backup og meta

ผิวหนังช้าง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผิวหนังช้าง สาเหตุ อาการ และการรักษา
ผิวหนังช้าง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังชั้นนอก ทำให้ผิวมีสีคล้ำและหนาขึ้น มักพบบริเวณข้อพับและรอยย่นทั่วร่างกาย เช่น ข้อพับขา หลังคอ ทวารหนัก ขาหนีบ ผิวหนังช้างอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยาปรับสภาพผิว รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารหวาน

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

ผิวหนังช้าง คืออะไร

ผิวหนังช้าง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังชั้นนอกทำให้ผิวหนังของเรานั้นมีลักษณะที่หนาและคล้ำขึ้น ซึ่งส่วนมากมักพบได้ตามบริเวณข้อพับ และรอยย่นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังจากโรคผิวหนังช้างยังอาจเป็นอีกสัญญาณเตือนหนึ่งของการมีโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน หรือโรคมะเร็งในอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาหาร ตับ

ผิวหนังช้างสามารถพบบ่อยได้เพียงใด

ภาวะผิวหนังช้างอาจได้บ่อยกับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือแม้กระทั่งเด็ก โดยเฉพาะกับผู้ที่มีน้ำหนักส่วนเกิน และผู้กำลังเป็นโรคเบาหวาน อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้เป็นพิเศษ

อาการ

อาการของผิวหนังช้าง

อาการของโรคผิวหนังช้างมักสังเกตได้จากที่ผิวหนังตามบริเวณข้อพับ ไม่ว่าจะเป็น รักแร้ หลังคอ ข้อพับตามขา ข้อศอก รูทวาร และขาหนีบ มีการเปลี่ยนสีเกิดขึ้น ซึ่งมักจะพบเป็นรอยคล้ำสีดำ หรือสีน้ำตาล และค่อนข้างมีความหนานูน ที่สำคัญบางกรณีอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ร่วมกับอาการคันระคายเคืองร่วมด้วยได้

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดผิวหนังช้าง

  • อินซูลินในร่างกายมากเกินไป ผู้ที่มีโรคผิวช้างส่วนใหญ่ส่วนมากมักมาจากการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีอินซูลินในกระแสเลือดมากเกินไป ทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดการทำงานในอัตราที่รวดเร็วขึ้น จนผิวหนังมีสีเข้มกว่าผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ ดังนั้น การปรากฏตัวผิวหนังช้างอาจสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าในอนาคตอาจจะประสบกับโรคเบาหวานด้วยก็เป็นได้
  • ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลให้ระดับอินซูลินมีการเปลี่ยนแปลง จนส่งผลข้างเคียงต่อการเกิดโรคผิวหนังช้างได้ เช่น ไนอะซิน (niacin) ยาคุมกำเนิด และอยากกลุ่มคอร์ติดโคสเตียรอยด์ (corticosteroids)
  • โรคมะเร็ง โรคผิวช้างสามารถเกิดร่วมกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือการเกิดเนื้องอกที่กำลังพัฒนาไปเป็นมะเร็งในอวัยวะภายในได้ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือ ตับ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของผิวหนังช้าง

  • โรคอ้วน ยิ่งน้ำหนักตัวมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งอาจเป็นการเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังช้างได้มากขึ้น
  • กลุ่มเชื้อชาติ มีการศึกษาบางชิ้นที่ระบุว่าในอเมริกานั้นโรคผิวช้างมักเกิดกับชนชาวพื้นเมืองอเมริกันมากกว่า
  • ประวัติครอบครัว โรคผิวช้างบางชนิดอาจเป็นโรคติดต่อที่ส่งทอดมาจากทางพันธุกรรมได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยผิวหนังช้าง

การวินิจฉัยผิวหนังช้างอาจทำได้โดยการสังเกตสีผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงตรวจหาภาวะดื้ออินซูลิน และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อหาสาเหตุการเกิดผิวหนังช้างที่แน่ชัด

การรักษาผิวหนังช้าง

คุณหมออาจสั่งจ่ายยาเพื่อลดความหนาของผิวหนัง และทำให้ผิวหนังมีการผลัดตัวที่เหมาะสม เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของเรติน-เอ (Retin-A)  กรดอัลฟาไฮดรอกซีเอซิด (alpha hydroxy acids) กรดซาลิซิลิก (salicylic acid) และวิตามินดี

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันผิวหนังช้าง

  • การลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • การหยุดยาหรืออาหารเสริมที่เป็นสาเหตุที่เชื่อมโยงกับการเกิดโรคผิวหนังช้าง
  • เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย เป็นสบู่ที่ใช้ในการต้านแบคทีเรียโดยเฉพาะ
  • ใช้ยาตามที่คุณหมอสั่งเป็นประจำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acanthosis nigricans https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acanthosis-nigricans/symptoms-causes/syc-20368983 Accessed October 08, 2020

Skin and Acanthosis Nigricans https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acanthosis-nigricans-overview Accessed October 08, 2020

Acanthosis nigricans. https://www.nhs.uk/conditions/acanthosis-nigricans/. Accessed March 14, 2022

Acanthosis nigricans. https://dermnetnz.org/topics/acanthosis-nigricans. Accessed March 14, 2022

Acanthosis Nigricans. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK431057/. Accessed March 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/07/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คอดำ กับวิธีแก้คอดำด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ

โรคผิวหนังช้าง อาการ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา