backup og meta

Anorgasmia คือ อะไร เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 25/01/2023

    Anorgasmia คือ อะไร เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

    Anorgasmia คือ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพในผู้หญิงที่ส่งผลให้ผู้หญิงไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ ทำให้ไม่ได้รับความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจและร่างกาย ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาในทันที

    Anorgasmia คืออะไร

    Anorgasmia คือการที่ผู้หญิงไม่สามารถถึงจุดสุดยอดในการมีเพศสัมพันธ์ หรือในการสำเร็จความใคร่ได้ แม้ว่าจะมีการเล้าโลม หรือใช้ตัวช่วยเพื่อให้ถึงจุดสุดยอดมากเท่าไหร่ก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ หรือหากมีการถึงจุดสุดยอด ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน และมีความยากลำบากกว่าที่จะถึงจุดสุดยอดในแต่ละครั้ง

    สาเหตุของ Anorgasmia คืออะไร

    เป็นเรื่องยากหากจะกล่าวถึงสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง เนื่องจากมีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ผู้หญิงมีปัญหาสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง ได้แก่

    • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง
    • ผลพวกจากอาการทางสุขภาพ เช่น เป็นโรคเบาหวาน
    • มีประวัติการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับมดลูก
    • การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด
    • ขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนาก็นับว่าเป็นสาเหตุของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิงเช่นกัน
    • ความเขินอาย
    • ความรู้สึกผิดกับกิจกรรมทางเพศ
    • ความไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
    • มีประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดทางเพศมาก่อน
    • มีปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจ เช่น มีภาวะซึมเศร้า อยู่ในภาวะวิตกกังวล เป็นต้น
    • มีอาการเครียด
    • ปัญหาความสัมพันธ์ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง เช่น การนอกใจ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ

    อาการของ Anorgasmia คืออะไร

    อาการหลัก ๆ ของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง นั้น อยู่ที่เรื่องของการถึงจุดสุดยอด เช่น ไม่ถึงจุดสุดยอด หรือใช้เวลานานกว่าจะถึงจุดสุดยอด โดยจะมีระยะของความผิดปกติในการถึงจุดสุดยอดอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ ดังนี้

    • ระยะปฐมภูมิ (Primary anorgasmia): ในระยะนี้คือไม่เคยมีการถึงจุดสุดยอดมาก่อน
    • ระยะทุติยภูมิ (Secondary Anorgasmia): ระยะนี้คือเคยมีการถึงจุดสุดยอดมาก่อน แต่ใช้เวลานานและมีความยากลำบากกว่าที่จะถึงจุดสุดยอด
    • ระยะเฉพาะสถานการณ์ (Situational anorgasmia): ถือเป็นระยะที่พบได้มากที่สุดสำหรับ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง คือ สามารถที่จะสำเร็จความใคร่ได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น เช่น ช่วงที่ทำการออรัลเซ็กส์ หรือการสำเร็จความใคร่
    • ระยะการไม่ถึงจุดสุดยอดแบบสมบูรณ์ (General anorgasmia): คือ ระยะที่ไม่สามารถสำเร็จความใคร่ได้เลย ไม่ว่าจะมีการเล้าโลม หรือมีการกระตุ้นปลุกเร้าอารมณ์มากเท่าไหร่ก็ตาม

    การวินิจฉัย Anorgasmia

    หากคุณผู้หญิงรู้ตัวเอง หรือจับสังเกตได้ว่า ตนเองไม่ค่อยถึงจุดสุดยอด ไม่ว่าจะด้วยการสำเร็จความใคร่ตนเอง หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคนรักก็ตาม ให้หาเวลาไปพบกับคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะนั่นคือวิธีรับมือที่ดีที่สุด คุณหมอจะมีการสอบถามประวัติทางเพศ ข้อมูลทั้งประวัติและประสบการณ์ทางเพศที่ผ่านมา ตรวจร่างกาย ตรวจการตอบสนองของร่างกาย เพื่อให้เกิดความแน่ใจและสามารถสรุปคำวินิจฉัยได้ว่ามี อาการสมรรถพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง

    การรักษา Anorgasmia 

    แนวทางการรักษาอาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง อาจทำได้ดังนี้

  • รักษาอาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่และอาจเป็นสาเหตุของ อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง
  • เปลี่ยนยารักษาโรคซึมเศร้าที่ใช้อยู่
  • รักษาด้วยกระบวนการจิตบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) เพื่อปรับพฤติกรรมและความคิด
  • คุณหมออาจแนะนำให้มีการกระตุ้นปุ่มกระสัน (Clitoris) ให้มากขึ้น โดยอาศัยการสำเร็จความใคร่ อาจมีการใช้ตัวช่วยอย่างน้ำมัน หรือโลชั่น ที่ช่วยเสริมและกระตุ้นอารมณ์ให้สามารถถึงจุดสุดยอดได้ง่ายขึ้น
  • แพทย์อาจมีการวินิจฉัยให้มีการบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • อาการสมรรถภาพการถึงจุดสุดยอดเสื่อมในผู้หญิง อาจเป็นปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวที่นำไปสู่การหย่าร้างได้ในอนาคต สิ่งสำคัญก็คือ การรู้ตัวเองและรีบหาทางแก้ไข ปรึกษากับคนรัก และไปพบคุณหมอ เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้ชีวิตรักและความสัมพันธ์ในครอบครัวกลับมาเป็นปกติ และมีความสุขสมกันทุกฝ่าย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 25/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา