- ผิวหนังเป็นตุ่มหนาและแข็ง
- ผิวหนังบริเวณตุ่มตาปลาหยาบกร้าน แห้งเป็นขุย หรืออาจมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง
- รู้สึกเจ็บเมื่อกดหรือสัมผัสที่ตุ่ม
- ผิวหนังบริเวณรอบตาปลามีสีเหลืองหรือสีแดงตามอาการจากการถูกเสียดสีและกดทับ
สำหรับผู้ที่มีผิวหนังหนาโดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้า ใต้ส้นเท้า ฝ่ามือ หัวเข่า และไม่มีอาการเจ็บปวด อาจเป็นเพียงปัญหาผิวหนังด้าน นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณตุ่มหรือผิวหนังที่หนาขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอทันที ไม่ควรรักษาด้วยตัวเองเพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
การรักษาตาปลา
วิธีรักษาตาปลา มีดังนี้
- ใช้ยากำจัดตาปลา คุณหมออาจแนะนำให้ใช้แผ่นแปะที่มีกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) 40% แปะบริเวณตาปลาเพื่อช่วยให้ตาปลาหลุดลอกออกได้ง่ายขึ้น ควรใช้ร่วมกับการขัดผิวเพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่าออกก่อนเปลี่ยนแผ่นแปะ สำหรับผู้ที่มีตาปลาขนาดใหญ่ คุณหมออาจให้ใช้กรดซาลิไซลิกในรูปแบบเจลแทน
- ตัดหนังส่วนเกินออก คุณหมออาจค่อย ๆ ตัดผิวหนังที่หนาหรือตัดตาปลาที่มีขนาดใหญ่ออกด้วยมีดผ่าตัด วิธีนี้ควรทำโดยคุณหมอเท่านั้น อย่าทำเอง เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
- การผ่าตัด เพื่อแก้ไขการเรียงตัวของกระดูกใหม่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียงตัวของกระดูกที่ก่อให้เกิดการเสียดสี
วิธีป้องกันตาปลา
วิธีป้องกันตาปลา อาจทำได้ดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย