สำหรับยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทาน คุณหมออาจแนะนำยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) แต่อาจไม่เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี ซึ่งคุณหมออาจสั่งจ่ายยากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) แทน เพื่อความปลอดภัย
เทคนิคการรักษาสิวอื่น ๆ
เนื่องจากปัญหาผิวหน้าของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน คุณหมอจึงอาจแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล ดังนี้
- ฉีดสเตียรอยด์ คุณหมออาจฉีดยาสเตียรอยด์เข้าสู่สิวโดยตรง เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ แต่อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ผิวบางได้
- ผลัดเซลล์ผิว วิธีนี้อาจเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวในระดับไม่รุนแรง โดยคุณหมออาจใช้กรดซาลิไซลิก กรดไกลโคลิก และกรดเรติโนอิก ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาหลายครั้ง
- การกดสิว คุณหมออาจใช้อุปกรณ์กดสิวเพื่อกำจัดสิวหัวขาว และสิวหัวดำโดยการนำหนองที่อุดตันในรูขุมขนออก แต่อาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นจากการกดเล็กน้อย
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อสิวขึ้น
สำหรับพฤติกรรมที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นสิว เพราะอาจทำให้อาการของสิวแย่ลง อาจมีดังนี้
- เปลี่ยนการรักษาสิวเองบ่อย ๆ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ผิวระคายเคือง ที่อาจส่งผลให้สิวขึ้นมากกว่าเดิมได้
- ใช้อุปกรณ์แต่งหน้า เช่น แปรงปัดแก้ม รวมถึงเครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาดก่อนนอน
- การขัดผิวแรง และการล้างหน้าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคือง ผิวแห้ง นำไปสู่การเกิดสิว
- บีบสิวด้วยตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้สิวอักเสบกว่าเดิม และก่อให้เกิดแผลเป็นได้
- ไม่ทำความสะอาดสิ่งที่สัมผัสกับใบหน้า เช่น โทรศัพท์มือถือ แปรงแต่งหน้า หมอน ผ้าห่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจมีการสะสมของแบคทีเรีย
- รับประทานอาหารประเภทไขมันและแป้งมากเกินไป
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย