backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

การจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจาก โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจสามารถทำได้ หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ที่มากพอ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น ก่อนที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจในภายหลัง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีอะไรบ้าง

ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจจะมาจากภาวะทางสุขภาพอย่างเช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อไวรัส แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ขึ้นมาได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนี้

  • พันธุกรรม

หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ คุณก็อาจได้รับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคจากคนในครอบครัวมาได้เช่นกัน

  • ปัญหาทางสุขภาพ

นอกจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจแล้ว ผู้ที่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ โรคไตเรื้อรัง โรคปอด โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้เช่นกัน

  • อายุ

แน่นอนว่าเมื่อคุณมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายอาจเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึง โรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ได้ง่ายขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ อีกด้วย

การวินิจฉัย โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 

สำหรับการวิจิยฉัยเพื่อหาสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงอาการและยาต่าง ๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่ จากนั้นแพทย์ก็อาจเลือกเทคนิคการตรวจสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจเลือด เทคนิคนี้เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วขั้นพื้นฐาน ใช้เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติ หรือสารแปลกปลอมในเลือด ที่อาจทำให้คุณอาจเป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้
  • บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ
  • เอกซเรย์ทรวงอก การเอกซเรย์จะทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างภายในของปอดและหัวใจ ว่ามีความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว บ้างหรือไม่
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบนี้แพทย์อาจใช้กับกรณีที่แพทย์คาดว่าคุณอาจมีลิ่มเลือด โดยจะใช้คลื่นเสียงส่งเข้าไปเพื่อบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่

สำหรับในส่วนของการรักษา โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดำเนินการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงผลอื่น ๆ จากการตรวจร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยบางคนอาจมีสภาวะที่อาจส่งผลกระทบกับการรักษาได้ การเลือกวิธีการรักษาจึงต้องเป็นไปอย่างรอบคอบและปลอดภัย

โดยปกติแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการรักษา โดยการรีเซ็ตอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการใช้ยาและไฟฟ้ากระตุ้น แต่สำหรับในกรณีรุนแรง แพทย์ก็อาจพิจารณาการผ่าตัดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อย่างรวดเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเป็นอันตรายได้

สัญญาณเตือนแบบไหน ที่คุณควรพบคุณหมอ

สัญญาณเตือนที่คุณควรเข้ารับการวินิจฉัย คือ อาการเจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดปกติ เพราะเป็นอาการที่เชื่อมโยงกับ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โดยตรง หากคุณสังเกตพบอาการดังกล่าว แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดในทันที อย่าเพิกเฉยปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจนำไปสู่อันตรายต่อร่างกาย เช่น ภาวะหัวใจวาย ได้ในที่สุด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Atrial fibrillation. https://www.nhs.uk/conditions/atrial-fibrillation/. Accessed July 06, 2021

Atrial fibrillation.  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/atrial-fibrillation/symptoms-causes/syc-20350624 . Accessed July 06, 2021

What is atrial fibrillation?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323621. Accessed July 06, 2021

What is Atrial Fibrillation (AFib or AF)?. https://www.heart.org/en/health-topics/atrial-fibrillation/what-is-atrial-fibrillation-afib-or-af. Accessed July 06, 2021

Atrial Fibrillation. https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm. Accessed July 06, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/08/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ คุณเองก็เชื่อแบบนี้อยู่หรือเปล่า



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา