ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงผื่นคัน
นอกจากโรคผิวหนังแล้ว ยังมีปัจจัยรอบตัวที่อาจก่อให้เกิดผื่นคันได้ ดังนี้
- สารระคายเคืองในผลิตภัณฑ์ เช่น โลชั่น ครีม น้ำหอม สบู่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม แชมพู
- สารเคมีจากเครื่องประดับ เช่น โลหะ นิกเกิล
- สารเคมีอื่น ๆ เช่น กาว ยาทาเล็บ สารเคมีการเกษตร
- แสงแดด
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยผื่นคัน
การวินิจฉัยผื่นคัน คุณหมออาจทดสอบด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ หรือผิวหนังที่เป็นขุยไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง
การรักษาผื่นคัน
การรักษาผื่นคัน อาจขึ้นอยู่กับผลการวินิจฉัย และสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นคัน ดังนี้
- กลาก อาจรักษาด้วยการบำบัดด้วยแสงอัลตราไวโอเลตเอ (UVA) และอัลตราไวโอเลตบี (UVB) ร่วมกับการใช้ยาหรือครีม เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ยูคริซา (Eucrisa) ดูพิเซน (Dupixent)
- ไลเคนพานัส โรคผิวหนังชนิดนี้อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจบรรเทาอาการระคายเคืองได้ ด้วยยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เพรดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นต้น
- ผื่นรูปวงแหวน คุณหมออาจสั่งจ่ายยาสเตียรอยด์หรือครีม บางกรณีอาจรักษาด้วยความเย็น เช่น การแช่ไนโตรเจนเหลว หรืออาจบำบัดด้วยแสงอัลตราไวโอเลตตามอาการของผื่นที่เกิดขึ้นแต่ละบุคคล
- ผื่นกุหลาบ อาการของผื่นกุหลาบอาจหายไปได้เองตามการดูแล และคุณหมออาจให้รับประทานยาแก้แพ้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) และหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด
- ลมพิษ หากมีอาการไม่รุนแรง ผื่นที่เกิดขึ้นอาจหายไปได้เองภายใน 6 สัปดาห์ แต่หากมีอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น คอบวม หายใจลำบาก ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย