ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ ยังมี ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น อีกมากที่เราควรให้ความสนใจดูแล เพื่อช่วยรักษาสุขภาพของร่างกายเราให้แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย และช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหารไม่ย่อย ไส้เลื่อน งูสวัด หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากอาการรุนแรงขึ้น หรือเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น เลือดออกปนมากับปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เจ็บท้องข้างซ้าย มีสาเหตุจากอะไร เจ็บท้องข้างซ้าย เป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไปและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเจ็บท้องข้างซ้าย โดยเกิดจากการฉีกขาดหรือติดเชื้อของถุงผนังลำไส้ โดยจะมีอาการเจ็บท้องเป็นเวลาหลายวัน ร่วมกับมีไข้ ท้องผูก และคลื่นไส้ ทั้งนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบในระดับไม่รุนแรงอาจหายเองได้หากพักผ่อนและรับประทานยาปฏิชีวนะ อาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นหลังมื้ออาหาร และจะหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง มักเกิดบริเวณหน้าท้องส่วนบน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ท้องอืด มีลมในท้อง เสียดท้อง ไส้เลื่อน หมายถึง การที่อวัยวะในช่องท้อง เช่น ลำไส้ ยื่นออกนอกช่องท้อง ทำให้มีก้อนบวมบริเวณหน้าท้องหรือขาหนีบ รวมถึงรู้สึกเจ็บรุนแรงในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ งูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอีสุกอีใส เมื่อเป็นโรคงูสวัด จะพบผื่นและตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย และในบางรายอาจมีอาการ เจ็บท้องข้างซ้ายร่วมด้วย […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร วิธีที่จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นได้

การ ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ในลำไส้ให้มีความแข็งแรงมีส่วนช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้นได้ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อจุลินทรีย์ช่วยกระตุ้น แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน หน้าที่ของ แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียหลายล้านล้านตัว ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีต่อสุขภาพและชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยจะจับคู่กับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตัวอื่น เช่น ไวรัสและเชื้อรา โดยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะสร้างไมโครไบโอตา (Microbiota) หรือไมโครไบโอม (Microbiome) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งมีเกือบ  2 ล้านยีนที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีความสมดุล นั้นหมายถึง สุขภาพลำไส้ก็จะดีตามไปด้วย การดูแลรักษาสมดุลของจุลินทรีย์มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างมาก วิธี ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ให้ดีขึ้น ร่างกายของคนเรานั้นมีปริมาณแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในลำไส้ โดยรวม ๆ แล้วเรียกว่า “จุลินทรีย์ในลำไส้“ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก พฤติกรรมการกินถือเป็นเรื่องที่มีผล อย่างมากต่อแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ มีส่วนช่วยปรับปรุง แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ รับประทานให้มีความหลากหลาย แบคทีเรียในลำไส้นั้นมีอยู่หลายร้อยชนิด ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดก็มีบทบาท หน้าที่ในการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป การรับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่แตกต่างกันออกไปเพื่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแต่ละชนิด […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

ปัญหาอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ นอกจากจะทำให้คุณต้องทรมานกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ยังอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอจึงอยากแนะนำ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่คุณควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่ควรระวัง 1. เสี่ยงอาหารเป็นพิษ เพราะไม่ล้างมือก่อนกินข้าว การไม่ล้างมือก่อนกินข้าว เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ในระหว่างวัน มือของคุณสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้มีเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ติดมากับมือของคุณมากมาย เมื่อคุณสัมผัสกับอาหารโดยไม่ได้ล้างมือให้ดีก่อน เชื้อโรคเหล่านั้นก็อาจปนเปื้อนในอาหาร และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิด ภาวะอาหารเป็นพิษ ได้ สิ่งที่คุณควรทำคือ ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนช่วงการเตรียมวัตถุดิบ ช่วงทำอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยสบู่ให้ทั่วทั้งฝ่ามือ ซอกเล็บ และบริเวณรอบข้อมือ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที นอกจากนี้ คุณควรล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและสัมผัสกับสิ่งสกปรกด้วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 2. ทำความสะอาดวัตถุดิบผิดวิธี เวลาที่คุณซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ มาจากตลาด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบจำพวกผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ แสบร้อนกลางอก อาจเสี่ยงเป็น โรคหลอดอาหารอักเสบ

เคยไหม อยู่ ๆ ก็กลืนอาหารลำบาก กินอะไรแต่ละทีรู้สึกเจ็บปาก เจ็บคอไปหมด จนแทบไม่อยากจะกินอะไร แถมบางทียังมีรสชาติแปลก ๆ ในปาก หรือรู้สึกแสบร้อนกลางอกจนทรมานอีกต่างหาก ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ทาง Hello คุณหมอ ขอบอกเลยว่าคุณอาจกำลังเป็น โรคหลอดอาหารอักเสบ อยู่ก็ได้นะ [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จัก โรคหลอดอาหารอักเสบ หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นหลอดกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างคอและช่องท้อง ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากช่องปากลงสู่กระเพาะอาหาร หากหลอดอาหารอยู่ในสภาวะปกติ กระบวนการกลืนอาหารก็จะเป็นปกติตามไปด้วย แต่เมื่อใดที่หลอดอาหารบวม หรืออักเสบ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บ หรือกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น ซึ่งการอักเสบนี้เรียกว่า โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) โรคหลอดอาหารอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ หลอดอาหารอักเสบจากโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง และเนื้อเยื่อหลอดอาหารถูกทำลาย จนหลอดอาหารอักเสบในที่สุด นอกจากโรคกรดไหลย้อนแล้ว สภาวะดังต่อไปนี้ ก็สามารถทำให้คุณเป็นโรคหลอดอาหารอักเสบได้เช่นกัน โรคการกินผิดปกติ (Eating disorders) อาการของกลุ่มโรคการกินผิดปกติ เช่น อาการอาเจียนบ่อย ๆ ก็อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมากัดหลอดอาหาร จนทำให้หลอดอาหารอักเสบได้ โดยเฉพาะโรคบูลิเมีย (Bulimia nervosa) หรือที่เรียกว่า โรคล้วงคอ การใช้ยา ยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์กัดเนื้อเยื่อหลอดอาหาร […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน มีอะไรบ้าง

ภาวะลำไส้อุดตัน เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร และส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารของผู้ป่วยอย่างมาก เพราะการกินอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้อาการลำไส้อุดตันทรุดหนักลงได้ ซึ่ง การเลือก อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน ถือเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากระดับความรุนแรงของภาวะลำไส้อุดตันจะสามารถรับประทานอาหารได้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจึงอาจช่วยบรรเทาอาการและไม่ทำให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น [embed-health-tool-bmi] ภาวะลำไส้อุดตัน คืออะไร ภาวะลำไส้อุดตัน คือ ภาวะที่ลำไส้เกิดการอุดตันจนทำให้กากอาหารหรือของเหลวไม่สามารถไหลผ่านระบบทางเดินอาหารได้ตามปกติ การอุดตันนี้อาจเกิดจากการที่ลำไส้ตีบแคบลง เนื่องจากอาการบวมของผนังลำไส้ แผลเป็นจากการผ่าตัด หรืออาจเกิดอาการลำไส้บิดก็ได้ เมื่อเกิดการอุดตันขึ้นในระบบทางเดินอาหาร จึงจำเป็นต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะหากผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้อุดตันยังคงรับประทานอาหารตามปกติ อาจทำให้กากอาหารยิ่งไปอุดตันลำไส้มากขึ้น ไม่สามารถระบายออกไปได้ และอาจทำให้เกิดภาวะที่อันตราย เช่น ลำไส้แตก อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว คุณหมอจะเป็นผู้กำหนดอาหารที่ผู้ป่วยภาวะลำไส้อุดตันสามารถรับประทานได้ โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยอาจแบ่งได้ดังนี้ ภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบา ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบา อาจจะมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้องบ้างนาน ๆ ครั้ง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยอาการอุดตันในลำไส้อาจเกิดขึ้นแค่บางส่วน ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบาอาจสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอุดตันนั้นรุนแรงขึ้น จนอาจนำไปสู่ภาวะลำไส้อุดตันในระดับรุนแรง อาหารที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยในสภาวะนี้ คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ ดังนี้ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ที่ปรุงสุกโดยวิธีการต้ม นึ่ง อบ หรือตุ๋น ไข่ทุกประเภท […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ท้องอืดบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า

หากคุณมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยบ่อย ๆ ในบางครั้งอาจไม่ใช่ภาวะท้องอืดท้องเฟ้อทั่วไป แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ก็เป็นได้ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า (Gastroparesis) เกิดจากอะไร ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า (Gastroparesis) เกิดจากการที่อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนานผิดปกติ โดยปกติแล้วการหดตัวของกล้ามเนื้อจะขับเคลื่อนอาหารผ่านทางเดินอาหาร แต่ในผู้ที่อยู่ในภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า คืออาหารจะผ่านทางเดินอาหารช้าลงหรือไม่ทำงานเลยทำให้อาหารไม่สามารถเคลื่อนจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน อย่างไรก็ตาม ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต สาเหตุของการเกิดภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ในปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve) ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานผิดปกติทำให้ไม่สามารถลำเลียงอาหารจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ได้  รวมถึงสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้ โรคเบาหวาน การผ่าตัดช่องท้อง การติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร ยาบางชนิดที่ชะลอการย่อยอาหาร โรคหนังแข็ง (Scleroderma) โรคทางระบบประสาท เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) สัญญาณและอาการของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า หากคุณมีอาการปวดท้อง ท้องอืดบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกของภาวะดังกล่าว ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอิ่มหลังจากรับประทานอาหารเพียงไม่กี่คำ กินข้าวไม่กี่ชัวโมงก็อาเจียนออกมา กรดไหลย้อน ท้องอืด อาการปวดท้อง การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด รู้สึกอยากอาหารน้อยลง วิธีการรักษาภาวะกระเพาอาหารย่อยช้า หากคุณมีอาการที่บ่งชี้ของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา ถ้าหากปล่อยไว้เนิ่นนานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ โดยหลังจากการปรึกษาหรือวินิจฉัยโรคแล้ว วิธีการรักษาทางการแพทย์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล รวมถึงการปรับพฤติกรรมตนเอง ดังนี้ การรักษาด้วยการรับประทานยา เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ วิธีดีท็อกซ์รูปแบบใหม่ที่คุณควรรู้!

นอกจากการทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรเพื่อดีท็อกซ์ลําไส้ภายในช่องท้องของเราแล้ว ยังมีอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถ ทำความสะอาดลำไส้ คุณให้ไกลจากสารพิษต่าง ๆ พร้อมทั้งยังเป็นการปรับปรุงสุขภาพช่องท้องให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ที่บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักพร้อม ๆ กันค่ะ ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ คืออะไร การทำความสะอาดลำไส้ด้วยแรงดันน้ำ (Colon Cleansing) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และถูกได้รับการพัฒนาตามยุคสมัย เพื่อใช้สำหรับการกำจัดชำระล้างสิ่งสกปรกในลำไส้ของเราที่ไม่สามารถมองเห็น หรือสัมผัสได้ให้ออกไปจากร่างกาย ซึ่งมีกระบวนการการทำงานด้วยการใช้แรงดันน้ำ หรือของเหลวที่มีการผสมตัวยาส่งไปยังท่อลำเลียงผ่านทางทวารเข้าไปในลำไส้โดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการชำระล้างลำไส้ด้วยเทคนิคนี้ มักเป็นผู้ที่กำลังประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องผูก ทางเดินอาหารเป็นพิษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลธรรมดาอย่างเราไม่สามารถจะเลือกใช้บริการนี้ได้ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ การตรวจสอบสุขภาพช่องท้อง หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยง และสร้างความปลอดภัยให้แก่ภายในร่างกายของคุณ ทำไมคนเราจำเป็นต้อง ทำความสะอาดลำไส้ เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารของเราโดยตรง จนได้รับการสะสมทำให้เกิดแบคทีเรียทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาบางอย่างขึ้น เช่น อาการท้องผูก ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ดังนั้นการที่เราทำความสะอาดลำไส้ อาจเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอม พร้อมช่วยปรับปรุงให้ระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายจากโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ การทำงานของ เครื่องทำความสะอาดลำไส้ เป็นอย่างไร เมื่อคุณได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วว่าสามารถใช้บริการทำความสะอาดลำไส้ด้วยเครื่องแรงดันน้ำได้ ในขั้นตอนต่อไปนักบำบัดเฉพาะทาง หรือแพทย์จะทำการชำระล้างสิ่งสกปรกให้ โดยเครื่องแรงดันน้ำนี้มีกระบวนการการทำงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 แพทย์จะทำการให้นำท่อ หรืออุปกรณ์บางอย่างสวนเข้าไปในทางทวารหนัก เพื่อทำการนำสิ่งสกปรกในลำไส้นั้นออกมา ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการของเครื่องนี้ถูกควบคุมการปล่อยแรงดันน้ำอย่างช้า ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ไขข้อสงสัย ตดบ่อย เป็นอันตรายหรือเปล่า

การตด หรือการผายลม เกิดขึ้นจากการหมักหมมของกากอาหารในลำไส้ จนกลายเป็นแก๊ส และออกมาเป็นลมที่มีกลิ่นเหม็น การตดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่อาการ ตดบ่อย  อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ หากตดบ่อย อาจไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อาจสะท้อนปัญหาสุขภาพที่ควรระวังได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงตดบ่อย ตามปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มักจะตดกันวันละประมาณ 5-15 ครั้งต่อวัน แต่หากรู้สึกว่าตัวเองตดบ่อย อย่างน้อยวันละ 20 ครั้งขึ้นไป อาจหมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ซึ่งอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ย่อยยาก อาหารที่ย่อยยาก ๆ อย่างอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง มีโปรตีนสูง หรือมีน้ำตาลบางชนิดที่ร่างกายมักจะต้องใช้เวลานานในการย่อยอาหารเหล่านี้ อาจทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ระหว่างกระบวนการย่อยอาหารมากกว่าปกติ และส่งผลให้ตดบ่อยมากยิ่งขึ้น อาหารเหล่านั้นได้แก่ ถั่ว ธัญพืช ผักและผลไม้ หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลต่าง ๆ เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) ที่สามารถพบได้ในขนมและลูกอมต่าง ๆ ความเครียด เมื่อมีความเครียดสะสมมาก ๆ บางครั้งก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) ที่ทำให้ตดบ่อยขึ้นกว่าเดิมได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดความเครียด มักจะรับประทานอาหารมากขึ้นกว่าเดิม และเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่าง น้ำอัดลม หรือมันฝรั่งทอด […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

เปิดตำรา ให้คำแนะนำผู้ป่วยสำหรับ หัตถกรรมไส้ติ่งอักเสบ

หากใครทราบว่าตนเองมีอาการป่วยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจร้ายแรงจนทำให้ไส้ติ่งแตกและนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาเปิดตำราให้คำแนะนำผู้ป่วยสำหรับ หัตถกรรมไส้ติ่งอักเสบ กันค่ะ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เบื้องต้นในตัวโรคและการรักษา การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งในคนทั่วไปมีขนาดประมาณ 0.5 ซม. x 5 ซม. หรือขนาดอาจแตกต่างกันไป  เมื่อมีอะไรก็ตามมาอุดด้านในไส้ติ่ง จะทําให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นก้อนอุจจาระที่แข็งก้อนเล็กๆ โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน พบได้บ่อยทั้งในผู้ใหญ่ และเด็กโดยมีอาการดังนี้ ปวดท้อง : โดยเริ่มแรกอาจจะปวดรอบๆ สะดือ ลักษณะปวดตื้อๆ  ต่อมาย้ายมาปวดมากขึ้นที่ท้องน้อยด้านขวา อาการอื่นๆ ที่อาจตรวจพบร่วมด้วย  :  คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือบางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ไข้ : ในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่มีไข้ ต่อมาเมื่อมีการอักเสบนานขึ้นก็อาจมีไข้ได้  วิธีการวินิจฉัยโดยแพทย์ การตรวจร่างกาย โดยกดที่ท้องน้อยด้านขวาแล้วมีอาการเจ็บมากขึ้น เมื่อแพทย์ปล่อยมือขึ้นจากหน้าท้อง การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ  ตรวจเลือด เพื่อดูจํานวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะสูงขึ้นในรายที่มีการอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ตรวจปัสสาวะ เพื่อ ตรวจหาสภาวะผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ เช่น นิ่วในท่อไตกรวยไตอักเสบ  การเอ็กซเรย์ การทําอัลตราซาวน์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง สามารถพบขนาดไส้ติ่งที่ผิดปกติ หรือมีภาวะการอักเสบได้ การทําเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ข้อควรรู้...ก่อนเข้ารับหัตถการของ ผู้ป่วยไส้เลื่อน

หากพูดถึงโรคไส้เลื่อน หลายคนคงคิดว่ามักจะเกิดขึ้นในผู้ชายเพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ถ้าเกิดเป็นโรคไส้เลื่อนแล้ว วิธีการรักษาที่ดีที่สุดก็คือ การผ่าตัด แต่ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัดนั้น ผู้ป่วยไส้เลื่อน ควรจะต้องรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจถึงวิธีการรักษาและการดูแลตนเอง ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน [embed-health-tool-bmr] 1) ข้อมูลที่ควรรู้ของ ผู้ป่วยไส้เลื่อน ไส้เลื่อน หมายถึง ภาวะที่มีลำไส้บางส่วนหรืออวัยวะในช่องท้องหรือไขมันในช่องท้องไหลเลื่อนมาที่ผนังหน้าท้องเห็นเป็นก้อนบวม หรือคลำพบก้อนตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของช่องท้อง ขาหนีบ ถุงอัณฑะ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด อาจเป็นความผิดปกติมาแต่กำเนิด หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังได้ เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในคนทุกวัย สาเหตุ เกิดจากผนังหน้าท้องบางแห่งมีความอ่อนแอผิดปกติและเกิดการหย่อนหรือฉีกขาด ซึ่งอาจจะเป็นมาแต่กำเนิด ทำให้อวัยวะหรือไขมันที่อยู่ข้างใต้ผนังหน้าท้องนั้น ไหลเลื่อนทะลักเข้าไปในบริเวณที่อ่อนแอนั้น ทำให้เป็นก้อนตุงมักมีอาการแสดง เฉพาะเวลามีแรงดันในช่องท้องสูง เช่น เวลาไอ จาม ร้องไห้ เบ่งถ่าย ยกของหนัก ซึ่งไส้เลื่อนมีหลายชนิด จะมีอาการภาวะแทรกซ้อน และการรักษาแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อนที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณสะดือ อาจจะมีอาการตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจจะเกิดภายหลังเมื่อโตแล้วทำให้เป็นสะดือจุ่นหรือไส้เลื่อนที่สะดือ เกิดเมื่อเด็กร้องไห้จะเห็นสะดือโป่งพอง โดยมักจะไม่มีเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง และจะหายได้เอง ก่อนอายุได้ 2 ปี บริเวณขาหนีบ เป็นไส้เลื่อนที่พบได้บ่อยในเด็กโตและผู้ใหญ่ โดยมากพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงหลายเท่า ถึงแม้ว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณขาหนีบจะอ่อนแอมาตั้งแต่เกิด แต่อาการของไส้เลื่อนมักจะปรากฏเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน หรือเมื่อเป็นโรคที่ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว

ในบางครั้งอาการเจ็บป่วยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน ไปจนถึงระบบหายใจติดขัด อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว ก็เป็นได้ และผู้ที่มีปัญหาภาวะลำไส้รั่วจะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ พามาหาคำตอบค่ะ ทำความรู้จัก ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงลำไส้ทะลุแต่อย่างใดนะคะ แต่ภาวะลำไส้รั่วเกิดจากการที่ลำไส้ทำงานผิดพลาด  เสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารพิษ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและสารพิษผ่านเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจะเกิดการต่อต้าน ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่แปลกปลอมเหล่านี้ ส่งผลเสียให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ รวมถึงปัญหาด้านผิวหนัง เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ ผื่น คัน เป็นต้น สาเหตุอาการเจ็บป่วยซ้ำๆ ที่อาจเกิดจากภาวะลำไส้รั่ว สาเหตุที่ทำให้คุณเป็นสิวเรื้อรัง นอนพักผ่อนเท่าไรก็ยังไม่หายเพลีย ไหนจะผดผื่นคันขึ้นไม่หาย หายใจติดขัด บางทีอาจมาจาก ภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งเกิดจากการที่คุณมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบเดิมๆซ้ำๆ จนเศษอาหารหลุดผ่านผนังลำไส้ที่รั่วเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายจึงต้องสร้างภูมิส่งผลให้ร่างกายเกิดการแพ้ขึ้น โดยอาการแพ้นี่แหละกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดภาวะลำไส้รั่ว แต่อาจเกิดได้จากปัจจัยหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้ ภาวะความเครียดสะสม พฤติกรรมการรับประทานอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ การรับประทานยาบางชนิดที่ไม่สมดุลกับร่างกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ บริโภคน้ำตาลมากจนเกินไป ขาดวิตามิน เช่น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม