ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงสิวที่ไม่มีหัว
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดสิวที่ไม่มีหัว ดังนี้
- อายุ มักเกิดมากในวัยรุ่นและผู้หญิงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
- ความระคายเคืองผิวหนังจากเครื่องสำอาง สารเคมี เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมาก สีย้อมผม การใช้สารเคมีลอกผิว
- แรงกดหรือการเสียดสี เช่น การบีบ กด เกาสิว การขัดผิวที่รุนแรงเกินไป
- ไม่ทำความสะอาดผิวเป็นประจำทุกวันจนทำให้รูขุมขนอุดตัน
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยสิวที่ไม่มีหัว
การวินิจฉัยสิวที่ไม่มีหัว คุณหมออาจประเมินอาการของผิวหนังภายนอก ลักษณะ และความรุนแรงของสิวในเบื้องต้น เพื่อเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพผิวและระดับความรุนแรงของสิว
การรักษาสิวที่ไม่มีหัว
การรักษาสิวที่ไม่มีหัวหากไม่เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยยาที่สามารถซื้อตามร้านขายยาทั่วไป ดังนี้
การรักษาเฉพาะที่
เป็นวิธีรักษาทางผิวหนังโดยตรง ลักษณะของยาอาจเป็นแบบครีมหรือเจล ที่ใช้ทาภายนอก ได้แก่
- เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) มีลักษณะเป็นครีมหรือเจล คุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง
- เรตินอยด์ (Retinoids) มีลักษณะเป็นครีมหรือเจล ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวและลดการผลิตน้ำมัน
- ยาปฏิชีวนะ มีลักษณะเป็นครีมหรือเจล ช่วยลดแบคทีเรียบนผิวหนังที่อาจทำให้เกิดสิว
ยารับประทาน
หากสิวเกิดขึ้นเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเฉพาะที่ คุณหมออาจต้องให้ยารับประทานเพิ่มเติม
- ยาปฏิชีวนะ ช่วยลดแบคทีเรียที่ผิวหนังจากภายในสู่ภายนอก เช่น คลินดามัยซิน (Clindamycin) อีริโทรมัยซิน (Erythromycin) ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)
- รักษาด้วยฮอร์โมน มักใช้รักษาสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสิว โดยคุณหมออาจให้รับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิว หรือใช้ยาสโปรโนแลคโตน (Spirolactone) เป็นตัวยับยั้งตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน
- โคไซปรินดิออล (Co-cyprindiol) ช่วยลดการผลิตน้ำมัน มักใช้ในสิวที่มีอาการรุนแรงมาก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย