backup og meta

เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน

เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน

นักวิจัยได้ทำแบบสอบถามประชาชนทั่วไปจำนวน 15,300 คน พบว่า 25% ในนั้นเคยเกิด อาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน สิ่งเหล่านี้กลายเป็นปัญหาซึ่งรบกวนการนอนหลับและอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆต่อไป

กรดไหลย้อนสร้างความเสียหายให้แก่หลอดอาหาร กรดในกระเพาะอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นและทำความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหาร หรืออาจจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร อาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน ทำให้เกิดการ ตกค้างของกรดในหลอดอาหารซึ่งสร้างความเสียหายได้มากมาย

กรดไหลย้อนในตอนกลางคืนอาจเป็นสาเหตุของการนอนหลับไม่เพียงพอรวมไปถึงอาการนอนไม่หลับ คุณอาจตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยความรู้สึกแสบร้อนกลางอกและไม่สามารถนอนหลับต่อได้ แม้ว่าจะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วก็ตาม ปกติแล้วคุณควรนอนหลับอย่างน้อย 7- 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • หาวบ่อยผิดปกติ
  • มีปัญหาด้านความจำ
  • เห็นภาพหลอน
  • หลับใน
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ความดันโลหิตสูง
  • สมองทำงานช้าลง
  • สมองเสี่อม
  • อารมณ์เสีย
  • ซึมเศร้า
  • เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • เป็นหวัดหรือไข้
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนในตอนกลางคืน:

ยกหัวให้สูง

แพทย์แนะนำให้ปรับตำแหน่งของหัวให้สูงขึ้นอย่างน้อย 10 – 15 ซม. บางท่านอาจแนะนำให้ใช้หมอนที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มเพื่อยกลำตัวส่วนบนเหนือเอวให้สูงขึ้น 10 – 25 ซม. เพือป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลดี เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยทำให้อาหารไหลลงสู่กระเพาะ

นอนตะแคงซ้าย

คุณสามารถปรับท่าการนอนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน การนอนตะแคงซ้ายช่วยลดการเกิดกรดไหลย้อน

ลดน้ำหนัก

งานวิจัยชี้ว่าการลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมช่วยลดการเกิดกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อนมีแนวโน้มแย่ลงเมื่อน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้น

สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม

หากคุณสวมใส่เสื้อผ้าที่คับอาจเป็นการเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่คับบริเวณเอว ก่อให้เกิดกรดไหลย้อน

รับประทานอาหารด้วยภาชนะที่มีขนาดเล็ก

การรับประทานอาหารด้วยภาชนะที่มีขนาดใหญ่หมายความว่ากระเพาะของคุณได้รับอาหารมากตามไปด้วย ซึ่งอาจใช้เวลานานในการย่อยและทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ก่อให้เกิดกรดไหลย้อน

หลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึก

เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารในปริมาณมาก การรับประทานมื้อดึกกินเวลานานกว่าที่อาหารจะย่อย นอกจากนี้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารของคุณอาจอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าปกติ ซึ่งทำให้อาหารไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ พยายามอย่ารับประทานอาหารในช่วงเวลา 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

มีวินัยในการรับประทานอาหาร

ไม่ควรรีบเร่งรับประทานอาหาร ความเครียดเป็นสาเหตุให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากขึ้น นอกจากนี้ควรนั่งในท่าตรงหรืออย่าก้มตัวในขณะรับประทานอาหาร

หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวกระตุ้น

หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ช๊อคโกแลต เปปเปอร์มิ้นต์ กาแฟ น้ำอัดลม ส้ม หรือน้ำส้ม มะเขือเทศ พริกไทย น้ำส้มสายชู ซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ด และอาหารรสจัด หรืออาหารไขมันสูง

เคี้ยวหมากฝรั่ง

การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยให้ร่างการผลิตน้ำลายออกมามากขึ้น ซึ่งช่วยปรับสมดุลให้กับกรดในกระเพาะ

เลิกสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยรวม ไม่เพียงแค่ระบบย่อยอาหารเท่านั้น สารเคมีในบุหรี่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารคลายตัว ก่อให้เกิดกรดไหลย้อน

ควรอยู่นิ่งภายหลังจากรับประทานอาหาร

อย่าพึ่งรีบออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหาร ให้เวลากับกระเพาะอาหารได้ทำการย่อย

กรดไหลย้อนในตอนกลางคืนอาจเป็นอาการปกติแต่ก็สร้างอันตรายให้กับคุณได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนที่รุนแรงซึ่งนำไปสู่อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือกลืนอาหารลำบาก ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

Hello Health Group does not provide medical advice, diagnosis or treatment.

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tips for sleeping with heartburn. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/features/tips-for-sleep-without-heartburn. Accessed September 09, 2016.

Nighttime heartburn: 12 sleep tips. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/america-asks-9/nighttime-heartburn-sleep-. Accessed September 09, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

บรรเทาอาการปวดท้อง แบบไม่ต้องพึ่งยา ด้วยวัตถุดิบหาง่ายใกล้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา