนชนิดทาผิวหนัง
โดยทั่วไปแล้ว รอยสักใหม่นั้นไม่ควรซื้อครีมและขี้ผึ้งมาใช้เอง เพราะอาจรบกวนกระบวนการรักษาตามธรรมชาติของผิว อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ไฮโดรคอร์ติโซนชนิดทาผิวหนัง (Topical Hydrocortisone) มาใช้ทารอยสักที่มีอาการคัน รวมถึงรอยสักที่สักมานานแล้วได้
ประคบเย็น (Cool Compresses)
การประคบเย็นสามารถบรรเทาอาการคัน ทั้งยังช่วยสามารถลดอาการบวมได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ ควรจะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะใช้วิธีปะระคบเย็นบริเวณรอยสักที่เพิ่งสักมาใหม่ ตามข้อมูลของ The Nemours Foundation รอยสักใหม่อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการรักษาให้สภาพผิวกลับไปเป็นปกติ
ทำให้บริเวณรอยสักชุ่มชื้น
หากผิวทั้งคันและแห้ง วิธีแก้ปัญหาอาจจะทำได้ด้วยการทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น สำหรับรอยสักที่สักมานานแล้ว ให้เลือกโลชั่นที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตหรือมอยเจอร์ไรเซอร์ชนิดเข้มข้นที่ทำจากโกโก้บัตเตอร์ (Cocoa Butter) หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสีและน้ำหอม เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจทำให้ อาการคันที่รอยสัก เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย