backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตับวายหรือตับล้มเหลว (Liver failure)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตับวายหรือตับล้มเหลว (Liver failure)

ตับวายหรือตับล้มเหลว เป็นภาวะที่ไตได้รับความเสียหาย เป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่จะรักษาได้ และตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ตับวายเป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน

คำจำกัดความ

ตับวายหรือตับล้มเหลว คืออะไร

ตับวาย หรือ ตับล้มเหลว (Liver failure) เป็นภาวะที่ตับได้รับความเสียหาย เป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่จะรักษาได้ และตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ตับวายเป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน มักเกิดขึ้นทีละน้อยแต่ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ดี  อาจพบการเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน (acute liver failure) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยาก

ตับวายหรือตับล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ชายมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ดี สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ ตับวายหรือตับล้มเหลว

ตับวายมีอาการแตกต่างกันตามระยะของโรค ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการใดๆ และวินิจฉัยได้ยาก เมื่อมีอาการแย่ลง อาจมีอาการต่างๆ ได้แก่

  • ไม่มีแรงจนถึงขั้นเป็นโรคอ่อนเพลีย
  • เลือดออกได้ง่าย
  • เป็นแผลฟกช้ำได้ง่าย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นกะทันหัน
  • ผิวหรือตาขาวเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน)
  • มีอาการคันที่ผิวหนัง
  • มีอาการบวมน้ำและบวมที่ข้อเท้า ขา และช่องท้อง (มักเป็นสัญญาณบ่งชี้เริ่มแรก)
  • ปัสสาวะมีสีน้ำตาลหรือสีส้ม
  • อุจจาระมีสีจาง
  • มึนงง สมาธิสั้น และบุคลิกภาพเปลี่ยน
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • มีไข้
  • คลื่นไส้
  • มีเส้นเลือดขอดที่ผิวหนัง
  • หน้าอกโตในผู้ชาย

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวายหรือตับล้มเหลว

โรคตับอักเสบซี ไขมันพอกตับ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุของภาวะตับวายที่พบได้มากที่สุด แต่ก็มีสาเหตุอื่นที่ทำให้ตับเสียหายนำไปสู่ภาวะเกิดตับวายได้ ซึ่งได้แก่

  • ภาวะไขมันพอกตับที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
  • การติดเชื้อไวรัสที่ตับเรื้อรัง (ตับอักเสบบี ซี และดี โดยตับอักเสบดี พบได้น้อยมาก)
  • การเกิดหัวใจวายซ้ำในระยะสั้นๆ ซึ่งทำให้ของเหลวไหลกลับไปยังตับ
  • ท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน ซึ่งขัดขวางการลำเลียงน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เพื่อย่อยไขมัน ในผู้ใหญ่ ท่อน้ำดีอาจเกิดการอักเสบ อุดกั้น หรือมีพังผืดเนื่องจากโรคตับอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โรคตับแข็งทางเดินน้ำดี
  • โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)
  • โรคเกี่ยวกับการเก็บไกลโคเจน ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลรูปแบบหนึ่งที่เปลี่ยนเป็นกลูโคสมาใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายได้
  • โรคที่เกิดจากการขาดสาร Alpha 1 antitrypsin deficiency ซึ่งเป็นการขาดเอนไซม์เฉพาะในตับ
  • โรคที่เกิดจากการทำงานของตับผิดปกติ เช่น ภาวะเหล็กเกิน ซึ่งเป็นภาวะที่เหล็กส่วนเกินถูกดูดซึมและสะสมในตับและอวัยวะอื่น ๆ และโรควิลสัน (Wilson’s disease) ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของทองแดงในตับ

ถึงแม้ว่ามีความเป็นไปได้น้อย สาเหตุอื่นๆ ของภาวะตับวาย ได้แก่ ปฏิกิริยาต่อยาที่แพทย์สั่ง การสัมผัสสารพิษในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน หรือการติดเชื้อปรสิต

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตับวายหรือตับล้มเหลว

ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะตับวายมีหลายประการ เช่น

  • โรคตับที่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปและเป็นสาเหตุของโรคตับที่ป้องกันได้ ซึ่งพบได้มากที่สุด
  • ตับอักเสบบี เป็นการติดเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายมากที่สุดผ่านทางการแลกเปลี่ยนสารคัดหลั่งของร่างกาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกันโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และการใช้อุปกรณ์สำหรับสัก หรือเจาะร่างกายที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • โรคตับทางกรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้จากรุ่นสู่รุ่น
  • การสัมผัสสารเคมี อาจทำให้ตับเสียหายได้โดยการทำให้เซลล์ตับระคายเคือง และก่อให้เกิดตับอักเสบ ปริมาณน้ำดีไปยังตับลดลง และการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ สารเคมีต่างๆ เช่น anabolic steroids, vinyl chloride และ carbon tetrachloride สามารถทำให้เกิดมะเร็งตับได้
  • การใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen หรือ Tylenol) ในขนาดที่มากเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของภาวะตับวายเช่นกัน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการตับวาย

ภาวะตับวายสามารถวินิจฉัยได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้

  • การตรวจร่างกาย  ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับพื้นผิวและขนาดของตับ
  • การตรวจเลือด  หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็ง คุณจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคตับหรือไม่
  • การตรวจอื่นๆ ในบางกรณี มีการตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจซีทีสแกน การตรวจอัลตราซาวนด์ หรือการตรวจด้วยรังสีเฉพาะทางที่เรียกว่า radioisotope liver/spleen scan
  • การตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อ แพทย์อาจตัดสินใจทำการวินิจฉัย โดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อจากตับ
  • การผ่าตัด ในบางกรณี โรคตับแข็งมีการวินิจฉัยในระหว่างผ่าตัดเมื่อแพทย์สามารถมองเห็นตับทั้งหมดโดยสามารถตรวจโดยใช้เครื่องมือ laparoscope ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่สอดผ่านทางรอยผ่าขนาดเล็กเข้าไปในช่องท้อง

การรักษาตับวายหรือตับล้มเหลว

ถึงแม้ว่าภาวะตับวายไม่มีการรักษาที่แน่ชัด แต่มีการรักษาบางประการ ที่สามาถหยุดยั้งหรือชะลอการลุกลาม ลดความเสียหายที่เกิดที่ตับ และลดอาการแทรกซ้อนได้ โดยการรักษาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคตับแข็งดังนี้

  • สำหรับโรคตับแข็งที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยต้องหยุดดื่มเพื่อยับยั้งการลุกลามของโรค
  • หากผู้ป่วยเป็นโรคตับอักเสบ แพทย์อาจสั่งให้ใช้สเตียรอยด์และยาต้านไวรัสเพื่อลดความเสียหายของเซลล์ตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิดจากโรคภูมิต้านตนเอง โรควิลสัน หรือภาวะเหล็กเกิน การรักษาจะแตกต่างกันออกไป
  • อาจมีการให้ยาแก่ผู้ป่วยเพื่อควบคุมอาการตับแข็ง อาการบวมน้ำ และการเกิดน้ำในช่องท้องควบคู่ไปกับการการลดปริมาณเกลือในอาหาร ยาขับปัสสาวะจะนำมาใช้เพื่อกำจัดของเหลวส่วนเกินและป้องกันอาการบวมน้ำไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ โดยการรักษาการใช้ยาและควบคุมอาหาร สามารถช่วยบรรเทาอาการทางสมอง ที่ได้รับผลกระทบจากโรคตับแข็งได้ อาจมีการให้ยาถ่าย (Laxatives) เช่น ยาแลคทูโลส (lactulose) เพื่อช่วยดูดซึมสารพิษต่างๆ และเร่งการกำจัดสารพิษออกจากลำไส้ควบคู่ไปด้วย
  • สุดท้ายแล้ว อาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายตับสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งขั้นรุนแรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยีวยา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง  เพื่อรับมือกับภาวะตับวาย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะตับวายได้

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พยายามจำกัดปริมาณและความถี่ในการดื่ม หากดื่มมากกว่า 2 หน่วยต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นโดยหนึ่งหน่วยการดื่มคือ หนึ่งแก้วไวน์ขนาด 5 ออนซ์ เบียร์หนึ่งกระป๋องขนาด 12 ออนซ์ หรือสุราหนึ่งหน่วยขนาด 1 1/2 ออนซ์
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับคู่นอนหลายคน
  • ระมัดระวังการใช้งานสารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และยาฆ่าแมลง หากสัมผัสสารเคมีอยู่เสมอ ให้สวมใส่เสื้อผ้าสำหรับป้องกันและหน้ากากเพื่อป้องกันตัวเองจากสารเคมีอันตรายดังกล่าว
  • รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
  • รับประทานอาหารที่สมดุล และมีไขมันต่ำซึ่งพบได้มากในผักและผลไม้ รวมทั้งรับประทานวิตามินชนิดต่างๆ ร่วมด้วย
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากไขมันร่างกายส่วนเกินสามารถทำให้เกิดไขมันพอกตับ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคตับได้

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา