ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากปัญหาสุขภาพหัวใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว คอเลสเตอรอลสูง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ยังมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกมาก ที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพของหัวใจที่แข็งแรง เรียนรู้เกี่ยวกับ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อการดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดแข็งตัว เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมจำนวนมากตามผนังหลอดเลือด จนส่งผลให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยการก่อตัวของจุลินทรีย์นี้สามารถมาได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ระดับกลูโคส การสูบบุหรี่ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จัก การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการเตรียมตัวเข้ารับการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อรับมือให้พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกันค่ะ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแข็งตัว ส่วนใหญ่ โรคหลอดเลือดแข็งตัว มักส่งสัญญาณเตือนมาในรูปแบบอาการเจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง การสื่อสารผิดปกติ ปวดขาขณะเคลื่อนไหว และเริ่มสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นเมื่อใดที่คุณพบกับสัญญาณเตือนข้างต้นนี้ ไม่ว่าจะอาการใดอาการหนึ่ง โปรดรีบขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในทันที และตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุโรคหลอดเลือดแข็งตัว ดังนี้ จดบันทึกโรคประจำตัว อาการ ที่คุณกำลังเป็น รวมถึงยา วิตามิน ที่คุณกำลังใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคนในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด อาจต้องแจ้งให้แพทย์ทราบร่วมด้วย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มก่อนการเข้าทดสอบ นำคนรอบข้างคนใดคนหนึ่งไปด้วย เพื่อช่วยจดจำข้อมูลที่แพทย์จะแจ้งเพิ่มเติม เทคนิคการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็งตัว หลังจากที่แพทย์สอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณแล้ว คุณอาจได้รับการวินิจฉัยด้วยเทคนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ 2-3 เทคนิคร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของอาการ และสาเหตุเผยออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ตรวจเลือด แพทย์ หรือพยาบาลผู้ช่วยจะดำเนินการเจาะเลือดนำไปวิเคราะห์หาระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลว่ามีระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถส่งผลก่อให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ […]

สำรวจ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คืออะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างนะ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก เป็นหนึ่งในประเภทของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ที่คุณควรระวัง เพราะเนื่องจากบางครั้งอาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏให้เห็นชัดมากนัก ดังนั้น คุณจึงจำเป็นหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจอยู่เสมอ เพื่อให้คุณได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเอาไว้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก พร้อมวิธีการรักษามาฝากกัน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คืออะไร หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก (Thoracic Aortic Aneurysm) คือ การขยายตัวของหลอดเลือดที่อยู่ภายในทรวงอก โดยส่วนใหญ่มักมาจากสาเหตุการแข็งตัวของหลอดเลือด จากคราบพลัค และไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด รวมถึงภาวะการอักเสบในหลอดเลือดแดง ปัญหาผิดปกติเกี่ยวกับโรคลิ้นหัวใจ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรุนแรง เป็นต้น ถึงแม้ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก จะไม่เผยอาการมากนัก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปหลอดเลือดนี้อาจมีการขยายใหญ่ขึ้น จนสามารถส่งผลให้คุณนั้นเริ่มมีสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง เสียงแหบ ไอ  หายใจถี่ ที่สำคัญ หากคุณเริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้น โปรดรีบเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ในทันที เพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้หลอดเลือดโป่งพองเคลื่อนตัวลงมาบริเวณช่องท้องได้นั่นเอง การวินิจฉัย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ในระยะแรกแพทย์อาจตรวจพบ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ได้ค่อนข้างยาก ทำให้ต้องนำเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เข้ามามีส่วนร่วม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการทดสอบที่สามารถแสดงให้เห็นว่าห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจของคุณมีการทำงานได้ดีมากเพียงใด โดยแพทย์จะใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี้ผ่านหลอดอาหาร เพื่อให้เผยภาพหลอดเลือดแดงใหญ่ได้ดีขึ้น เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) ถึงแม้จะเป็นเทคนิคที่อาจทำให้แพทย์จับขนาด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง กับอาการเบื้องต้นที่คุณควรสังเกต

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เกิดจากผนังของหลอดเลือดมีการขยายตัวขึ้นด้วยปัจจัยหลาย ๆ ช่องทางตามสภาวะสุขภาพไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองนี้ ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนมารู้จักกับ ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง พร้อมกับอาการที่คุณควรสังเกตตัวเอง ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ที่มีทั้งสาเหตุ และอาการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ในช่องอกนี้ค่อนข้างมีความอ่อนแอ หากคุณเคยมีประวัติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแข็งตัว การติดเชื้อของหัวใจ และลิ้นหัวใจเอออร์ตา ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการกดทับ และโป่งพองออกมาได้นั่นเอง แต่ถึงอย่างไร การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ในบริเวณนี้มักเติบโตได้ช้า และไม่ค่อยปรากฏอาการมากนัก ทำให้ตรวจพบได้ยาก นอกเสียจากว่าเส้นเลือดแดงใหญ่จะเริ่มพองโตใหญ่ขึ้น และเผยอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งอาการต่าง ๆ ได้แก่ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง เสียงแหบ และหายใจถี่ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ประเภทนี้ เกิดจากการพัฒนาของหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก และค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้การโป่งพองของหลอดเลือดแดงขยายใหญ่จนแตกได้ สำหรับอาการที่คุณควรสังเกตส่วนใหญ่ ได้แก่ มีอาการปวดท้องรุนแรง อาการปวดหลังเป็นเวลานาน หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อของหัวใจบวม จะเป็นถุงหุ้มรอบ ๆ หัวใจ จนส่งผลให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดกระดูกไหล่ซ้ายลามไปถึงคอ ขาบวม อย่างไรก็ตาม โรคเยื่อหุ้มหัวใจยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พร้อมสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุหัวใจคุณอักเสบ กัน สาเหตุที่ทำให้คุณเป็น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ บางครั้งแพทย์ก็อาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้ชัดเจน แต่เบื้องต้นนั้นอาจเป็นผลกระทบที่ได้รับมาจากสภาวะต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจร่วม ดังนี้ ภาวะหัวใจวาย เคยรับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาของหัวใจบางอย่าง การติดเชื้อบริเวณรอบ ๆ หัวใจ ผลกระทบจากโรคเอดส์ วัณโรค โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ตัวเองที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ยารักษาบางชนิด เช่น กลุ่มยาต้านอาการชัก ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ การฉายรังสีรักษาโรค ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีอะไรบ้าง โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ บางครั้งก็สามารถหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ถึงอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจที่คุณเป็นดังต่อไปนี้ร่วมด้วย เพราะหากคุณจัดอยู่ในประเภทที่ส่งผลความรุนแรงก็อาจต้องดำเนินการรักษาในทันที เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน ในระหว่างที่คุณมีการหายใจเข้า หรือนอนราบ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายของคุณนั้นมีปริมาณไขมันสะสมในเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจประกอบไปด้วยคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ที่สำคัญหากปล่อยไว้ระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดมีการอุดตัน จนเลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะได้ นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังมี ประเภทของไขมันในเลือดสูง อีกทั้ง 4 ประเภท ด้วยกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณเป็น ภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีประวัติทางสุขภาพเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น บางครั้งอาจมาจากการสืบทอดทางพันธุกรรม และการรับประทานที่ประกอบด้วยไขมันไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงส่งผลให้คุณเผชิญกับภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนี้ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป ยาบางชนิด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะไทรอยด์ต่ำ 4 ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่คุณควรรู้ คุณทราบหรือไม่ว่าภาวะไขมันในเลือดสูงยังถูกแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ที่สามารถส่งกระทบทางสุขภาพในเชิงลบได้ไม่แพ้กัน ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงทางพันธุกรรมที่คุณสามารถรับมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้ระบบการสลายไขมันในร่างกายคุณมีการชะงัก จนเกินไขมันสะสมจำนวนมาก พร้อมมีการติดเชื้อบริเวณตับอ่อนตามมา ประเภทที่ 2 สามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของผลคอเลสเตอรอลรวมมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดี พร้อมอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง รอบดวงตา และเสี่ยงต่อการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้อีกด้วย ประเภทที่ 3 […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ จนรู้สึกเจ็บหน้าอก เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

เมื่อใดที่คุณอาการ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกแปลบ ๆ นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจอยู่ก็เป็นได้ หากไม่อยากให้ อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ เหล่านี้เกิดขึ้นอีก ลองอ่านบทความนี้สิคะ เพราะ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเทคนิคในการป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจมาฝากคุณแล้ว ทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อหัวใจกันเถอะ กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้ออีกหนึ่งชนิดภายในร่างกาย นอกเหนือจากกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจมีความสามารถในการคลายตัว และหดตัวได้ เพื่อคอยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดยังระบบไหลเวียนต่าง ๆ ไปทั่วทั้งร่างกาย โดยมีเซลล์กระตุ้นหัวใจคอยทำหน้าที่ควบคุมอัตราความเร็วของการหดตัวว่าช้าหรือเร็ว องค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจ มีดังนี้ อินเตอร์คาเลทเตท ดิสก์ (Intercalated discs) เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อหัวใจกับเซลล์อื่น ๆ ภายนอก แกปจังก์ชัน (Gap junction) คือรอยต่อระหว่างเซลล์ ที่เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัว จะมีการสร้างช่องว่าง แต่อย่างไรยังคงมีความประสานเชื่อมโยงกันเอาไว้ด้วยแกปจังก์ชั่น เดสโมโซม (Desmosomes) เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์เช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ช่วยยึดเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจกับหัวใจเอาไว้ด้วยกันขณะที่หัวใจมีการหดตัว นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนควบคุมของเซลล์ ที่ประกอบด้วยสารพันธุกรรมของเซลล์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีเพียงแค่นิวเคลียสเดียว หากเกิดความผิดปกติต่อองค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจเหล่านี้ ก็อาจทำให้เกิด อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ จนเจ็บหน้าอก ส่วนใหญ่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ประจำตัว เหล่านี้ ที่คุณเป็นนั้น อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บกล้ามเนื้อหัวใจ จนส่งผลให้รู้สึกเจ็บหน้าอก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะไขมันในเลือดสูง กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบ

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นอีกภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ แต่เราจะสามารถสังเกตตนเองอย่างไรได้บ้างว่ากำลังมี ไขมันในเลือดสูง อยู่หรือไม่นั้น วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับสัญญาณเตือนเบื้องต้นของ ไขมันในเลือดสูง ให้ทุกคนได้เริ่มลองเช็กตัวเองไปพร้อม ๆ กันค่ะ ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เกิดจากการที่ในเลือดคุณมีระดับไขมันสูงมากผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย โดยปกติแล้ว ภายในร่างกายของเราจะประกอบไปด้วยไขมันหลากหลายชนิด แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ ไขมันที่ดีต่อร่างกาย (High-density lipoprotein ; HDL) ไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย (Low-density lipoprotein ; LDL) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หากระดับของ ไขมันในเลือดสูง มากเกินไป อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน สัญญาณเตือนภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่มีระดับ ไขมันในเลือดสูง ระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นเด่นชัดมากนัก แต่ถึงอย่างไรในบางครั้งก็อาจเผยสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ระวัง! ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งภาวะร้ายแรงที่ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความเครียดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว บทความนี้ Hello คุณหมอจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กัน รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ทันท่วงที ทำความรู้จักภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary) ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary) เกิดจาก การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะจะเป็นลม บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เเละเสียชีวิตในที่สุด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักเกิดจากการสะสมของไขมันหลายชนิดบนผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดการสะสมมาก ๆ จะส่งผลให้เกิดการปริแตกในผนังหลอดเลือด หากลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วนทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้  อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีลักษณะคล้ายกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ และส่วนใหญ่มักเกิดกับบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน โรคเบาหวาน สมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติเกี่ยวกับการเป็นโรคหัวใจ การติดเชื้อโควิด-19 5 สัญญาณเตือนภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงนั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า คุณเข้าข่ายเป็นภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาหารไม่ย่อย รู้สึกกระสับกระส่ายหรือวิตกกังวล เหงื่อออกอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ  5 วิธีป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นพ.ณรงค์ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้

โรคหัวใจขาดเลือด เป็นสภาวะที่ถือได้ว่าค่อนข้างเป็นอันตรายในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันขึ้นมา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือดมาฝากค่ะ มาดูกันว่า สาเหตุ อาการ และ สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร และเมื่อเป็นแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร โรคหัวใจขาดเลือด (Schemic Heart Disease) คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงเนื่องจากหลอดเลือดแดงที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบหรือแคบลง ทำให้ไม่มีเลือดส่งไปยังหัวใจมากพอ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจร้ายแรงกว่านั้นคือไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเลย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ มีปัญหาความดันโลหิตสูงเรื้อรัง คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงจนเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไตระยะสุดท้าย โรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีโปรตีนผิดปกติในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปจนมีผลต่อการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย เช่น หลอดเลือด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด มีอะไรบ้าง สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด อาจมีดังต่อไปนี้ มีอาการเจ็บหน้าอก แล้วค่อย ๆ ลามไปยังยังแขน และหลัง เมื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจถี่และสั้น วิงเวียนศีรษะและเป็นลม ใจสั่น ผิวหนังชื้น คลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน ปวดคอหรือกราม ผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือด บางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย มีอาการบวมที่ขาและเท้าคล้ายกับอาการบวมน้ำ มีอาการบวมที่ช่องท้อง มีอาการไอ หรือรู้สึกอึดอัดในลำคอเนื่องจากของเหลวในปอด นอนไม่หลับ น้ำหนักขึ้น โดยอาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เหล่านี้มักจะ พบได้บ่อยในช่วงที่ต้องมีการออกแรงในการทำกิจกรรม มีอาการเกิดขึ้นแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง อาจใช้ระยะเวลาเพียง 5 นาที หรือน้อยกว่านั้น รักษาโรคหัวใจขาดเลือดได้หรือไม่ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยวิธีการรักษาจะมีตั้งแต่ การรักษาโดยการรับประทานยารักษา โรคหัวใจขาดเลือด  ยาลดความดันโลหิตสูง (Angiotensin-Converting Enzyme) กลุ่มยาต้านตัวรับแองจิโอเทนซิน (Angiotensin receptor […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มรอบหัวใจมากผิดปกติ และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ คำจำกัดความน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion) คืออะไร น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มบริเวณหัวใจมากผิดปกติ และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจและติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค   มะเร็ง เป็นต้น อาการ อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกินจะไม่มีการแสดงออกมาให้เห็น หากไม่มีน้ำที่สะสมในเยื่อหุ้มหัวใจมากนัก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายเมื่อหายใจขณะนอนราบ เจ็บหน้าอก อาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน สาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน เกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ โดยเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus : CMV) เอคโคไวรัส(Echovirus) โรคลูปัส  วัณโรค เป็นต้น โรคมะเร็ง การได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวใจ การวินิจฉัยและการรักษาการวินิจฉัยน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจดูความผิดปกติ และตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาข้อระบุของโรค ดังต่อไปนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) ตรวจดูสัญญาณไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาลักษณะที่แสดงว่าเป็นอาการของโรคน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน หรือหาการอักเสบบริเวณหัวใจที่จะนำไปสู่อาการของโรคนี้ได้ การเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray film) […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารเช้าง่าย ๆ สำหรับวันเร่งรีบ แม้ไม่มีเวลา ก็ดูแลสุขภาพให้ดีได้

อาหารเช้าถือเป็นอาหารมื้อสำคัญของวันที่เราไม่ควรมองข้าม แต่บางวันเราอาจตื่นสาย หรือเร่งรีบมากจนไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้า หรือกินอาหารเช้า จนทำให้ขาดพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือหิวจัดจนไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเรียน และสุดท้ายก็อาจจบลงด้วยการกินอาหารเที่ยง หรืออาหารเย็นมากเกินไป เพราะหิวจัดได้ด้วย Hello คุณหมอ เลยมี อาหารเช้าง่าย ๆ สำหรับวันเร่งรีบมาฝาก ถึงจะไม่มีเวลา คุณก็สามารถทำอาหารเช้ากินเองได้แบบเฮลท์ตี้ และใช้เวลาไม่นานอีกด้วย เช้า ๆ เราควรได้รับแคลอรี่เท่าไหร่ ก่อนที่จะไปดูว่า คุณควรได้รับแคลอรี่จากอาหารเช้าเท่าไหร่ คุณต้องรู้ก่อนว่าตัวเองควรได้รับแคลอรี่ในแต่ละวันทั้งหมดเท่าไหร่ เพราะร่างกายแต่ละคนต้องการพลังงานหรือปริมาณแคลอรี่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate หรือ BMR) น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายต้องการปริมาณแคลอรี่เพื่อใช้เป็นพลังงานวันละ 1,800-2,500 กิโลแคลอรี่ ส่วนผู้หญิงต้องการแคลอรี่วันละ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่ แต่หากคุณอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็อาจต้องการพลังงานน้อยกว่าหรือมากกว่าค่าเฉลี่ย คนส่วนใหญ่จะแบ่งปริมาณแคลอรี่แต่ละมื้อเท่า ๆ กันเพื่อให้จำง่าย แต่ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การได้รับพลังงานหรือปริมาณแคลอรี่จากอาหารเช้ามากกว่าอาหารมื้ออื่นนั้นส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า โดยผลงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ผู้ที่เน้นกินอาหารเช้าปริมาณมาก ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ดีกว่าผู้ที่เน้นกินอาหารเย็นปริมาณมากถึงสองเท่า ทั้งยังหิวน้อยกว่า และมีปริมาณน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน (Insulin) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม