backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

หน้าเป็นผื่น คัน ผิวแสบแดง เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

หน้าเป็นผื่น คัน ผิวแสบแดง เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

หน้าเป็นผื่น คืออาการของโรคผิวหนังที่อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อาการแพ้ต่อส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว การติดเชื้อที่ผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผดผื่น รู้สึกคันระคายเคือง แสบ มีรอยแดง ดังนั้น หากสังเกตว่าเริ่มมีผื่นขึ้นบนใบหน้า ก็ควรเข้ารับการตรวจโดยคุณหมอผิวหนังในทันที เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และแก้ไขปัญหาผิวหน้าตามสาเหตุที่เป็น

หน้าเป็นผื่น เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ หน้าเป็นผื่น อาจเกิดจากโรคดังต่อไปนี้

1. โรคงูสวัด

เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อที่ก่อให้เกิดอีสุกอีใส ที่ส่งผลให้เกิดผื่นแดง ตุ่มพอง อาการคัน รู้สึกปวดแสบปวดร้อนผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เช่น ลำตัว แขน ขา หากเกิดขึ้นบนใบหน้าอาจทำให้มีปัญหาการมองเห็น สูญเสียการได้ยินและการรับรู้รสชาติได้

วิธีรักษาโรคงูสวัด

  • ยาต้านไวรัส เช่น แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) และอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ควรรับประทานวันละ 2-5 ครั้ง
  • ยาบรรเทาอาการปวด เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin) อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) แผ่นแปะแคปไซซิน ลิโดเคน (Lidocaine)

2. โรคลูปัส

คือโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ทำให้ผิวหนังบวม และมีผื่นแดง สำหรับบริเวณใบหน้า อาจมีผื่นแดงที่บริเวณแก้มและจมูก คล้ายกับผีเสื้อ

วิธีรักษาโรคลูปัส การรักษาขึ้นอยู่กับอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยยาที่คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำ มีดังนี้

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบเช่น นาพรอกเซน (Naproxen) ควรรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง และดื่มน้ำให้มาก ๆ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ควรรับประทานทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง พร้อมกับน้ำ 1 แก้ว 
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) อาจช่วยต้านการอักเสบของโรคลูปัส 
  • ยากดภูมิคุ้มกัน ใช้สำหรับปิดกั้นการทำงานภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้มีการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป เช่น ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) มัยโคฟีโนเลต (Mycophenolate) เมโทเทรกเซต (methotrexate) อะซาไธโอพรีน (Azathioprine) อาจใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคลูปัสระดับรุนแรง ยานี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ตับเสียหาย ปัญหาการเจริญพันธุ์ ความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquin) เป็นยาทั่วไปที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียและลดความเสี่ยงเป็นโรคลูปัส แต่อาจส่งผลข้างเคียงก่อให้เกิดอาการปวดท้อง และอาจทำให้จอตาเสียหาย ผู้ที่รับประทานยานี้ควรเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำ

3. ผื่นแพ้สัมผัส

เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร ขนสัตว์ ละอองเกสร แสงแดด น้ำ ยา ฝุ่น พิษแมลงกัดต่อย หรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่ทำปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกันก่อให้เกิดการตอบสนองปรากฏเป็นผื่นบนใบหน้าและร่างกาย อาการคัน ผิวหนังบวมแดง บางคนอาจเกิดผื่นลมพิษขึ้น

วิธีรักษาโรคผิวหนังจากอาการแพ้ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดผื่น โดยอาจสามารถใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ในรูปแบบครีมทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ หรือใช้คาลาไมน์ทาบริเวณที่เกิดผื่น เพื่อลดอาการคัน และควรรับประทานยาแก้แพ้ตามที่คุณหมอแนะนำ

8. โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

คือโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันบนใบหน้ามากเกินไป ทำให้แบคทีเรียและยีสต์บริเวณนั้นเจริญเติบโตมากเกินไป นำไปสู่การเกิดผื่น รอยแดง และอาการคันบนใบหน้า มักพบบริเวณร่องจมูก หัวคิ้ว หน้าผาก ไรผม คาง 

วิธีรักษาโรคเซ็บเดิร์ม อาจใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ในรูปแบบครีม โลชั่น หรือเจล เพื่อลดอักเสบ หรืออาจใช้ยาต้านเชื้อยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) 1% รูปแบบครีมและเจลที่ช่วยบรรเทาอาการรุนแรงของผื่น

อาการผื่นแบบไหน ที่ควรเข้าพบคุณหมอ

อาการผื่นขึ้นหน้าที่ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ มีดังนี้

  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 37 องศาขึ้นไป
  • ผื่นบริเวณใบหน้าเยอะมากขึ้น และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
  • มีผื่นขึ้นใกล้ดวงตา
  • มีผื่นแดง เป็นแผลพุพอง รู้สึกเจ็บปวด
  • มีอาการผื่นนานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการคันรุนแรง

วิธีป้องกันผื่นขึ้นหน้า

วิธีป้องกันผื่นขึ้นหน้า และป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง สามารถทำได้ ดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสใบหน้า และควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่อาจก่อให้เกิดผื่น เช่น ขนสัตว์ ละอองน้ำหอม ฝุ่น น้ำยาจัดแต่งทรงผม
  • ไม่ควรใช้ผ้าขนหนู แปรงหวีผม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ร่วมกับผู้อื่น
  • ควรเช็ดเครื่องสำอางออกให้หมด และล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอน นอกจากนี้ ยังควรบำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม แอลกอฮอล์ การบูร ยูเรีย เป็นต้น โดยอาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวแทน
  • ควรทาครีมกันแดด หรือใส่หมวก แว่นตากันแดดก่อนออกไปข้างนอก เพราะแดดเป็นอาจปัจจัยที่กระตุ้นก่อให้เกิดผื่นได้
  • ควรทายาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าคุณหมอจะอนุญาตให้หยุดใช้ยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา