- ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจวาย
เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในหลอดเลือดแดง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายหรือ หัวใจล้มเหลว ได้
- ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นผู้ร้ายของหัวใจ ใครก็ตามที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงล่ะก็ ถือว่ามีความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะความดันโลหิตที่พุ่งสูงขึ้น หัวใจจำเป็นที่จะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อลำเลียงเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งหรืออ่อนเกินไปที่จะทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด ส่งผลให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด
หากมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจตั้งแต่กำเนิด ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจนั้นเป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น อาจทำงานหนักกว่าหรือน้อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพหัวใจปกติแต่กำเนิด และนั่นอาจเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
เพราะโดยมากแล้วผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักจะมีอาการความดันโลหิตสูง ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผู้ที่รับประทานยารักษาโรคบางชนิด
จากการศึกษาพบว่าตัวยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวานอย่าง โรสิกลิทาโซน (Rosiglitazone) และไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) หรือยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ NSAID และอีกหลายตัวยา สามารถเพิ่มความเสี่ยงของ หัวใจล้มเหลว ได้ จึงควรสอบถามแพทย์และเภสัชกร หรือควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อย่าหยุดหรือกินยาเองโดยนที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การหายใจที่ผิดจังหวะในขณะนอนหลับตอนกลางคืนนั้นจะทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง และมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจเสี่ยงทำใจหัวใจอ่อนแอลงจนหัวใจล้มเหลวได้
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เป็นประจำ
การดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป หรือดื่มติดต่อกันมากจนเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ขณะที่การสูบบุหรี่มากๆ ก็เป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวเช่นกัน
เมื่อเป็นโรคอ้วน ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังชนิดอื่นๆ ตามมา หนึ่งในนั้นคือโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ รวมถึง หัวใจล้มเหลว ด้วย
ป้องกันหัวใจล้มเหลว ได้อย่างไรบ้าง
ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ซึ่งปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่หัวใจ ก็มักจะมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ หรือสุดโต่งโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ ดังนั้นการหันมาปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันของเรา ก็จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวได้ โดยอาจเริ่มจากการ
เลิกสูบบุหรี่
ในบุหรี่มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า นิโคติน ซึ่งการสูบบุหรี่และนำสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายในแต่ละครั้งจะเป็นการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิต รวมถึงยังส่งผลให้ระดับของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลงด้วย ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่น้อยหรือไม่สูบบุหรี่เลย จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นหัวใจล้มเหลวน้อยกว่าผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
ลดหรือเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
ทุกคนสามารถดื่มแอลกอฮฮล์ได้ การดื่มแอลกอฮอล์แค่ 1-2 แก้วอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก แต่การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันมากจนเกินไปจะมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง และเพิ่มโอกาสที่จะเป็น หัวใจล้มเหลว
ลดน้ำหนัก
แม้เป้าหมายปลายทางของการลดน้ำหนักมักจะทำไปเพื่อการมีรูปร่างและบุคลิกภาพดีเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง แต่ประโยชน์ที่ได้ควบคู่กันไปด้วยก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักตัวที่มากจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็ง และทำงานหนัก ตามมาด้วยความเสี่ยงเรื้อรังทั้งโรคหัวใจ เบาหวานความดันโลหิตสูง รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย
ออกกำลังกายให้มากขึ้น
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักและทำให้หุ่นดีแล้ว ก็ยังลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ทั้งยังเสริมความแข็งแรงให้แก่ร่างกายอีกด้วย โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ดี อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับปกติ สุขภาพหัวใจแข็งแรง โดยกิจกรรมที่เหมาะสมคือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เพราะเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการทำงานของหัวใจ
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกาย เพื่อจะได้สามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและไม่ทำให้โรคหัวใจที่เป็นอยู่แย่ลง
ใส่ใจกับอาหารการกิน
เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพทั้งผัก ผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ กินอาหารที่ไม่ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และในระยะยาวอาจนำไปสู่ หัวใจล้มเหลว ได้
ไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
อีกหนึ่งการป้องกันความเสี่ยงของสุขภาพที่ดีที่สุด นั่นก็คือการรับรู้ความเสี่ยงและหาทางหยุดความเสี่ยงนั้น ซึ่งวิธีนั้นก็คือการไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้รับคำวินิจฉัยและคำแนะนำที่มีประโยชน์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และหาแนวทางการรับมือ รวมถึงการริเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพตนเองมากขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย